NIQ บริษัทวิจัยผู้บริโภคชั้นนำของโลกด้านข้อมูลเชิงลึกของผู้บริโภค เปิดเผยถึงข้อมูลจากรายงาน Thai Shopper Trends 2567 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่ท้าทาย ผู้ชื้อชาวไทยมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับค่าสาธารณูปโภคและค่าอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น แรงกดดันทางเศรษฐกิจกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ โดยหลายคนวางแผนที่จะลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและปรับเปลี่ยนนิสัยการซื้อของตนเพื่อรับมือกับความตึงเครียดทางการเงิน
ผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อพฤติกรรมผู้บริโภค
สถานะทางการเงินของผู้ซื้อชาวไทยลดลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงปีที่ผ่านมา ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 จำนวน 48% ของนักช้อปรายงานว่าสถานะทางการเงินของตนนั้นแย่ลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งตัวเลขอยู่ที่ 39% สถานะทางการเงินที่ลดลงนี้ส่วนใหญ่เกิดจากค่าต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ส่งผลให้งบประมาณครัวเรือนทั่วประเทศตึงตัว
ความกังวลของผู้บริโภค
ต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นกังวลอันดับต้นๆ ของผู้บริโภค โดยต้นทุนของอาหารได้พุ่งสูงขึ้นจาก 27% ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 เป็น 30% ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 นอกจากนี้ ผู้ซื้อยังต้องรับมือกับความกังวลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นและผลกระทบของภาวะโลกร้อนด้วย เพื่อจัดการกับการเพิ่มขึ้นของต้นทุนเหล่านี้ ผู้ซื้อหลายคนจึงวางแผนซื้อสินค้าในช่วงลดราคาและช่วงที่มีการจัดโปรโมชันพิเศษเพื่อช่วยลดการใช้จ่าย
เพื่อตอบสนองต่อต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น กลุ่มผู้ซื้อจึงใช้กลยุทธ์ต่างๆ ดังนี้:
การลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย: ผู้ซื้อหลายคนให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายสินค้าที่จำเป็นมากขึ้น โดยตัดการซื้อของที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อจัดการกับงบประมาณให้ดีขึ้น ผู้ซื้อชาวไทยให้ความสำคัญกับสิ่งที่พวกเขาต้องการมากกว่าสิ่งที่อยากได้
การลดปริมาณการซื้อ: ผู้ซื้อจะลดปริมาณสินค้าที่ซื้อ โดยเน้นที่การซื้อเฉพาะสิ่งที่จำเป็นหรือสต็อกสินค้าที่จำเป็น
การซื้อของในช่วงลดราคา: ผู้ซื้อนิยมซื้อสินค้าในช่วงลดราคา เช่น ช่วงวันหยุดหรือช่วงโปรโมชั่นลดราคาสองหลัก เนื่องจากต้องการแสวงหาการลดราคาและข้อเสนอพิเศษเพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถใช้จ่ายในงบประมาณเพิ่มมากขึ้น
ความกังวลด้านการเงินส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อของของผู้ซื้อชาวไทยเป็นอย่างมาก:
เน้นที่คุณภาพของสินค้า: จำนวนผู้ซื้อเพิ่มมากขึ้นถึง 90% ในปี พ.ศ. 2567 เพิ่มขึ้นจาก 82% ในปี พ.ศ. 2565 โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าราคา
ความพึงพอใจที่จะใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อความสะดวกสบาย: ความพึงพอใจที่จะจ่ายเงินมากขึ้นเพื่อประหยัดเวลา เพิ่มขึ้นเป็น 78% ในปี พ.ศ. 2567 จาก 70% ในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งอาจเกิดจากปริมาณงานที่มากขึ้นและระยะเวลาเดินทางที่นานขึ้น เป็นนัยยะว่าผู้ซื้อชาวไทยให้ความสำคัญต่อเวลาของพวกเขามากขึ้นด้วย
การใช้ส่วนลด: ผู้ซื้อชาวไทยหันมาแสวงหาส่วนลดพิเศษกันมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการใช้จ่ายเชิงกลยุทธ์ท่ามกลางแรงกดดันทางการเงิน
ความเปิดกว้างต่อผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ: ผู้ซื้อประมาณ 89% ยินดีที่จะลองผลิตภัณฑ์และแบรนด์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นจาก 79% ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การสำรวจทางเลือกที่คุ้มต้นทุน
สินค้าที่มีอิทธิพลของร้านค้า: เมื่อเป็นเรื่องของตัวเลือกของร้านค้าสำหรับผู้ชื้อชาวไทย มีสินค้า 3 หมวดหมู่หลักที่ร้านค้าต้องคำนึงถึงและมีขาย เพื่อตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันของนักซื้อชาวไทย ได้แก่ แชมพูและครีมนวดผม, ผงซักฟอกและน้ำยาปรับผ้านุ่ม, อาหาร เช่น ข้าว แป้ง พาสต้า น้ำมันปรุงอาหาร และเครื่องปรุงรสอาหาร
ผลกระทบต่อธุรกิจ
ธุรกิจ โดยเฉพาะในภาค FMCG จะต้องปรับตัวให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปเหล่านี้ ความภักดีต่อแบรนด์นั้นมีแนวโน้มลดลงอย่างมาก โดยมีเพียง 19% ของผู้ซื้อในปี พ.ศ. 2566 ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นที่จะซื้อสินค้าเดิมๆ เมื่อเทียบกับตัวเลขที่สูงกว่าในปีที่ผ่านมา เนื่องจากความตึงเครียดทางการเงินไม่ใช่ปัญหาที่ต้องกังวลในเวลานั้น
เพื่อสนับสนุนผู้ซื้อ ธุรกิจควรพิจารณาเสนอส่วนลดและตัวเลือกในการซื้อจำนวนมากมากขึ้น และต้องเน้นย้ำถึงคุณค่าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาและดึงดูดลูกค้า ธุรกิจควรใช้กลยุทธ์การขายออนไลน์มากขึ้นเพื่อลดต้นทุนหน้าร้านและเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้นให้กับผู้ซื้อที่มองหาข้อเสนอพิเศษทางช่องทางออนไลน์
เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ : YDM เผย เทรนด์มาร์เก็ตติ้งปี 2024 แนะกลยุทธ์ 5 ข้อ 'ใช้ Content Creator สร้างแบรนด์'
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine