ตลอดปี 2563 นิตยสาร Forbes Thailand ได้นำเสนอเนื้อหาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อ่านในการทำธุรกิจ รวมถึงการนำเสนอข้อมูลเศรษฐกิจ การลงทุน นวัตกรรมและรูปแบบการใช้ชีวิตจากทั่วโลก
16 นักธุรกิจชาวไทยจากหลากหลายเจนเนอเรชั่นที่ขึ้นปกนิตยสาร Forbes Thailand ทั้ง 12 ฉบับ ล้วนเชี่ยวชาญในกิจการของพวกเขาและถ่ายทอดประสบการณ์แนวคิดผ่านเนื้อหาที่นำเสนอจากเรื่องเด่นประจำฉบับ โดย Forbes Thailand คัดเลือกวาทะเด่นเพื่อส่งต่อความมุ่งมั่นในการสร้างธุรกิจ ต้อนรับปี 2564 มกราคม 2563 ก้าวที่ท้าทายของ “มงคลสุธี” ปรับแพลตฟอร์ม “ซินเน็ค” รับยุค 5G บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SYNEX ผู้จัดจำหน่ายอุปกรณ์ไอที ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์สื่อสารอันดับ 1 ของไทย ปัจจุบันธุรกิจอยู่ภายใต้การบริหารโดยคู่พ่อ-ลูก สุพันธุ์-สุธิดา มงคลสุธี โดยมี สุธิดา เจเนอเรชั่น 2 ที่นั่งตำแหน่ง Chief Financial Officer หรือ CFO หรือประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน เป็นเวลา 11 ปี และขึ้นนั่งตำแหน่งซีอีโอเมื่อปี 2556 จนกระทั่งปัจจุบัน เป็นผู้กุมบังเหียนธุรกิจในปัจจุบัน “อีก 5 ปีเทคโนโลยีก็คงเปลี่ยนไป ซินเน็คคงก้าวไปในเรื่องที่ปรึกษาด้านโซลูชั่นมากขึ้น ต่อไปต้องเอาเรื่อง 5G เป็นฐาน อะไรที่เกี่ยวกับ 5G เราคงไปตรงนั้น ซึ่งจะมีโซลูชั่นเกี่ยวกับ smart city, smart home, smart solution เป็นยุคที่ไอทีจะเข้าไปอยู่ในทุกอณูของโปรดักส์” สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานกรรมการ บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SYNEX “ตอนนั้นเทคโนโลยีชิฟต์ คนคิดว่าแท็บเล็ตกำลังมา คนไปซื้อแท็บเล็ตเยอะเพราะมองว่าโน้ตบุ๊กและพีซีน่าจะไป ถ้าจำกันได้ช่วงนั้น กำลังซื้อโน้ตบุ๊กและพีซีลดลง คนแห่มาซื้อแท็บเล็ต แต่ด้วยราคาต่างกันเท่าตัว มูลค่าก็เลยหายไป เราเห็นเทคโนโลยีเวลาชิฟต์มูลค่ามันเปลี่ยน แต่มาถึงวันนี้เราก็เห็นว่าโน้ตบุ๊กก็ยังอยู่ พีซีก็ยังอยู่ แต่แน่นอนว่ามือถือเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมี” สุธิดา มงคลสุธี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ SYNEX อ่านเพิ่มเติม: ก้าวที่ท้าทายของ “มงคลสุธี” ปรับแพลตฟอร์ม “ซินเน็ค” รับยุค 5G กุมภาพันธ์ 2563 ภูริต ภิรมย์ภักดี สิงห์หนุ่มเจเนอเรชั่น 4 นำจุดเปลี่ยน “บุญรอดเทรดดิ้ง” ซีอีโอหนุ่มวัย 43 ปี รับตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดของบุญรอดเทรดดิ้งมาตั้งแต่ปี 2559 ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงมากมายเกิดขึ้นจากแนวคิดการบริหารของสิงห์หนุ่มคนแรกในเจเนอเรชั่น 4 ของภิรมย์ภักดี ซึ่งการที่เข้ามาเป็นซีอีโอ บุญรอดเทรดดิ้ง ทำให้เขามีโอกาสได้ปรับเปลี่ยนหลายสิ่งเพื่อให้องค์กรมีความร่วมสมัยและพร้อมสำาหรับการแข่งขัน เพราะจะว่าไปแล้วนี่คือธุรกิจดั้งเดิมของตระกูลที่ทำต่อเนื่องกันมากว่า 8 ทศวรรษ กาลเวลาที่ยาวนานและยุคสมัยที่เปลี่ยนไปคือโจทย์สำคัญ “ปรับเปลี่ยนเยอะมาก บริษัทเราอยู่มา 86 ปีย่อมมี generation gap ของคนที่ทำงานสมัยก่อน ไม่ใช่เขาทำงานไม่ดีทำงานดีแต่โลกมันเปลี่ยนไป ทุกอย่างเปลี่ยนเราต้องปรับตัวเองให้ดีขึ้น” ภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด อ่านเพิ่มเติม: ภูริต ภิรมย์ภักดี สิงห์หนุ่มผู้ทะยานสู่จุดเปลี่ยน มีนาคม 2563 สรพหล นิติกาญจนา ฟาร์มหมูไฮเทค-นวัตกรรมอาหารสัตว์ ต่อยอด เอสพีเอ็ม กรุ๊ป เอสพีเอ็ม กรุ๊ป เป็นองค์กรธุรกิจแบบครอบครัว ไม่มีแนวคิดนำกิจการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ คนทั่วไปจึงอาจไม่คุ้นชื่อนัก แต่ในแวดวงธุรกิจฟาร์มและอาหารสัตว์ พวกเขาถือว่าเป็นกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ที่มียอดขายระดับหมื่นล้าน มีฟาร์มหมูขนาดใหญ่ถึง 12 แห่งเลี้ยงหมูเพื่อจำหน่ายปี 2563 กว่า 1 ล้านตัว และมิติทางธุรกิจต่อจากนี้ เอสพีเอ็ม กรุ๊ป เสริมการสร้างธุรกิจด้วยนวัตกรรม “ผมมีความเชื่อว่า ความสำเร็จไม่ได้มาด้วยโชคหรือพระเจ้า ต้องสร้างด้วยมือ ด้วยลำแข้งของเราเอง อย่ามองวิกฤตว่าเป็นปัญหา ทุกธุรกิจมีโอกาส คุณต้องมีมุมมองต่าง การทำธุรกิจไม่ง่ายเหมือนรุ่นพ่อรุ่นแม่ เราต้องมองมุมต่างทำแบบต่าง นวัตกรรมสร้างความแตกต่างได้” สรพหล นิติกาญจนา กรรมการผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอส พีเอ็ม กรุ๊ป อ่านเพิ่มเติม: สรพหล นิติกาญจนา ขยายอาณาจักร “เอสพีเอ็ม” ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เมษายน 2563 ศุภชัย เจียรวนนท์ เจ้าสัวทรานส์ฟอร์ม “New Economy” ศุภชัยในวัย 53 ปี บุตรชายคนที่ 3 ของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งซีอีโอควบคู่กับพี่ชาย คือ สุภกิต เจียรวนนท์ ประธานคณะกรรมการบริหารเครือซีพีบุตรชายคนโตของเจ้าสัวธนินท์ แต่ด้วยความที่ศุภชัยเติบโตมาในสายธุรกิจด้านโทรคมนาคม เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำากัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อินเทอร์เน็ต และอีกหลายบริการด้านดิจิทัลไลฟ์สไตล์ เขาจึงมีความพร้อมและมีวิชั่นที่ค่อนข้างชัดเจนสำหรับการ transform technology ปรับองค์กรเข้าสู่ยุคดิจิทัล ถนนสายที่ทุกคนต้องก้าวเดิน และปรับตัวให้เร็วเท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป “เทคโนโลยีที่ดิสรัปต์ทั้งอุตสาหกรรมคือดิจิทัลเทคโนโลยี วันนี้เราพูดถึง new economy คือโครงสร้างพื้นฐานใหม่ที่ขี่อยู่บนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลอีกที ทำให้ globalization มาพร้อมกับความเสี่ยงใหม่ๆ” ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร (CEO) บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือเครือซีพี อ่านเพิ่มเติม: ศุภชัย เจียรวนนท์ เจ้าสัวทรานส์ฟอร์ม “New Economy” พฤษภาคม 2563 คู่ขุนพล “คูหาเปรมกิจ” ธราภุช-ธนพิศาล ก้าวที่แสนล้านของ “โกลเบล็ก”ธราภุช คูหาเปรมกิจ คุมขุมทองโฮลดิ้ง GBX จากตำแหน่งกรรมการผ ที่ได้รับในบริษัทโฮลดิ้งขณะที่อยู่ในวัยเพียง 28 ปี ธราภุช บุตรชายคนโตของ กีรติพงษ์ คูหาเปรมกิจ ยอมรับถึงความท้าทายในการสร้างการยอมรับ โดยเฉพาะในองค์กรมหาชนที่ผู้บริหารส่วนใหญ่มีทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิรวมถึงการปรับตัวจากการทำางานนอกรั้วธุรกิจของครอบครัว สู่การเป็นหนึ่งในผู้ร่วมขับเคลื่อนธุรกิจ
“เราต้องเรียนรู้ที่จะรับฟัง ใส่ใจ และมอนิเตอร์หลายเรื่องให้มากก่อนจะตัดสินใจ รวมถึงปรับตัวจากการทำงานข้างนอกที่เหมือนเราเป็นหนึ่งในฟันเฟืองขององค์กร แต่เมื่อทำธุรกิจที่บ้าน mindset แบบนั้นใช้ไม่ได้กับธุรกิจที่เราต้องบริหารและมองภาพใหญ่ หรือภาพรวมขององค์กร รวมถึงการให้ความสำาคัญกับบุคลากรด้วย” ธราภุช คูหาเปรมกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลเบล็ก โฮลดิ้ง แมนเนจเม้นท์ จำกัด (มหาชน) อ่านเพิ่มเติม: ธราภุช คูหาเปรมกิจ คุมขุมทองโฮลดิ้ง GBXธนพิศาล คูหาเปรมกิจ นำโกลเบล็กคว้าโอกาสในวิกฤต การเป็นลูกชายคนสุดท้องของโอฬาร คูหาเปรมกิจ ผู้ก่อตั้งธุรกิจหลักทรัพย์โกลเบล็ก ไม่ได้หมายความว่า ต้องรอให้พี่ๆ เข้ามารับช่วงธุรกิจก่อนเสมอไป บางครั้งลูกคนเล็กก็ได้รับการถ่ายโอนธุรกิจให้นั่งเก้าอี้บริหารสูงสุดได้เช่นเดียวกับ “ธนพิศาล คูหาเปรมกิจ” หรือ “อัพ" ซีอีโอหนุ่มในวัย 37 ปี เขานั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด มาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว นั่นหมายความว่า เขาก้าวสู่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดมาตั้งแต่วัยต่ำกว่า 30 ด้วยซ้ำ และใช้เวลา 5 ปีในการเติบโตของธุรกิจครอบครัว
“โกลเบล็กเราอยากเป็นโบรกเกอร์คนไทยที่เซอร์วิสลูกค้าได้ทุกอย่าง แต่ยังคงกติกาตามกฎหมายเป๊ะ เราอยากเป็น niche ด้านบริการ การดูแลลูกค้าให้พวกเขารู้สึกสะดวกสบาย” ธนพิศาล คูหาเปรมกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด อ่านเพิ่มเติม: ธนพิศาล คูหาเปรมกิจ นำโกลเบล็กคว้าโอกาสในวิกฤต มิถุนายน 2563 บัณฑูร ล่ำซำ ทวงคืนผืนป่าภารกิจท้าทายอำนาจรัฐชุมชน-ผลประโยชน์ นายแบงก์ใหญ่ผู้เคยยืนหนึ่งบนสังเวียนธุรกิจการเงินในฐานะผู้บริหารสูงสุดธนาคารกสิกรไทย วันนี้ได้ประกาศวางมือจากธุรกิจ แน่นอนเขาจะมีเวลามากขึ้นกับภารกิจฟื้นฟูผืนป่าต้นน้ำเมืองน่าน แม้เจ้าตัวจะบอกว่า “ผมไม่ใช่นักอนุรักษ์” แต่สิ่งที่ทำมาตลอดหลายปีมันนิยามตัวเขาค่อนข้างชัด “การแก้ปัญหาต้องอิงความรู้ การจัดการ และต้องมีคนจ่ายบิลรวม ซึ่งก็คือแบงก์กสิกรไทย เพราะถ้ามามือเปล่าจะไม่มีใครร่วมมือด้วย ทีมเราอยู่ในกระบวนการนี้ ร่วมกันหาความรู้หาเงินเพิ่มเติมมาช่วย ลำพังกสิกรไทยรายเดียวคงจ่ายไม่ไหว แต่เงินรัฐเราก็คงแตะไม่ได้ ต้องเป็นเงินเอกชนหรือองค์กรการกุศล พวกกรีนฟันด์ต่างๆ เรามองต่างประเทศ พวกเขามีเงินพวกนี้มากกว่า ตอนนี้ก็เดินกรุยทางไปเกลี่ยกล่อมเขาเพื่อรักษาป่าของโลก ต้องตีโจทย์ให้เห็นว่าป่าน่านเป็นส่วนหนึ่งของป่าโลก” บัณฑูร ล่ำซำ อดีตประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย อ่านเพิ่มเติม: บัณฑูร ล่ำซำ ทวงคืนผืนป่าภารกิจท้าทายอำนาจรัฐชุมชน-ผลประโยชน์ กรกฎาคม 2563 สราวุฒิ อยู่วิทยา SUSTAINABILITY in Progress ธุรกิจต้องอยู่ร่วมกับสังคม ถ้าสังคมอยู่ดีธุรกิจก็อยู่ได้ แต่ถ้าสังคมแย่ธุรกิจคงอยู่ยากเป็นหลักคิดพื้นฐานในการทำธุรกิจของครอบครัว “อยู่วิทยา” มหาเศรษฐีไทยเชื้อสายไหหลำผู้เน้นทำมากกว่าพูดมาตลอด 64 ปีในการดำเนินธุรกิจ และสร้างแบรนด์เครื่องดื่ม “กระทิงแดง-เรดบูล” โด่งดังไปไกลข้ามทวีป “อนาคตโลกเราจะมีปัญหาเรื่องน้ำต้องซื้อที่ไว้เยอะขุดบ่อให้เยอะเพื่อกักเก็บน้ำไว้หน้าแล้งอย่าไปแย่งน้ำชาวบ้าน” คำกล่าวของเฉลียวที่อธิบายเรื่องบ่อในพื้นที่โรงงานว่าทำไมจึงขุดขุดบ่อไว้เป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลดีถึงปัจจุบัน “ตอนนี้เรามีน้ำเพียงพอสำหรับผลิตได้กว่า 10 เดือนอย่างสบายๆ คุณพ่อท่านเป็นคนลึกซึ้ง ตอนนั้นผมไม่เข้าใจทำไมมีบ่อเยอะขนาดนี้ ของที่อื่นเขาไม่เห็นมี” สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP อ่านเพิ่มเติม: สราวุฒิ อยู่วิทยา SUSTAINABILITY in Progress สิงหาคม 2563 สุระ คณิตทวีกุล รีสตาร์ทตลาดมือถือ “แสนล้าน” ตลอด 24 ปีบนเส้นทางผู้ค้าปลีก-ส่ง อุปกรณ์ไอที COM7 สร้างตัวมาจากการเป็นผู้นำเข้าและจำหน่ายสินค้าด้านไอทีในห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ก่อนจะรุกตั้งบริษัทเพื่อค้าส่งอุปกรณ์ไอทีในปี 2547 และปรับมารุกหนักในตลาดค้าปลีกและเป็นเจ้าอาณาจักรสินค้าไอทีที่มีมูลค่า 3 หมื่นล้านบ้าน ณ สิ้นปี 2562 “ความสามารถของเราคือการปรับตัว เราต้องปรับตัวไปตามสภาพเศรษฐกิจ การแข่งขัน และให้ทันกับโลกเพราะฉะนั้นเราจะช้าไม่ได้ทุกคนต้องปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา” สุระ คณิตทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คอมเซเว่น จำกัด (มหาชน) อ่านเพิ่มเติม: สุระ คณิตทวีกุล รีสตาร์ทตลาดมือถือ “แสนล้าน” กันยายน 2553 ณัฏฐวุฒิ ตั้งคารวคุณ ปั้นอาณาจักรหมื่นล้านนอกตลาดฯ เมื่อเอ่ยชื่อตระกูล “ตั้งคารวคุณ” ทุกคนจะนึกถึงธุรกิจสี และแบรนด์ที่แข็งแกร่งของทีโอเอ เพ้นท์ ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ แต่ครอบครัวนี้ยังมีอาณาจักร “TOAVH” เป็นขุมพลังนอกตลาดฯ ที่ขับเคลื่อนรายได้หมื่นล้านให้ตระกูลมหาเศรษฐีอันดับ 7 ของไทยรายนี้มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจ และเป็นอีกหนึ่งธุรกิจของครอบครัว “ตั้งคารวคุณ” ซึ่งแยกออกมาจาก บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TOA เมื่อครั้งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ในปี 2560 ที่อีก 3 ปีต่อมาอาณาจักร “ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง” หรือ TOAVH ก็เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว “ที่จริงแล้วบริษัทที่อยู่ในกลุ่ม TOAVH ส่วนมากก็เป็นธุรกิจที่ผมบริหารมาก่อนแล้ว เมื่อมีการปรับโครงสร้างการบริหารธุรกิจทั้งหมดของครอบครัวจึงได้มีการจัดตั้ง TOAVH และผมก็รับหน้าที่บริหารต่อ ซึ่งทำให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการมากขึ้น ต่อมาก็ได้มีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง มีการลงทุนทั้งในและต่างประเทศและมีการ diversify ธุรกิจใหม่ๆ เช่น ดองกิ มอลล์ และผู้แทนจำหน่ายรถยนต์ Suzuki, MG, Mercedes-Benz” ณัฏฐวุฒิ ตั้งคารวคุณ ประธาน บริษัท ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด อ่านเพิ่มเติม: ณัฏฐวุฒิ ตั้งคารวคุณ ปั้นอาณาจักรหมื่นล้านนอกตลาดฯ กันยายน 2563 จรีพร.หลุยส์.อนุษฐา พลังหญิงแกร่ง POWER WOMEN วิชั่นปัง เปรียว ฉลาดคว้าโอกาสในวิกฤต จรีพร จารุกรสกุล นำทัพ WHA ข้ามภูเขาลูกใหม่ จากธุรกิจเทรดดิ้งในปี 2536 จรีพร จารุกรสกุล และ น.พ.สมยศ อนันตประยูร ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ขึ้นในปี 2550 เพื่อทำธุรกิจโลจิสติกส์ที่ไม่เหมือนใครโดยเป็นผู้สร้างคลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า และโรงงานตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย (built-to-suit) ผ่านมา 17 ปี มีสินทรัพย์เฉียดแสนล้าน รายได้หลักหมื่นล้านขยายเป็น 4 กลุ่มธุรกิจ และกำลังจะมีกลุ่มธุรกิจที่ 5 ในปี 2564 “ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเราปรับตัวมาโดยตลอดเราเห็นว่าเทคโนโลยีจะเปลี่ยน จึงวาง strategyปรับตัวไว้ค่อนข้างมากพอเกิดโควิดเห็นภาพว่าสิ่งที่เราเตรียมมาตลอดเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะแทบไม่กระทบธุรกิจเลย” จรีพร จารุกรสกุล ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ WHA Group อ่านเพิ่มเติม: จรีพร จารุกรสกุล นำทัพ WHA ข้ามภูเขาลูกใหม่ อนุษฐา เชาว์วิศิษฐ ขับเคลื่อนโครงสร้างใหม่ โตโยต้า ทูโช ไทย อนุษฐา เชาว์วิศิษฐ หรือ ณิณี ชื่อที่ผู้คนในแวดวงการเงินและธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์และอุตสาหกรรมยานยนต์รู้จักดี ปัจจุบันเธอดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัวที่ร่วมทุนกับ โตโยต้า ทูโช ญี่ปุ่น ร่วมธุรกิจกันมานานกว่า 6 ทศวรรษ จากจุดเริ่มต้นโดยคุณปู่ของเธอ สุจินต์ เชาว์วิศิษฐ ซึ่งก่อตั้งกิจการร่วมทุนแห่งนี้มาตั้งแต่ปี 2500 เติบโตมาอย่างต่อเนื่องในธุรกิจเทรดเดอร์ (trader) อุปกรณ์และชิ้นส่วนรถยนต์ ขยายไลน์สินค้าใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ กระทั่งปัจจุบันมีบริษัทในกลุ่มมากกว่า 79 บริษัทครอบคลุม ใน 7 กลุ่มธุรกิจ “ใน ecosystem บริษัทรถยนต์แต่เดิมรถยนต์มีสัดส่วนสูงสุด แต่ปัจจุบันเริ่มเปลี่ยน คนต้องการ service ธุรกิจจึงกำลังจะเป็นแพลตฟอร์มใหม่ ตอนนี้เลยดูอะไรที่เป็นการ link automotive and service มากขึ้น” อนุษฐา เชาว์วิศิษฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดกา ใหญ่ บริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด (TTTC) อ่านเพิ่มเติม: อนุษฐา เชาว์วิศิษฐ ขับเคลื่อนโครงสร้างใหม่ โตโยต้า ทูโช ไทย หลุยส์ เตชะอุบล นำทัพเสริมแกร่ง “ไทรทัน” บทพิสูจน์ความสามารถทั้งในฐานะนักลงทุนและผู้บริหารนำทัพสร้างการเติบโตได้สะท้อนชัดในผลการดำเนินงานที่พลิกจากตัวเลขขาดทุนกว่า 334.7 ล้านบาทในปี 2559 กลายเป็นกำไร หลังจากทำงานในธุรกิจครอบครัวได้ราว 4 ปี หลุยส์ได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัทเพื่อเป็นนักลงทุนเต็มตัวตั้งแต่ปี 2552 ก่อนจะเล็งเห็นโอกาสการเริ่มต้นสร้างอาณาจักรใหม่ของตัวเอง ด้วยความเชื่อมั่นในแนวโน้มการเติบโตในอนาคตจากโมเดลธุรกิจที่ต้องใช้ความสามารถด้านวิศวกรรมเฉพาะทางเน้นงานรับเหมาที่มีความยากและใช้ทักษะสูงเป็นอาวุธสำคัญในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันที่มีคู่แข่งน้อยรายและเป็นธุรกิจมาร์จิ้นสูง “แม้เราจะอ่านหนังสือ Warren Buffett มาทุกเล่ม เล่มละเป็นสิบรอบก็ใช้ไม่ได้กับตลาดหุ้นไทย เพราะไม่เหมือนที่เราอ่านมาเลย เราได้บทเรียนเยอะมากจากการลงทุนและขาดทุน ทำให้รู้ว่าเราต้องการถือบริษัทแบบไหนในแง่ที่เราเป็นผู้ถือหุ้นหลักของไทรทันแปลว่า หลุยส์จะถือหุ้นตัวนี้ในระยะยาว และหลุยส์ไม่ได้มานั่งเป็นซีอีโอ แต่จะมีทีม professional ดูแล โดยเราดูอยู่ห่างๆ อาจจะช่วยวางกลยุทธ์ และรับฟังความ เห็นของทีมด้วย” หลุย์ เตชะอุบล ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทรทัน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ TRITN อ่านเพิ่มเติม: หลุยส์ เตชะอุบล นำทัพเสริมแกร่ง “ไทรทัน” พฤศจิกายน 2563 วิจิตรา สุขะมงคล สร้างอาณาจักร “แพทโก้” บนพื้นฐานความซื่อสัตย์ พัฒนายนต์ชลบุรี (Patco Group) เริ่มต้นด้วยการจำหน่ายเครื่องยนต์การเกษตร เครื่องเรือประมง ก่อตั้งโดย “สุทิน-วิจิตรา สุขะมงคล”อปัจจุบันได้ส่งต่อธุรกิจสู่ทายาทรุ่น 2 โดยวิจิตรายังคงให้คำปรึกษาในฐานะประธานบริษัท และร่วมตัดสินใจในเรื่องสำคัญๆ “อาชีพนี้ใจต้องกว้าง 3 ปีดี 4 ปีร้าย แต่ชาวประมงซื่อสัตย์มีก็จ่าย เราให้เขาผ่อนทั้งหมดไม่มีซื้อสดเลยทำมาถึงปัจจุบัน” หลักคิดของวิจิตราในการทำธุรกิจที่เน้นความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมา เธอฝากหลักคิดนี้ให้กับทายาทรุ่น 2 และ 3 ว่า “ถึงแม้โลกจะก้าวหน้าไปแค่ไหน ความซื่อสัตย์ยังคงสำคัญและจำเป็นเสมอ” อ่านเพิ่มเติม: วิจิตรา สุขะมงคล สร้างอาณาจักร “แพทโก้” บนพื้นฐานความซื่อสัตย์ ธันวาคม 2563 จอมทรัพย์ โลจายะ คว้าโอกาสหมื่นล้าน “พลังงานทดแทน” หลายคนที่ทำธุรกิจแล้วประสบภาวะขาดทุนด้วยการแข่งขันสูงหรือตลาดชะลอตัวก็ตาม หากวันหนึ่งธุรกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งก็คงเพลิดเพลินกับโอกาสรอบใหม่และวางแผนโตต่อเนื่อง แต่นักธุรกิจไทยผู้เติบโตต่างแดนกลับมองว่า เขาต้องรีบขายกิจการออกไปแล้วหันไปจับธุรกิจใหม่ที่มีรายได้มั่นคงกว่าและมุ่งมั่นสร้าง บมจ. ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น บริษัทพลังงานน้องใหม่สู่เบอร์หนึ่งด้านกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย “ผมเชื่อว่าใน 3 ปีนี้เราจะเห็นการปรับเปลี่ยนของการผลิตไฟฟ้ามาเป็นพลังงานทดแทนมากขึ้น จากแก๊สธรรมชาติ จากถ่านหิน จะมาเป็นพลังลมกับแสงอาทิตย์” จอมทรัพย์ โลจายะ ประธานคณะกรรมการ บมจ. ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่นไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine