1 ปี “ช้าง โคลด์ บรูว์” ต่อยอดสู่เบรนด์ใหม่ สร้างตลาดด้วยรสชาติ - Forbes Thailand

1 ปี “ช้าง โคลด์ บรูว์” ต่อยอดสู่เบรนด์ใหม่ สร้างตลาดด้วยรสชาติ

หลังจากที่ ช้าง อินเตอร์ฯ จัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 25th Anniversary เมื่อปีที่ผ่านมา พร้อมการเปิดตัว “ช้าง 25 ปี โคลด์ บรูว์ ลาเกอร์” ภายใต้แนวคิด “ละเมียด” หลังได้รับเสียงตอบรับจากผู้บริโภคทางด้านรสชาติจนสร้างตลาดผู้บริโภคกลุ่มใหม่จึงตัดสินใจเดินหน้าสร้างแบรนด์น้องใหม่เบียร์ ช้าง โคลด์ บรูว์ สู่ตลาด โดยมี เลสเตอร์ ตัน ชาวสิงคโปร์ ผู้บริหารใหม่และทีมงานบริหารช้าง อินเตอร์ฯ ให้ข้อมูล

ภายในงานแถลงข่าว เลสเตอร์ ตัน และทีมงานช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด เริ่มให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์เบียร์ช้างในปัจจุบันมีอยู่ 2 รสชาติคือ ช้างคลาสสิก ที่เริ่มปรับรสชาติและวางจำหน่ายราวปี 2015 และ ช้างโคลด์ บรูว์ เริ่มทำตลาดในปีนี้ โดยก่อนหน้านี้ผลิตภัณฑ์เบียร์ของช้างมีรสชาติให้เลือก 4 แบบคือ ช้างคลาสสิก ช้างเอกพอร์ท ช้างไลท์ และช้างดราฟ์

เลสเตอร์ ตัน ผู้บริหารสูงสุดสายธุรกิจเบียร์ประเทศไทย ถือเป็นผู้บริหารใหม่ที่เข้ามาบริหารธุรกิจเบียร์ช้างเพราะเขาเพิ่งรับตำแหน่งเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้เขารับผิดชอบแบรนด์น้ำดื่มคริสตัลซึ่งกลุ่มธุรกิจในเครือไทยเบฟฯ ขณะที่ประสบการณ์ของเขาคลุกคลีอยู่ทั้งในวงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์มามากกว่า 20 ปี

“สำหรับแบรนด์น้องใหม่นี้ เริ่มต้นจากความพิถีพิถันตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบไปจนถึงขั้นตอนการผลิตทำให้ได้น้ำเบียร์ที่มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ หอม นุ่ม  ดื่มง่าย ซึ่งเป็นมาส่วนผสมเพียง 4 คือ ยีสต์, มอลล์, ฮอปเปอร์ และ น้ำ ผ่านกระบวนการกรองเบียร์สุดพิเศษในอุณภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง (Sub-Zero Filtration Process) ทำให้น้ำเบียร์ที่ใส รสชาติละมุน ไม่ขม ตามที่แนวคิด “ละเมียด” ที่เราวางไว้” เลสเตอร์ ตัน กล่าวและเสริมว่า

หลังจากได้วางตลาดในช่วงเทศกาลปลายปี 2562 ตามที่ ช้าง อินเตอร์ฯ ตั้งใจผลิตขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองปีที่ 25 ธุรกิจ และได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าที่ชื่นชอบเบียร์รสชาตินุ่มซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดี ในฐานะครบหนึ่งปี ช้างจึงตัดสินใจทำตลาดและจำหน่ายแบรนด์ ช้างโคลด์ บรูว์ ในทุก SKU ทั้งแบบขวดแก้วและกระป๋อง

“พฤติกรรมคนไทยชอบลองสินค้าใหม่” หนึ่งทีมบริหารช้างอินเตอร์ฯ พร้อมให้ข้อมูลจากผลวิจัยทางการตลาดที่สัมภาษณ์กับกลุ่มเป้าหมายที่คาดว่าจะเกิดการซ้ำที่ร้อยละ 85 จากเหตุผลด้านรสชาติและราคาที่จับต้องได้ ทำให้เกิดกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหม่ที่ไม่ซ้ำกับกลุ่มช้างคลาสสิก

ด้านภาพรวมอุตสาหกรรมเบียร์ในปีนี้ เลสเตอร์ ตัน เผยว่าภาพรวมมูลค่าตลาดตกจากปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 11 ซึ่งเหตุผลหลักมาจากสถานการณ์โควิด-19 ที่เข้ามากระทบกับการจำหน่าย ขณะที่ด้านการแข่งขัน เบียร์ช้าง สามารถทำยอดขายได้ดีระดับสองดิจิ และเป็นปีแรกที่ช่องว่างเบียร์ช้างกับเบอร์หนึ่งของตลาดใกล้ที่สุดเท่าที่ทำผลงานมา

อ่านเพิ่มเติม: สยามพิวรรธน์ จับมือ บัตรแรบบิท เปิดตัว VIZ Rabbit Card ครั้งแรกของโลกค้าปลีก


ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine