Richard Branson เดินหน้าหานักลงทุนรายใหม่อีกครั้ง ปฏิเสธขายสายการบิน Virgin Atlantic - Forbes Thailand

Richard Branson เดินหน้าหานักลงทุนรายใหม่อีกครั้ง ปฏิเสธขายสายการบิน Virgin Atlantic

Virgin Group เผยดึง Houlihan Loukey อินเวสเม้นท์แบงก์ เพื่อหานักลงทุนเข้ามาแก้วิกฤตการเงินสายบิน Virgin Atlantic ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานว่า Richard Branson มหาเศรษฐีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เตรียมขายกิจการ

“Richard และ กลุ่ม Virgin ยังคงมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจสายการบินและไม่ได้เป็นไปเพื่อการขายสายการบิน” ส่วนหนึ่งของจดหมายแถลงการจาก Virgin Group และระบุว่า “การเพิ่มทุนมีความจำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสภาวะขาดทุนจากสถานการณ์โควิด-19” จากการรายงานของสำนักข่าว Telegraph Branson กำลังเฟ้นหาผู้ซื้อภายในเดือนพฤษภาคมนี้เพื่อยกเลิกการกู้เงินจากรัฐบาลอังกฤษจำนวน 500 ล้านปอนด์ แล้วใครสามารถที่ซื้อกิจการ Virgin Atlantic สายการบินระดับตำนานที่ขาดทุนต่อเนื่องยาวนานแห่งนี้ แม้จะได้ Delta Air Lines (DAL) เข้ามาถือหุ้นในช่วงขาขึ้นของอุตสาหกรรมการบินเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ด้านความเคลื่อนไหวของสายการบินอื่นๆ กลุ่ม IAG เจ้าของสายบิน British Airways ยังไม่ได้ร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลใดๆ ด้าน EasyJet สายการบินราคาประหยัด ยังคงบริหารกำไรหลังได้นำเงินกู้จากรัฐบาลอังกฤษจำนวน 600 ล้านปอนด์ หากนับตั้งแต่ ปี 2010 มีเพียง 3 ปี เท่านั้นที่ Virgin Atlantic ทำกำไรในแดนบวก ขณะที่สายการบินร่วมประเทศอย่าง British Airways ที่ตลอด 10 ปีอัตราทำกำไรขั้นต่ำสูงขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งตลอดทศวรรษที่ผ่านมาภาวะขาดทุนสะสมของ Virgin Atlantic ติดลบไปแล้ว 211 ล้านปอนด์ ขณะที่ British Airways ทำรายได้ 1.1 หมื่นล้านปอนด์ และหากเปรียบเทียบผลประกอบการของทั้งสองสายการบินจากรายงานประจำปี 2018 ด้านอัตราการกำไรขั้นต่ำของ Virgin Atlantic ติดลบอยู่ที่ 1 ขณะที่ British Airways มีอัตรากำไรขั้นต่ำที่ 10% ด้าน Delta Air Lines (DAL) เผยว่าสถานการณ์ตอนนี้เราไม่สามารถช่วย Virgin หรือการร่วมลงทุนในสายการบินอื่นๆ ได้ “เราไม่ได้อยู่ในฐานะที่ช่วยสถานการณ์ทางการเงินกับใคร” Ed Bastian ซีอีโอ Delta กล่าวกับบรรดานักลงทุน “สายการบินต่างๆ ต้องเตรียมพร้อมกันเอง เพราะเดลต้าเองกำลังมุ่งเป้าบริหารจัดการภายในของตนเองอยู่” ทั้งนี้ Bastian เผยด้วยว่า Virgin Atlantic สามารถดำเนินการปรับโครงการสร้างธุรกิจเหมือนอย่างที่ Virgin Australia ที่ Branson ถือหุ้นอยู่เพียง 10% “ถ้าพวกเขาเลือกที่การจัดการธุรกิจในอังกฤษ ผมมั่นใจว่าทุกอย่างจะสามารถผ่านไปได้ด้วยดี” Ed Bastian กล่าวกับสำนักข่าว MSNBC สำนักข่าว Telegraph รายงานเพิ่มเติมด้วยว่า Houlihan Lokey กำลังคัดเลือกนักลงทุนที่น่าสนใจราว 50 บริษัท อาทิ Centerbridge Partners, Cerberus Capital Management, Lansdowne Partners, Northill Capital Read and Singapore sovereign wealth fund Temasek โดยตัวแทนของ Houlihan Lokey ปฏิเสธแล้วว่ากองทุนเฮดจ์ฟันด์ไม่สนใจการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับ Virgin Atlantic ใดๆ ขณะที่ Temasek เจ้าของสายการบิน Singapore Airlines ที่เคยซื้อหุ้นจำนวน 49% ของ Virgin Atlantic เมื่อปี 1999 เป็นจำนวน 600 ล้านปอนด์ และได้ขายหุ้นที่พวกเขาถือให้กับ Delta เมื่อปี 2013 ด้วยราคาเพียง 224 ล้านปอนด์ กำลังมองโอกาสการลงทุนที่สายการบิน Hong Kong การหาผู้ลงทุนรายใหม่ของ Virgin Atlantic เกิดขึ้นหลังจากที่เดือนธันวาคมที่ผ่านมา Branson ได้ยกเลิกแผนที่การขายหุ้นจำนวน 31% ในสายการ Virgin แก่ Air France-KLM ที่มีข้อเสนอเข้ามาเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา โดยข้อเสนอดังกล่าวจะทำให้สิทธิความเป็นเจ้าของและการบริหารจัดการของมหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Virgin Group หมดไปจากที่ถือครองอยู่ 51% เหลือเพียง 20% และจะทำให้หุ้นสองสายการบินต่างชาติ Delta และ Air France-KLM ถือหุ้นรวมกันมากถึง 80% เรียบเรียงขึ้นใหม่จากบทความ Branson’s Virgin Group Looking For New Investors For Virgin Atlantic, Denies It’s Selling Airline ที่เผยแพร่บน forbes.com