วิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรน่าอาจจะเป็นแค่การอุ่นเครื่องสำหรับประชากรบนโลกนี้ เพราะวิกฤตที่โหดหินกว่ากำลังรอเราอยู่นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ
คนจำนวนมากยังมองว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ที่ถกเถียงในประเด็นที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมพลังงานจากฟอสซิล แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ คือภัยคุกคามความยั่งยืนของมวลมนุษยชาติที่แท้จริง มลภาวะทางอากาศสร้างผลกระทบกับเรามากขึ้นเรื่อยๆ มีประชากรโลกราว 7 ล้านคนต้องตายลงไป ถือเป็นการสูญเสียที่ใหญ่หลวงเมื่อเทียบกับวิกฤตโรคระบาดที่เกี่ยวข้องการระบบทางเดินหายใจที่ผ่านมาอย่างการระบาดของโรคซาร์ส หรือแม้กระทั่งไวรัสโควิด-19 ก็ตาม การผลิตกระแสไฟฟ้าในโลกปัจจุบันมีแหล่งพลังงานมาจากฟอสซิลเป็นหลัก สร้างก๊าซเรือนกระจกราว 25% สู่ชั้นบรรยากาศโลก ขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมและระบบการขนส่ง เป็นอีกกลุ่มที่ผลิตก๊าซเรือนกระจกราว 21% และ 14% ซึ่งการที่จะทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านี้เปลี่ยนมาใช้งาน พลังงานทดแทน เป็นหลักต้องอาศัยกุญแจสำคัญคือแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่สำหรับกักเก็บพลังงานที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนตามที่เราเข้าใจในหลายปีที่ผ่านมา เกิดขึ้นจากเงินสนับสนุนจากรัฐบาล แต่ความจำเป็นทางด้านการเงินเหล่านี้ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในยุคปัจจุบันอีกต่อไปแล้ว เมื่อพลังงานทดแทนเริ่มมีต้นทุนที่ถูกกว่าน้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน และกำลังเปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรมพลังงานในระดับโลก ปี 2019 มีการนำ พลังงานทดแทน ราว 72% เข้ามาเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้า และการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนบางส่วนได้รับผลตอบแทนสูงถึง 800% ทำให้ถ่านหินจะไม่ใช่เครื่องจักรที่ทำเงินอีกต้องไป จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการสร้างสารพิษและก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น ซึ่งการเข้ามาของพลังงานหมุนเวียนอาจส่งให้โครงสร้างพลังงานของประเทศเปลี่ยนไป รวมไปทิศทางโครงสร้างการใช้พลังงานของโลกเช่นกัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือประเทศออสเตรเลียที่ถ่านหินเป็นแหล่งกำเนิดไฟฟ้าของประเทศนี้ รัฐบาลได้ประกาศแนวทางสำคัญในการลดค่าการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลและนำพลังงานทดแทนมาใช้ ซึ่งภายในปี 2040 พลังงานกว่า 90% ของประเทศมาจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์และแรงลม และจะเป็นพลังงานไฟฟ้าพรีสำหรับประชาชน อังกฤษเองทำสถิติ ไม่นำถ่านหินมาเป็นพลังงานติดต่อกัน 23 วัน ขณะที่รัฐขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาอย่างรัฐ Iowa, Virginia กำลังปรับแผนผังด้านพลังงานโดยมุ่งเป้าในการใช้พลังงานทดแทนเป็นหลัก ในสหรัฐอมริกา นโยบายของพรรคเดโมแครต เตรียมนำเสนอแผนลดภาวะโลกร้อนพ่วงไปกับแผนการจัดการไวรัสโคโรน่า โดยอาจจะลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ราว 30 ล้านแผงทั่วประเทศ ขณะที่บริษัทน้ำมันบางแห่งเริ่มลงทุนในแหล่งโซลาร์เซลล์ ซึ่งบางแห่งก็แค่โฆษณาชวนเชื่อ บางแห่งเริ่มเห็นผลกำไรแล้ว แผนภูมิของโลกพลังงานที่กำลังเปลี่ยนไปนี้ ดูเหมือนว่าจำเป็นต้องใช้เงินมูลค่ามหาศาล แต่ในความเป็นจริงแล้วราคาดังกล่าวแสนจะคุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการเผชิญหน้ากับหายนะจากพลังธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นไฟป่า เฮอริเคน ภัยน้ำท่วม และภัยทางธรรมชาติในรูปแบบอื่นๆ และเงินที่ต้องจ่ายในการเยียวยาจำนวนมหาศาล ดังนั้นการนำโครงสร้างเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดภายใต้แผนภูมิโครงการด้านพลังงานทดแทนแบบใหม่เป็นจังหวะอันเหมาะสมที่ต้องบอกลาแหล่งพลังงานแบบเดิมๆ ปรับมายด์เซ็ตใหม่ และนำเรื่องการใช้พลังงานทดแทนเข้ามาเป็นภารกิจสำคัญ เรียงเรียงใหม่จาก In A Post-Pandemic World, Renewable Energy Is The Only Way Forward ที่เผยแพร่บน forbes.com
ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine