คีรี กาญจนพาสน์ เจ้าพ่อ BTS เทหมดหน้าตักปฏิวัติขนส่งมวลชนไทย ด้วยโครงการรถไฟฟ้าสายแรกเมื่อ 25 ปีก่อน มาในวันนี้การลงทุนผลิดอกออกผลเหนือคาด สู่บริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์กว่าแสนล้านบาท พร้อมติดสปีดการเติบโตหลังช่วงชิง 2 โครงการใหม่ ‘สายสีชมพูและสีเหลือง’ มูลค่าการลงทุนนับ 1.05 แสนล้านบาท โดย คีรี กาญ-จนพาสน์ ซึ่งยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่สุดที่ 27.49% (ณ สิงหาคม 2559) และประธานกรรมการ บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) โดย มีบริษัทในเครือคือ บมจ. ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) เป็นผู้ได้รับสัมปทานจากกรุงเทพมหานครในการให้บริการรถไฟฟ้าในระบบขนส่งมวลชนสายหลักในชื่อ BTS
“ตอนที่เราเริ่มสร้างรถไฟฟ้า BTS นั้น คนกรุงเทพฯ ยังไม่คิดถึงการอยู่อาศัยในตึกคอนโดมิเนียมสูงๆ เท่าไหร่ แต่ตอนนี้ผู้คนไม่ใช่แค่เพียงยอมรับแต่ยังต้องการมีไลฟ์สไตล์แบบนั้นเหมือนกับในมหานครที่ทันสมัยอื่นๆ” คีรีย้ำและความจริงก็เป็นเช่นนั้นเพราะไม่ว่ารถไฟฟ้าจะวิ่งผ่านไปทางไหนก็มักมีตึกสูงผุดตามเป็นทิวแถวตลอดแนว โดยผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ยินดีที่จะควักกระเป๋าซื้อที่ดินในราคาแพงกว่าปกติอย่างมากเพื่อพัฒนาโครงการในทำเลใกล้สถานีรถไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบัน BTS จับมือกับพันธมิตรแถวหน้า ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ของไทยอย่าง บมจ. แสนสิริ ร่วมกันพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย 5 โครงการตามแนวสถานีรถไฟฟ้าทั้งเส้นที่เปิดบริการแล้วหรือกำลังจะเปิดซึ่งทุกโครงการล้วนขายดีเป็นเทน้ำเทท่าล่าสุด ณ มกราคม 2560 BTS มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap.) กว่า 1 แสนล้านบาท และตัวเลขผลประกอบการงวดไตรมาส 2/2560 (30 กันยายน 2559) มีรายได้รวม 4.26 พันล้านบาท และกำไรสุทธิที่ 1.1 พันล้านบาท นับตั้งแต่เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อธันวาคม 2542 จนถึงปัจจุบัน (ธันวาคม 2559) BTS มีจำานวนผู้โดยสารใช้บริการแล้ว กว่า 2.5 พันล้านเที่ยวคน ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้โดยสารเกือบ 700,000 คน/วัน จากท้ังสองเส้นทางในปัจจุบันคือ สายสุขุมวิทและสายสีลมที่มีระยะทางรวมกว่า 36 กิโลเมตร เมื่อสถานีปลายทางของเจ้าพ่อ BTS ไม่จำกัดแค่เพียงความสำเร็จด้านตัวเลขรายได้เท่านั้น คีรียังเร่งสร้างการเติบโตให้แข็งแกร่งด้วย การดึงบรรดายักษ์ใหญ่ในธุรกิจผนึกกำลังกันปฏิวัติขนส่งมวลชนไทย ภายใต้ชื่อกลุ่ม กิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ซึ่งประกอบด้วย BTS บมจ. ซิโน-ไทย เอ็น จีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) และ บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) โดยถือหุ้น 75% 15% และ 10% ตามลำดับพร้อมคว้าชัยในการประมูลสัมปทานการลงทุนออกแบบและก่อสร้างงานโยธาการจัดหาระบบรถไฟฟ้า การให้บริการเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุงรักษา โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรงที่มีมูลค่าลงทุนรวมกว่า 1.05 แสนล้านบาทนี้ “พันธมิตรทั้งสามรายต่างเป็นบริษัทชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์มายาวนาน ผมจึงมองว่า BSR จะเป็นกิจการร่วมค้าที่มีคุณภาพ จริงใจ และมั่นใจว่าจะดำเนินการพร้อมส่งมอบบริการให้แก่ประชาชนได้ตามที่ รฟม. กำหนดไว้คือ 39 เดือน นับจากวันที่เซ็นสัญญา” คีรี กล่าว อย่างไรก็ตาม โครงการรถไฟฟ้าทั้งสองสายนี้เป็นการลงทุนในลักษณะ PPP Net Cost (Public Private Partnership) โดยภาครัฐลงทุนค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับการก่อสร้างงานโยธารวมทั้งให้เงินสนับสนุนค่าก่อสร้างงานโยธาโดยจำกัดวงเงินสนับสนุนสำหรับสายสีชมพูไว้ไม่เกิน 2.01 หมื่นล้านบาท และสายสีเหลืองไม่เกิน 2.24 หมื่นล้านบาท ส่วนเอกชนผู้รับสัมปทานจะเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างงานโยธาจัดหาระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้าสำหรับสายสีชมพูนั้นใช้วงเงินลงทุนทั้งหมด ราว 5.35 หมื่นล้านบาท (ประกอบด้วยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่างานโยธา และค่าระบบไฟฟ้า) และสายสีเหลืองใช้วงเงินประมาณ 5.18 หมื่นล้านบาท โดยสัญญาสัมปทานจะมี อายุ 33 ปี 3 เดือน (ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และระยะเวลาเดินรถ 30 ปี) ขณะที่ในส่วนของต้นทุนการก่อสร้างที่มีความสำคัญยิ่งกับการลงทุน เมื่อมี STEC หนึ่งในบริษัทก่อสร้างชั้นนำของประเทศไทย และ RATCH ที่มีความรู้ความชำนาญในเรื่องไฟฟ้าและระบบควบคุมมาร่วมงาน โดยนอกจากจะร่วมลงทุนในโครงการทั้ง 2 นี้แล้วยังมีส่วนทำให้ต้นทุนค่าก่อสร้างนั้นสามารถแข่งขันได้ อย่างไรก็ดี เพื่อให้โครงการมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น กิจการร่วมค้า BSR ได้ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมจากขอบเขตโครงการเดิมโดยสำหรับสายสีชมพูนั้นได้มีการเสนอให้มีการขยายระยะทางเพิ่มประมาณ 2.8 กิโลเมตรจากสถานีศรีรัช (PK10) บนถนนแจ้งวัฒนะ เข้าไปยังเมืองทองธานี เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีประชากรอยู่หนาแน่น มีส่วนงานราชการอยู่เป็นจำนวนมาก ด้านสายสีเหลืองนั้น กิจการร่วมค้า BSR เสนอให้มีการต่อขยายเส้นทางออกไปอีกประมาณ 2.6 กิโลเมตร ซึ่งเริ่มจากสถานีรัชดา (YL01) ไปทางทิศเหนือตามถนนรัชดาภิเษกและสิ้นสุดบริเวณแยกรัชโยธินซึ่งจะเชื่อมต่อ กับสถานี N10 (บริเวณปากซอยพหลโยธิน 24) ของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (จาก หมอชิตไปคูคต โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้าง) “พื้นที่สายสีชมพูและสีเหลืองนั้นมีจำนวนประชากรอาศัยอยู่มากถึง 3 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ของคนกรุงเทพฯ รวมถึงกลุ่มคนในย่านนี้กว่า 50% ยังใช้รถไฟฟ้าเป็นพาหนะในการสัญจรอีกด้วย” คีรี ยืนยัน ถึงวันนี้อะไรต่อมิอะไรก็ดูสดใสสวยงาม ถึงแม้ว่า BTS จะได้สัมปทานยาว ถึง 30 ปี จนสิ้นสุดในปี 2572 แต่โครงการในช่วงแรกที่ครอบคลุมระยะทางแค่ 23.5 กิโลเมตรก็ยังมีกำไรต่ำมาก ปัจจุบันรถไฟฟ้า BTS มีระยะทางยาวกว่าเดิมถึงเท่าตัวและจากงบไตรมาสล่าสุดปรากฏว่าทำรายได้ให้กับบริษัทคิดเป็น 37% ของรายได้รวมของทั้งเครือส่วน ซึ่งธุรกิจที่ทำรายได้ถึง 41% ของรายได้รวมคือธุรกิจสื่อซึ่งรวมทั้งสื่อโฆษณาและสื่อออนไลน์ด้วย เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีสำหรับกวิน เพราะธุรกิจสื่อนี้ดำเนินการโดย VGI ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ BTSและเป็นโครงการที่กวิน ปั้นขึ้นมากับมือตั้งแต่ต้น “มันคืองานแรก ของผม” กวินพูดถึง VGI ธุรกิจสื่อเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักของ BTS ประกอบด้วย รถไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ และ การให้บริการด้านอื่นๆ ซึ่งในส่วนของธุรกิจสื่อนอกจากการโฆษณาภายในสถานีรถไฟฟ้า ขบวนรถไฟฟ้า และป้ายโฆษณา ขนาดใหญ่บนอาคารสำนักงาน และหรือ ทำเลอื่นๆ ทั่วกรุงเทพฯ แล้ว ยังรวมถึงบัตร Rabbit Smartcard ด้วย ภาพของผลกำไรของบริษัทที่เกิดขึ้นยังสะท้อนถึงศักยภาพดังกล่าว โดยกำไรจากธุรกิจสื่อคิดเป็น 48% ของกำไรรวมของ BTS ในขณะที่กำไรจากธุรกิจรถไฟฟ้าคิดเป็น สัดส่วน 42% อย่างไรก็ตาม กวินบอกว่ากำไรจากธุรกิจสื่อของ BTS ยังสามารถเติบโตได้ถึง 33% จากปีก่อนหน้า และน่าจะเติบโตต่อได้อย่างแข็งแกร่ง เมื่อ Forbes Asia ถามคีรีถึงเรื่องการเปลี่ยน ผ่านสู่ระบบออนไลน์ของ BTS เขาบอกกลั้ว หัวเราะว่า “เรื่องนี้ผมแล้วแต่กวินเขา...หรือ ไม่อย่างนั้นผมก็ต้องถามพวกลูกๆ หลานๆ” นอกจากนี้ ธุรกิจสื่อของ BTS ยังได้ขยายกิจการก้าวไกลไปถึงต่างประเทศด้วย ในขณะที่ธุรกิจรถไฟฟ้ากำลังมองโอกาสในการเข้าลงทุนที่ประเทศจีน รวมถึงแผนพัฒนาเส้นทางรถไฟไทย-จีน orologi replica cartier แต่ธุรกิจสื่อไปไกลกว่านั้น โดยบริษัทได้ตั้ง joint venture ร่วมกับ Titanium Compass เพื่อดูแลสื่อโฆษณาในสถานีรถไฟฟ้า 31 แห่งของ Mass Rapid Transit Corp. ในประเทศ มาเลเซียซึ่งเริ่มเปิดในปลายปีที่ผ่านมา กระนั้น การเติบโตแท้จริงของบริษัทอยู่ที่กรุงเทพฯ และคีรีก็ยินดีที่จะวางมือให้ลูกชาย ก้าวขึ้นมาเป็นผู้กุมบังเหียนกิจการในอนาคต คีรีเชื่อว่ารัฐบาลยุคนี้เอาจริงในเรื่องระบบขนส่งมวลชน “ประเทศไทยเห็นประโยชน์ของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน” เขาบอกและทิ้งท้ายว่า “ถ้าไม่มีมันคุณก็ไม่สามารถที่จะโตได้เร็วและกรุงเทพฯ ก็กำลังโตอยู่ในขณะนี้” โดย BTS ยังมีส่วนร่วมในแผนระบบขนส่งมวลชนของรัฐบาลที่จะเพิ่มระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอีกกว่า 508.4 กิโลเมตรภายในปี 2572 เรื่อง: ชญานิจฉ์ ดาศรี และ Ron Gluckman เรียบเรียง: พิษณุ พรหมจรรยา ภาพ: กิตติเดช เจริญพร และ Luke Duggleby/Redux Pictures for Forbes อ่านเพิ่มเติม: ย้อนรอย คีรี กาญจนพาสน์ ขับเคลื่อนมังกรสยามเชื่อมมหานคร อ่านเพิ่มเติม: กวิน กาญจนพาสน์ “ผมชอบธุรกิจที่ไม่มีคู่แข่ง”คลิกอ่านฉบับเต็ม "คีรี กาญจนพาสน์ ขับเคลื่อนมังกรสยามเชื่อมมหานคร" ได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับ มีนาคม 2560