foodpanda อัพเดตอินไซต์ฟู้ดเดลิเวอรี่และรีเทล ปี 2566 รวบรวมข้อมูลจากทั้ง 11 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง ไทย มาเลเซีย ปากีสถาน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ ลาว กัมพูชา และเมียนมา ครอบคลุมทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เจาะลึกพฤติกรรมการสั่งอาหาร ของกินของใช้ รวมถึงบริการส่งของแบบ on-demand ที่ทำให้เห็นชัดเจนว่าอุตสาหกรรม quick commerce ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง และอินไซต์นี้ยังเป็นประโยชน์ทางธุรกิจให้กับผู้ประกอบการรวมถึงนักการตลาดในปี 2567 นี้
จากการข้อมูลปี 2564-2566 ทั่ว APAC พบว่ามียอดสั่งเฉลี่ยต่อบิลของบริการฟู้ดเดลิเวอรี่จาก foodpanda เพิ่มมากขึ้น 30% และในขณะเดียวกัน ยอดสั่งเฉลี่ยต่อบิลของบริการ Quick Commerce อย่าง pandamart และ foodpanda shops ก็เพิ่มขึ้น 50%
นอกจากนี้ยังพบว่า ในวันศุกร์และวันหยุดสุดสัปดาห์ จะมีการสั่งอาหารและของกินของใช้จาก foodpanda มากกว่าวันอื่นๆ ในสัปดาห์ 10% โดยช่วงพีคคือวันอาทิตย์ มื้อกลางวัน (11.00-12.00 น.) และมื้อค่ำ (18.00-19.00 น.)
การที่ foodpanda มีบริการหลากหลาย ครอบคลุมตั้งแต่บริการแบบ Delivery คือ จัดส่งอาหาร จัดส่งของกินของใช้โดย pandamart และ foodpanda shops จัดส่งของแบบ On-demand โดย pandago รวมถึงบริการแบบ Non-delivery อย่างรับเองที่ร้าน (pick-up) และ pandapro แพ็กเกจสมาชิกรายเดือนสุดคุ้ม ทำให้จำนวนลูกค้าที่ใช้บริการ foodpanda มากกว่า 2 บริการขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว จากปี 2563 ถึง 2566
Fun fact:
-foodpanda ทั่ว APAC ส่ง “มันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ” ให้ลูกค้า “นาทีละ 30 ถุง”
-ในประเทศไทย จำนวนลูกค้าใช้บริการ foodpanda สูงสุดในวันอาทิตย์ รองลงมาคือวันจันทร์
รวมท็อป 5 เมนูอาหารและไอเท็มยอดฮิตทั่ว APAC ปี 2566
-5 อันดับ “อาหารยอดฮิต” (Food Delivery) คือ เบอร์เกอร์ ไก่ทอด พาสต้า ก๋วยเตี๋ยว และพิซซ่า
-5 อันดับ “ของกินของใช้ยอดฮิต” (Grocery) คือ ผักผลไม้ ชาและกาแฟ ไข่ไก่ น้ำแร่ และขนมขบเคี้ยว
-5 อันดับ “ของที่ส่งผ่านบริการ pandago” คือ กุญแจ ดอกไม้ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว คอนแทคเลนส์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
-5 อันดับ “อาหารที่ลูกค้าเสิร์ชมากที่สุด” คือ พิซซ่า (ถูกเสิร์ช 17 ล้านครั้ง) เบอร์เกอร์ เค้ก เครื่องดื่ม และซูชิ
-5 อันดับ “ของกินของใช้ที่ลูกค้าเสิร์ชมากที่สุด” คือ นม (ถูกเสิร์ช 1.8 ล้านครั้ง) ขนมปัง ไข่ไก่ ไอศกรีม และเส้นก๋วยเตี๋ยวและบะหมี่
foodpanda ไทยไม่น้อยหน้า ขอส่งเมนูอาหารและไอเท็มเด็ด ปี 2566
-5 อันดับ “อาหารยอดฮิต” (Food Delivery) คือ ข้าวผัด ข้าวกะเพรา ข้าวมันไก่ ส้มตำปูปลาร้า และผัดซีอิ๊ว
-5 อันดับ “เครื่องดื่ม” ยอดฮิต คือ กาแฟ ชาเขียว ชาไทย โกโก้ และชาไข่มุก
-5 อันดับ “ของกินของใช้ยอดฮิต” (Grocery) คือ กาแฟกระป๋องพร้อมดื่ม โซดาขวด น้ำดื่ม น้ำปลา และผงปรุงรส
Fun fact:
-ลูกค้า foodpanda ใน “ฮ่องกง” สั่งก๋วยเตี๋ยววันละมากกว่า 10,000 ชาม
-ลูกค้า foodpanda ใน “สิงคโปร์” และ “มาเลเซีย” สั่ง “ไก่ทอด” มากกว่าประเทศอื่นใน APAC ถึง 30%
-ผลไม้ที่ลูกค้า foodpanda ใน “สิงคโปร์” นิยมสั่งมากที่สุดคือ “ทุเรียน”
-บริการ Non-delivery อย่าง pandapro ก็มียอดสมัครเพิ่มขึ้น 14% จากปีก่อน ซึ่งสมาชิก pandapro ประหยัดค่าส่งและได้ส่วนลดอื่น ๆ รวมแล้วมูลค่ามากกว่า 5 เท่าของค่าสมัคร
พาร์ทเนอร์มอง foodpanda เป็นหนึ่งใน Advertising Platform
นอกจากการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดส่งอาหารและของกินของใช้ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าทั่วเอเชียแปซิฟิก foodpanda ยังเป็นแพลตฟอร์มที่พาร์ทเนอร์ ไว้วางใจในฐานะแพลตฟอร์มที่มี “โซลูชั่นโฆษณา” (Adtech) ไม่ว่าจะเป็น “restaurant ads” “q-commerce ads” และ “panda ads” ที่ช่วยสร้างผลตอบแทนจากค่าโฆษณา (ROAS - Return on Advertising Spend) ให้ร้านค้า รวมถึงแบรนด์และแคมเปญของพาร์ทเนอร์ได้ 14.22 เท่า และยังสามารถช่วยเพิ่ม Click Through Rate (CTR) ได้ 24% และเพิ่ม Impressions ได้ 32%
และยังมีอีกหลายฟีเจอร์ ที่ช่วยผลักดันขีดความสามารถให้ธุรกิจของร้านค้าพาร์ทเนอร์เติบโตอย่างยั่งยืน ได้แก่
-rating & review - ดูเรทติ้งของร้านและตอบรีวิวจากลูกค้าได้ง่ายขึ้น
-pandaclicks - ร้านอาหารปรากฏที่ด้านบนเพิ่มโอกาสมองเห็นมากขึ้น
-pandabox - ฟีเจอร์ pop up โปรโมชั่นภายในแอปช่วยดึงคนเข้าร้านมากขึ้น
-dynamic search bar - ขึ้นชื่อร้านในช่องค้นหาพร้อมโปรโมชั่นช่วยเพิ่มยอดขาย
ทั้งหมดนี้คืออินไซต์ผู้บริโภคในธุรกิจจัดส่งอาหาร ของกินของใช้ และค้าปลีก ของปี 2566 จาก foodpanda ในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นข้อมูลที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อคว้าโอกาสทางธุรกิจ รวมถึงสร้างโอกาสจากแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่อย่าง foodpanda ที่มีเครื่องมือทางการตลาดหลากหลายในการช่วยยกระดับธุรกิจขอบพาร์ทเนอร์ ให้เติบโตในตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
เรื่องราวอื่นๆ ที่น่าสนใจ : CRG เผย 8 เทรนด์ธุรกิจอาหารน่าจับตา รับมือความท้าทายเศรษฐกิจปีนี้
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine