"ความขัดแย้ง ตุรกี-กรีซ" อาจลุกเป็นไฟลามใส่สหรัฐฯ - Forbes Thailand

"ความขัดแย้ง ตุรกี-กรีซ" อาจลุกเป็นไฟลามใส่สหรัฐฯ

ในขณะที่เราง่วนอยู่กับการเกาะติดกระแสข่าวโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ และการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในมุมอื่นของโลกยังมีอีก 2 วิกฤตที่กำลังก่อตั้งซึ่งอาจจะส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสหรัฐฯ หนักหน่วงยิ่งกว่าโรคระบาดเสียอีก วิกฤตแรกคือ "ความขัดแย้ง ตุรกี-กรีซ" ความขัดแย้งระหว่างประเทศตุรกีและกรีซซึ่งมีปัญหากันมานานนับศตวรรษแล้ว ส่วนวิกฤตที่ 2 คือ ปัญหาการเมืองภายในประเทศเบลารุส ซึ่งแยกตัวออกมาเป็นอิสระหลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายในปี 1991

"ความขัดแย้ง ตุรกี-กรีซ" เกิดจากการที่ต่างก็อ้างสิทธ์ิเหนือแหล่งน้ำามันและก๊าซในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก โดยกรีซซึ่งเป็นเจ้าของเกาะเล็กเกาะน้อยมากมายในแถบนั้นได้อ้างสิทธ์ิเหนื่อน่านน้ำในย่านดังกล่างซึ่งเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่มีศักยภาพสูง ทางฝั่งตุรกีโต้แย้งการอ้างสิทธิ์ของกรีซ และส่งเรือสำารวจปิโตรเลียมเข้าไปทำาการขุดสำารวจ โดยมีเรือรบตีคู่ประกบไปด้วย ทั้งสองประเทศต่างพากันเสริมแสนยานภุภาพทางการทหารทั้งทงน้ำและทางอากาศกันอย่างครึกโครมเพื่อสนับสนุนการอ้างสิทธิ์ของฝ่ายตนประธานาธิบดีตุรกี Recep Tayyip Erdogan ประกาศว่า “ตุรกีจะเดินหน้าตามนโยบายที่กำาหนดเอาไว้แล้วอย่างแข็งขันในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก...(ชาวกรีก) ต้องเลือกว่า จะทำความเข้าใจภาษาแบบการเมืองและการทูต หรืออยากเจอประสบการณ์ที่เจ็บปวดในสนามรบ” นอกจากนี้ เขายังใช้วาทกรรมหยามกองทัพของกรีซว่า เป็นกองกำาลัง “โกโรโกโส” อีกด้วย ทั้งนี้ กลุ่มประเทศ EU โดยเฉพาะฝรั่งเศส รวมถึงอียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต่างก็หนุนหลังฝั่งประเทศกรีซ ถึงแม้ว่าทั้งกรีซและตุรกีจะไม่ได้ต้องการก่อสงครามกันจริงๆ แต่สถานการณ์ที่ยกระดับขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจก็อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งขั้นรุนแรงได้ เมื่อปี 1996 ทั้งสองประเทศหวุดหวิดจะทำาสงครามกันแล้ว เนื่องจากความขัดแย้งเกี่ยวกับเกาะกลางทะเล 2 แห่งที่ไม่มีผู้คนอยู่อาศัยแต่ยังเคราะห์ดีที่การเจรจาทางการฑูตประสบความสำเร็จจึงเลี่ยงภาวะสงครามมาได้ ย้อนไปเมื่อปี 1974 ตอนที่กรีซประกาศว่า จะรวมเกาะไซปรัส ซึ่งมีชนกลุ่มน้อยเชื้อสายเติร์กอยู่เป็นจำานวนมาก เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศกรีซ ตุรกีได้ส่งกองทัพบุกขึ้นเกาะไซปรัส ยึดพื้นที่ 1 ใน 3 ของเกาะ แล้วประกาศตั้งประเทศใหม่โดยใช้ชื่อว่า สาธารณรัฐตุรกีแห่งไซปรัสเหนือ นอกจากนี้ ตุรกียังประกาศว่าข้อตกลงใดๆ ที่ไซปรัสได้ทำาลงไปแล้วให้ถือเป็นโมฆะทั้งหมด ยกเว้นว่าจะได้รับความเห็นชอบจากประเทศที่ตุรกีตั้งขึ้นมาใหม่เสียก่อน ยังโชคดีที่ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเจรจาข้อพิพาทกัน แต่ถึงกระนั้นความตึงเครียดก็ยังอยู่ในระดับสูง ทั้งตุรกีและกรีซต่างก็เป็นสมาชิกขององค์การ NATO ทั้งคู่ ดังนั้นการที่ทั้งสองประเทศใช้กำาลังสู้รบกันเองเท่ากับเป็นการทำลายอนาคตของกลุ่มพันธมิตรทั้งหมด ซึ่งจะทำให้รัสเซียพอใจมาก นอกจากนี้หากทั้งสองประเทศรบกันจริง ก็ยังอาจจะเกิดผลร้ายที่ตามมาในอีกหลายๆ ด้าน ยกตัวอย่างเช่น ตุรกีอาจจะส่งผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย ซึ่งปัจจุบันพำนักอยู่ในตุรกีประมาณ 4 ล้านคนไปยังกรีซ และต่อไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป ซึ่งตุรกีเคยดำเนินการทำนองนี้มาแล้วช่วงสั้นๆ เมื่อ 2-3 ปีก่อน จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ยังไม่ได้เข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังในการแก้ไขสถานการณ์ความขัดแย้งของทั้งสองประเทศ โดยปล่อยเป็นธุระของของนักการทูตในกลุ่ม EU โดยเฉพาะเยอรมัน และเจ้าหน้าที่ NATO แต่สุดท้ายสหรัฐฯ อาจจะต้องก้าวเข้ามาร่วมด้วยเมื่อพิจารณาถึงเดิมพันที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้
Alexander Lukashenko ประธานาธิบดีประเทศเบลารุส (APF Photo)
อีกหนึ่งวิกฤตที่ประทุขึ้นมาอยู่ที่ประเทศเบลารุส ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเผด็จการ Alexander Lukashenko มาอย่างยาวนาน ถึง 26 ปี เบลารุสได้จัดการเลือกตั้งเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แต่ผลการเลือกตั้งถูกล็อกมาแล้ว ดังนั้นประชาชนที่สุดทนกับระบอบเผด็จการจึงออกมาเดินขบวนประท้วง ซึ่งจำนวนผู้ประท้วงมากมายมหาศาลจนทำให้ระบอบเผด็จการของ Lukashenko พังทลายลง ประเด็นที่เป็นอันตรายในเรื่องนี้ก็คือ Vladimir Putin ไม่อยากให้เกิดระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริงขึ้นในประเทศที่มีพรมแดนติดกับรัสเซีย ดังนั้นเขาอาจจะส่งกองกำลังหน่วยรบพิเศษเข้าไปช่วยให้ Lukashenko รักษาอำนาจเอาไว้ หรือตั้งหุ่นเชิดคนใหม่ขึ้นมารับตำแหน่งแทนก็ได้ ลิทัวเนีย เป็นประเทศเล็กๆ ที่อยู่ติดกับเบลารุส และได้แยกตัวออกมาเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียตเมื่อปี 1991 เช่นกัน แต่สิ่งที่ทำให้ลิทัวเนียต่างจากรัสเซียและเบลารุสก็คือมีการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาจนเข้มแข็ง และยังได้เข้าเป็นสมาชิกของ EU และ NATO ด้วย ทั้งนี้ หลักการสำคัญของ NATO ซึ่งเป็นเครือข่ายพันธมิตรที่มีส่วนสำคัญในการโค่นล้มสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็นก็คือ หากมีสมาชิกประเทศใดในกลุ่มถูกโจมตี ก็ถือว่าทั้งกลุ่มถูกโจมตีไปด้วย ซึ่งกฏข้อนี้ระบุชัดอยู่ในมาตรา 5 ของสนธิสัญญา NATO และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ NATO ทรงอิทธิพลอย่างสูงในเวทีโลก Putin ประกาศตัวชัดเจนว่า เขาเกลียดชังองค์การ NATO เขาเข้าใจว่า ความแตกแยกของ NATO จะส่งผลเสียอย่างหนักต่อสหรัฐฯ และจะทำให้ยุโรปยอมทำตามที่รัสเซียต้องการ ดังนั้น สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นก็คือ Putin อาจจะเข้าแทรกแซงในเบลารุสโดยอาศัยข้ออ้างปลอมๆ และอาจจะอาศัยโอกาสนี้เคลื่อนกำลังพลเข้าไปในลิทัวเนียซึ่งอาจจะไม่ได้เป็นการบุกยึดประเทศเต็มรูปแบบ แต่อาจจะเป็นการยึดพื้นที่อะไรสักแห่งโดยอ้างเหตุผลปลอมๆ ขึ้นมา ซึ่ง หากเกิดกรณีดังกล่าวขึ้นจริง NATO และสหรัฐฯ จะทำอย่างไร? สหรัฐฯ จะส่งกองทหารเข้าไปรบกับรัสเซียหรือ? หรือจะมองว่าเป็นแค่พื้นที่ที่ไม่ได้ใหญ่โตอะไร และรัสเซียก็อาจจะสัญญาว่าจะยอมคืนพื้นที่ให้ในภายหลังดังนั้น แค่ขู่นิด ประณามหน่อย แล้วก็เลิกแล้วกันไป ถ้าหากสหรัฐฯ ไม่ทำอะไรจริงๆ ก็ต้องถือว่าเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ของ Putin ในขณะที่สหรัฐฯ จะถอยหลังไปไกลเสียยิ่งกว่าสมัยที่แพ้สงครามเวียดนามเสียอีก Leon Aron ผู้เชี่ยวชาญด้านรัสเซียกล่าวเตือนถึงเรื่องนี้ว่า “การบุกไม่น่าจะรุกเข้าไปลึกนัก...อาจจะแค่ไม่กี่กิโลเมตรเท่านั้นเอง...แต่ประเด็นมันอยู่ตรงที่รัสเซียอยากแสดงภาพว่าสามารถทำแบบนี้ได้...ซึ่งจะทำให้รัสเซียได้ประโยชน์มหาศาลในเชิงภูมิรัฐศาสตร์... มาตรา 5 ของ NATO ซึ่งเป็นหลักการสำคัญของการปกป้องกลุ่มประเทศสมาชิกร่วมกันจะกลายเป็นแค่เรื่องล้อเล่น จากนั้นกลุ่มพันธมิตรก็อาจจะเริ่มแตกวงกันไป เนื่องจากประเทศต่างๆ ทางซีกตะวันออกหันไปทำข้อตกลงเดี่ยวๆ กับรัสเซีย”
อ่านบทความทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับ ธันวาคม 2563