ไมเนอร์ ฟู้ด เตรียมแผนครึ่งปีหลัง ปรับทุกแบรนด์ในเครือด้วยมาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัย ผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและโมเดลการขายให้ใกล้ชิดผู้บริโภคยิ่งขึ้น ด้าน ดิลลิป ราชากาเนีย ผู้บริหารไมเนอร์ฯ ชี้ ความสามารถด้านการทำรายได้เป็นเงื่อนไขสำคัญในการฝ่าวิกฤตในครั้งนี้
ไมเนอร์ ฟู้ด จัดแถลงข่าวเผยแผนครึ่งหลังปี 2563 พร้อมเผยภาพรวมธุรกิจในครึ่งปีแรกหลังเกิดโควิด-19 ณ ออฟฟิศใหม่ที่ อาคาร The PARQ ใกล้ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ ย่านพระราม 4-คลองเตย นำโดย Dillipraj Rajakarier ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) หรือ MINT และทำหน้าที่รักษาการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไมเนอร์ ฟู้ด ที่เผยภาพรวมธุรกิจไมเนอร์ ฟู้ด ในครึ่งแรกของปี ทุกแบรนด์ภายในเครือต่างจำเป็นต้องปรับตัว เนื่องจากไม่สามารถเปิดบริการร้านอาหารแบบนั่งทานในร้านได้ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งสัดส่วนรายได้ของไมเนอร์ ฟู้ด ร้อยละ 70 มาจากรายได้ภายในประเทศเป็นหลัก Dillipraj เผยว่าด้วยประสบการณ์ของไมเนอร์ ฟู้ด ในต่างแดนโดยเฉพาะจากประเทศจีน ทำให้ทีมงานในไทยสามารถปรับตัวการทำงานรับการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ในระดับหนึ่ง ยอดขายจากยอดขายเดลิเวอรี่ โดยเฉพาะในเดือนเมษายนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันกับปีที่ผ่านมาเติบโตมากถึง 3 เท่า โดยเฉพาะจากแบรนด์ Pizza Company และรวมไปถึงยอดขายจากแบรนด์น้องใหม่อย่าง Bonchon ที่เข้ามาภายใต้การบริหารของไมเนอร์ ฟู้ด เมื่อเดือนมกราคม 2563 ที่ผ่านมา สำหรับทิศทางการลงทุนของธุรกิจในปี 2563 ท่ามกลางวิกฤตการแพร่กระจายในทั่วโลก Dillipraj เผยว่า ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลฯ เน้นในเรื่องการบริหารระดับเงินสดและอัตราการทำรายได้เป็นสำคัญ บางแบรนด์ในเครือจะมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง อาทิ Bonchon ที่ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาเปิดสาขาเพิ่มไปแล้ว 19 สาขา จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 40 สาขา โดยแผนขยาย 90 สาขาในปีนี้ยังคงดำเนินต่อไป สำหรับร้านอาหารสาขาในประเทศปัจจุบันเปิดบริการไปแล้วกว่าร้อยละ 95 จากจำนวนร้านอาหารทั้งหมด 1,490 แห่งทั่วประเทศ Dillipraj เสริมว่า การเปิดบริการในปัจจุบันยังเป็นลักษณะ เปิดๆ ปิดๆ ตามสถานการณ์และดูความสามารถจากรายได้เป็นสำคัญเนื่องจากเราคำนึงเรื่องการบริหารการเงินเป็นส่วนสำคัญที่สุด ด้าน ประพัฒน์ เสียงจันทร์ รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวเพิ่มเติมว่า ไมเนอร์ ฟู้ด ได้เสริมความพร้อมของการดำเนินงานในครึ่งปีหลัง 2563 ประกอบไปด้วย ส่วนคัญ 4 ด้านได้แก่ การยกระดับบริการเดลิเวอรี่ การพัฒนาเมนูใหม่ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภค การดำเนินโมเดลร้านรูปแบบคีออส และ การพัฒนา Cloud Kitchen ประพัฒน์ ให้ข้อมูลว่าช่วงเดือนเมษายนที่มาผ่านยอดขายด้านเดลิเวอรี่เติบโตมากถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดือนที่ผ่านมา ผ่านแพลตฟอร์ม 1122 และผ่านบริการจากพันธมิตรเดลิเวอรี่ต่างๆ ซึ่งแบรนด์ที่ได้รับความนิยมคือ The Pizza Company และ Bonchon โดยแผนในครึ่งในปีหลัง ไมเนอร์ ฟู้ด เตรียมพัฒนาแพลต์ฟอร์ม 1122 รวบรวมช่องการสั่งอาหารออนไลน์ของแบรนด์ต่างๆ ในเครือเข้ามาในแพลตฟอร์มนี้ซึ่งคาดว่าภายในสิ้นปีอาจจะได้เห็นการเปิดตัวรอยัลตี้โปรแกรมต่างๆ เกิดขึ้น สำหรับสถานการณ์ครึ่งปีหลังที่เหลือ ประพัฒน์ มองว่ากำลังให้ส่วนที่เป็นลูกค้าต่างชาติอาจยังไม่กลับมาเป็นโอกาสในไมเนอร์ ฟู้ด ได้พัฒนาเมนูใหม่ๆ เพื่อดึงดูดผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็น เมนูไอศกรีมมะม่วงคู่กับข้าวเหนียวดำ หรือการมีท้อปปิ้งน้ำปลาหวานเป็นต้นซึ่งเป็นเมนูสำหรับลูกค้าคนไทยโดยเฉพาะพร้อมประสานกับทำแคมเปญการตลาดไปพร้อมๆ กัน ในขณะที่แบรนด์ซึ่งต้องทานที่ร้านอย่าง Sizzler และ Coffee Club นั้นไมเนอร์ ฟู้ดไม่รอช้าเปิดตัวโมเดลร้านแบบคีออส เพื่อนำแบรนด์เข้าไปใกล้กับผู้บริโภคมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น Sizzler to Go ที่เปิดตัวในเขตธุรกิจและสถานีรถไฟฟ้า ด้านแบรนด์ Coffee Club ถือได้ว่ากระทบหนักสุดเนื่องจากร้านสาขาร้อยละ 70 ตั้งอยู่ในแหล่งท่องเที่ยวต่างจังหวัดและลูกค้าหลักเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งในส่วนนี้ทางไมเนอร์ ฟู้ดรุกทำการตลาดกับช่องทางเดลิเวอรี่ที่ได้รับความนิยมในจังหวัดเหล่านั้นเพื่อกระตุ้นยอดขาย เป็นต้น สำหรับการพัฒนาด้าน Cloud Kitchen นั้น เป็นการบริหารจัดการโดยคอนเซ็ปต์ของการทำงานของ Cloud มาใช้กับร้านอาหาร เพื่อให้ได้รับอาหารที่รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามเพื่อยกระดับมาตรฐานสุขอนามัยกับความปลอดภัยของทั้งลูกค้าและพนักงานภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ไมเนอร์ ฟู้ดจึงได้ตั้งโปรเจค “Business Beyond COVID” ด้วยอบรมพนักงานด้านการให้บริการที่สะอาดอย่างเข้มข้นขึ้น โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยและสุขอนามัยเป็นหลัก ผ่านแคมเปญรักษาความปลอดภัยของอาหาร ได้แก่ “Zero Touch Delivery” “Safety Seal” และ “Easy Pick Up” ของเดอะ พิซซ่า คอมปะนี หรือการจ่ายไร้เงินสดเมื่อสั่งอาหารในร้านเบอร์เกอร์ คิง นอกจากนั้น ธุรกิจในเครือมีการใช้เครื่องทำความสะอาด และน้ำยาทำความสะอาด จากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัย อีโค่แล็บ (ECOLAB) กับไดเวอร์ซี่ (Diversey) ซึ่งต่างเป็นเครื่องมือทำความสะอาดคุณภาพสูงที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อใช้ในธุรกิจบริการอาหาร การแปรรูปอาหาร โรงแรมและงานดูแลสุขภาพ ประพัฒน์ ทิ้งท้าย อ่านเพิ่มเติม: ‘SILVER GEN’ ผู้บริโภคมั่งคั่ง สังคมผู้สูงวัย โอกาสทองนักการตลาดไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine