"Power Skills" ทักษะทรงพลังแห่งศตวรรษที่ 21 - Forbes Thailand

"Power Skills" ทักษะทรงพลังแห่งศตวรรษที่ 21

FORBES THAILAND / ADMIN
07 Jun 2021 | 10:37 AM
READ 4404

ภายใต้สภาวะวิกฤตหลายระลอกในช่วงปีที่ผ่านมา สิ่งที่ผมได้ยินจนแทบจะเรียกได้ว่ามาคู่กันกับเรื่องทรานส์ฟอร์เมชันหรือเรื่องนวัตกรรมก็คือเรื่อง “อัพสกิล” และ “รีสกิล” และ "Power Skills"

ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเรากำลังอยู่ในโลกที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเร็วมากกว่าทุกยุคที่ผ่านมา ขณะที่คนรุ่นก่อนๆ เต็มที่ปรับตัวกับการเปลี่ยนครั้งใหญ่ 1 ครั้งใน 1 ช่วงชีวิต แต่เป็นไปได้ว่าคนยุคนี้ อาจต้องปรับตัวสร้างทักษะ เสริมทักษะใหม่ๆ ความรู้ใหม่ๆ ทุก 3-5 ปี ซึ่งในความเป็นจริง กระบวนการนี้จะเกิดได้ ก็เรียกว่าต้องเติมเต็มกับตัวเองในทุกๆ วัน จึงจะเปลี่ยนได้ทัน หลายองค์กรจึงได้มาคุยโจทย์กับผมและทีมงานให้ร่วมแก้ปัญหา เช่น “ทำอย่างไรให้คนในองค์กรเรียนรู้เรื่องใหม่ มี Learning Agility?” “ทำอย่างไรให้คนไม่ต่อต้านหรือกลัวเรื่องใหม่ๆ แล้วเอามาปรับใช้เองได้?” หรือ “ทำอย่างไรให้ถ้าพรุ่งนี้ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงาน เปลี่ยนเทคโนโลยี แล้วคนก็พร้อมทำได้ทันทีเลย?” ประกอบกับเร็วๆ นี้ มีรายงานดีๆ จากหลายสำนักที่ออกมาท่ามกลางวิกฤติทั่วทุกมุมโลก ราวกับถ้าไม่รีบทำอะไรตอนนี้ เดี๋ยวจะเจอวิกฤตอื่นๆ ตามมาหนักกว่านี้ เช่น รายงาน Future of Jobs ของ World Economic Forum (WEF) ที่มองภาพรวมตลาดแรงงานทั่วโลกไปถึงปี 2025 หรือบทความของกูรูด้านการพัฒนาคนอย่าง Josh Bersin หรือล่าสุดเมื่อต้นปี Harvard Business Review (HBR) ก็ตีพิมพ์บทความ Thriving in the Age of Hybrid Work ที่อ้างอิงไปถึงรายงานของ Burning Glass Technology ที่ใช้ AI ศึกษาตำแหน่งงานใหม่กว่าพันล้านโพสต์ อะไรคือสิ่งที่เป็นความเหมือนหรือสอดคล้องกันของรายงานเหล่านี้กับเรื่อง “อัพสกิล” “รีสกิล” และ "Power Skill" แล้วสิ่งเหล่านี้มีผลต่อชีวิตเราอย่างไร หรือเราควรต้องทำอย่างไรต่อไป ผมขอสรุปง่ายๆ รวม 4 ประเด็น โดยจะนำเสนอในบทความนี้ 2 ประเด็นและต่อเดือนหน้าอีก 2 ประเด็น ดังนี้ 1.ความจริงเกี่ยวกับทักษะ และ Power Skill พจนานุกรม Cambridge ให้คำจำกัดความอัพสกิลว่าหมายถึง การเสริม เติม ต่อยอดทักษะใหม่จากทักษะเดิม เช่น เมื่อองค์กรจำเป็นต้องเพิ่มช่องทางการเข้าถึงลูกค้าแบบ Omni-Channel นักวางแผนการตลาดที่เคยทำแต่ช่องทาง offline ก็จำเป็นต้องเสริมทักษะการตลาดทางช่องทางออนไลน์ด้วย ขณะที่รีสกิลหมายถึงการเรียนใหม่เพื่องานใหม่ สมมติจากโจทย์ข้างต้น เรื่อง Omni-Channel ซึ่งแค่การวางแผนอาจไม่พอ แต่จำเป็นต้องมีคนที่สามารถวิเคราะห์การตลาดในทุกช่องทางได้ด้วย หมายความว่าคนๆ นี้ต้องไปเรียนเพิ่มเรื่อง Data Analytics และ Visualization จากการสำรวจของ WEF พบว่าพนักงานถึงร้อยละ 40 จำเป็นต้องได้รับการรีสกิลสู่ทักษะใหม่ๆ ภายในปี 2025 แล้วจริงๆ ทักษะคืออะไร? ทักษะไม่ใช่ความรู้ เรียนแล้วรู้แต่ทำไม่เป็นไม่เรียกว่าทักษะ แต่ทักษะต้องอาศัยการลงมือทำฝึกฝนจนเชี่ยวชาญและทำจนคุ้นชินเป็นนิสัย ความจริงที่ไม่น่ารื่นรมย์ของคนๆ เดิมที่ต้องไปรีสกิลเรื่อง Data Analytics อาจจะได้ทักษะการออกแบบทำ A/B Testing ตลาด เอาข้อมูลมาวิเคราะห์ทำกราฟใน PowerBI หรือ Tableau ได้สวยงาม เจาะลึก หมุนแกนได้หลายมิติ แต่เมื่อต้องนำเสนอเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าที่อาจจะไม่เข้าใจโลกการตลาดออนไลน์ คนคนนี้ต้องมีทักษะอะไร? ต้องสื่อสารดี อธิบายรู้เรื่อง ต้องฟังอย่างเข้าใจว่าทำไมบางคนไม่เข้าใจ แล้วต้องนำเสนอทางออกอย่างสร้างสรรค์ และมีส่วนร่วมในการจัดการการเปลี่ยนแปลงและความขัดแย้งตลอดจนทำงานร่วมกับในทีมได้ (มีทักษะ เช่น Communication, Collaboration, Creativity, Curiosity, Conflict and Change Management, Empathy) ทักษะแบบแรก อย่าง Data Analytics และการใช้เครื่องมือ หลายคนเรียกว่า Technical Skill หรือ Hard Skill ซึ่งต้องมี เพื่อทำงานนั้นให้ได้ ขณะที่ทักษะแบบที่สอง คนมักเรียกว่า People Skill หรือ Soft Skill ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำงานนั้นให้ได้ “ดี” ด้วย แต่ด้วยชื่อที่ “Soft” จับต้องยาก และดูนุ่มๆ จึงถูกละเลย นอกจากนี้ Common Sense ไม่ใช่ Common Practice จะทำ Soft Skill ให้ดีได้ จริงๆ แล้ว “Hard” มาก ต้องฝึกฝนทำจนเคยชิน ในขณะที่ Hard Skill กับ Soft เพราะความรู้ใหม่ให้ฝึกฝนมีมาเรื่อยๆ สามารถเรียนใหม่ได้ไม่ยาก แล้วสักพักก็เก่าอีก วันนี้ถ้าให้ผมสอนน้องทำ Pivot ใน Excel คงใช้เวลาไม่ถึง 10 นาที หรือไปหาดู YouTube ก็น่าจะทำเป็นแล้ว หรือถ้าเขาจะต่อยอดไปหมุนกราฟใน PowerBI ก็เรียนเพิ่มอีกนิดหน่อย และหา YouTube ดูก็ได้อีกเช่นกัน แต่ให้สอนเรื่องการฟัง การสื่อสารหรือฝึกตั้งคำถามดีๆ คิดวิเคราะห์ให้ถี่ถ้วน มันเป็นอะไรที่ต้องฝึกฝนและสั่งสมพัฒนาทั้งชีวิตอย่างต่อเนื่อง ข่าวดีคือ แม้คำว่า “ความสมบูรณ์แบบ” ไม่มีอยู่จริง แต่ถ้าทำได้ดีประมาณหนึ่งก็จะใช้ทักษะนี้ไปได้อย่างยั่งยืนตลอดชีวิต ตรงนี้เองที่ Josh Bersin บอกว่าทักษะอนาคตไม่ใช่เรื่องของ Technical แต่เป็น Behavioral ในขณะที่ IBM ทำรายงานไว้ ว่า CEOs และหัวหน้างานบอกว่า Hard Skill หาง่าย ซื้อเอาก็ได้ ราคาไม่แพง แต่ Soft Skill นี่แหละที่ยาก ต้องออกแรงเยอะ เพราะมันเป็นเรื่องของพฤติกรรม เมื่อ Soft Skill ทั้งยากและต้องอาศัยการฝึกฝน อาจต้องมีคนชี้แนะและกระบวนการที่สอดคล้องกับพฤติกรรมมนุษย์ในการสร้าง จึงเกิดการปฏิวัติวงการเปลี่ยนคำว่า Soft Skill เป็น Power Skill จากนี้ไปทักษะนี้จะไม่ “นุ่มนิ่ม” อีกแล้ว แต่เป็นทักษะที่สร้างพลังให้องค์กรอย่างแท้จริงและยั่งยืน   2.งานแห่งอนาคตกับทักษะแบบ Hybrid รายงานของ WEF บอกว่างานแห่งอนาคตจะเปลี่ยนไป โดยมี 97 ล้านตำแหน่งงานใหม่ภายในปี 2025 โดยมีจะวิ่งอยู่ในเรื่องเกี่ยวกับ Big Data, AI and Machine Learning, Process Automation, Digital Marketing, Digital Transformation ซึ่งจะเห็นได้ว่าต้องการการผสมผสานแบบ Hybrid ระหว่าง Technical Skill และ Power Skill เช่น การวิเคราะห์และสร้างสรรค์นวัตกรรม การเรียนรู้ต่อเนื่อง การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ตลอดจนเรื่องภาวะผู้นำ และการนำเทคโนโลยีไปใช้งาน HBR ตีพิมพ์งานเมื่อต้นปี 2021 ว่า ในโลกอนาคตต้องมี 4 Hybrids คือ Talent, Workplace, Culture, Career ซึ่งกล่าวโดยสรุปคือ Hybrid Skill ระหว่าง Technical Skill และ Power Skill คือกุญแจสู่ความสำเร็จ แปลว่าต้องผสมผสาน และในบทความก็ให้น้ำหนัก Power Skill มากกว่าด้วย ผมชอบตรง Talent ว่า ต้องการ Jack of all trades หรือคนที่มีความรู้แบบเป็ด จะมีโอกาสในโลกอนาคตมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากอดีตที่เรามักเน้นให้คนรู้ในทางลึก อย่างไรก็ดี การจะสร้างทักษะ Power Skill เป็นเรื่องสำคัญ และเป็นพื้นฐานขององค์กรในการ Transformation ซึ่งเราทราบดีว่าจะทำให้ Power Skill เกิดได้จริงในการอัพสกิล และรีสกิลก็ไม่ได้ทำได้ง่ายนัก ในตอนถัดไปผมจึงจะไขข้อข้องใจเหล่านี้ต่อในประเด็นที่สาม คือ ศักยภาพที่สร้างได้ สู่การตอบเป้าหมายองค์กร และสี่คือการทำจริงให้ได้ผลในองค์กร ซึ่งจะเข้มข้น เอางานวิจัยมาเล่า แต่อ่านง่ายและมีตัวอย่างจริงที่ประยุกต์ใช้ได้ทันทีเช่นเดิม เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจสู่โลกอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว PacRim Group (www.pacrimgroup.com) ได้นำ Power Skills จาก Partners ระดับโลกทั้ง Franklin Covey, Vital Smarts, GP Strategies และ DPI ร่วมกันทำเนื้อหาเป็นภาษาไทย โดยทีมที่ปรึกษาของบริษัท ในรูปแบบ Live Online ร่วมกับ Micro Learning VDO 2-5 นาที สั้นๆ ดูง่ายๆ กว่า 100 เรื่องครอบคลุมทักษะที่จำเป็น ที่จะช่วยจุดประกาย Mindset และเสริมทักษะ รวมถึงให้ Tips & Tricks เพื่อการใช้เวลาอย่างประหยัดแต่นำไปฝึกฝนใช้ได้จริง ซึ่งหากผู้อ่าน https://forbesthailand.com/ สนใจสามารถติดต่อคุณเบ็ญจวรรณ์  งามระลึก โทร. 083-495-6915 อีเมล:benjawan@pacrimgroup.com หรือคลิกอ่านรายละเอียด https://pacrim.link/Power อ้างอิง -The Hybrid Job Economy: How new Skill is rewriting the DNA of Job market (Burning Glass Technologies) -Harvard Business Review: Thriving in the age of hybrid work  -Let’s Stop Talking About Soft Skills: They’re Power Skills by Josh Bersin  - The Future of Jobs & Jobs of Tomorrow Mapping Opportunity in the New Economy by World Economic Forum

-The Future of Jobs Report 2020

  บทความโดย อภิวัฒน์ ปุญญฤทธิ์ Consultant and Innovation Specialist Info@pacrimgroup.com
ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine