เอพี ไทยแลนด์’ รุกสร้างโลกแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี - Forbes Thailand

เอพี ไทยแลนด์’ รุกสร้างโลกแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี

รุก 3 ธุรกิจใหม่ สร้างโลกแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี

การบริหารธุรกิจในยุค Fast - Moving World หรือ ยุคที่โลกหมุนเร็วเปลี่ยนแปลงในทุกๆ วินาทีจนยากจะตั้งหลัก กลายเป็นโจทย์ใหญ่ให้ทุกธุรกิจต้องปรับกระบวนทัพ โชว์กลยุทธ์เพื่อพลิกเกมธุรกิจให้ทันท่วงที ไม่เว้นแม้แต่ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ที่แม้จะไม่ได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption โดยตรง แต่หลายแบรนด์ก็เริ่มลุกขึ้นมาปรับตัวเพื่อนำพาองค์กรให้สามารถโลดแล่นไปกับเกลียวคลื่นแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้ได้

หนึ่งในนั้นก็คือ เอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และนวัตกรรมการอยู่อาศัยของประเทศไทย ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เอพีถือเป็นหนึ่งในยักษ์ใหญ่แห่งวงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีการปรับตัวอย่างแข็งขัน เพื่อก้าวให้ทันกระแสดิจิทัล แต่ทั้งหมดยังไม่พอ สำหรับการยืนหยัดบนแถวหน้าในวงการอสังหาริมทรัพย์ไทย

ดังนั้นในศักราชใหม่นี้ เอพีจึงเดินหน้าประกาศวิสัยทัศน์ครั้งใหญ่ ปรับองค์กรให้เป็นมากกว่าธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ด้วยการเป็นรายแรกที่ริเริ่มสร้างสรรค์โลกแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี ภายใต้แนวคิด AP World, A New Vision of Quality of Life สร้างพิมพ์เขียวแห่งคุณภาพชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า พร้อมเปิดตัว 3 ธุรกิจใหม่นอกธุรกิจอสังหาอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ เอสอีเอซี(SEAC) วาริ (VAARI) และ เคลย์มอร์ (CLAYMORE) มาเสริมทัพ มุ่งสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลกและการเติบโตที่ยั่งยืน ตั้งเป้าภายในปี 2565 ทั้ง 3 ภาคธุรกิจใหม่จะมีส่วนช่วยผลักดันรายได้รวมของเอพีให้เติบโตแบบก้าวกระโดดแตะหลัก 60,000 ล้านบาท

อนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอพี (ไทยแลนด์) เปิดเผยว่า การรับมือ Digital Disruption ต้องทำตั้งแต่วันนี้ อย่ารอให้เกิดผลกระทบก่อน เพราะเมื่อถึงเวลานั้นอาจสายเกินไป ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายใหม่เข้ามามากมายและมีรายเก่าที่ลาจากไปจากการปรับตัวไม่ทัน แต่สำหรับ เอพี นี่คือโอกาสอันดีทางธุรกิจ ถ้าหากสามารถปรับเปลี่ยนให้องค์กรก้าวทันการเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถยืนหยัดได้อย่างแข็งแรง ซึ่งจากผลงานเมื่อปีที่แล้วของเอพีถือเป็นบทพิสูจน์สำคัญที่สะท้อนว่าเอพีมาถูกทาง

หลังจากที่มีการปรับตัวมาได้ 2-3 ปี เอพี มีการเติบโตขึ้นมาอย่างชัดเจน ในปี 2561 ที่ผ่านมาธุรกิจโดยรวมของเอพีเติบโตมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ สามารถสร้างรายได้รวมเติบโตขึ้นประมาณ 30% ไม่ใช่แค่เฉพาะเซ็กเมนต์บ้านเดี่ยวที่รายได้เติบโตถึง 80% แต่โครงการคอนโดมิเนียมและทาวน์โฮมยังโตมากกว่า 30% สะท้อนว่าเราสามารถยืนอย่างแข็งแรงได้ทั้งสามขา ทั้งคอนโดมิเนียม ทาวน์โฮม และบ้านเดี่ยว

อนุพงษ์ ยังเสริมด้วยว่า ปีที่แล้วยังเป็นปีแห่งรางวัล เพราะเอพีสามารถคว้ามาได้ถึง 14 รางวัลทั้งจากเวทีในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ในเครือเอพี ทั้งธุรกิจ Property Agent ภายใต้ชื่อ บีซี (BC) ที่ให้บริการรับฝากขายฝากเช่า อสังหาริมทรัพย์ทุกรูปแบบ มีผลการดำเนินงานที่เติบโตแบบก้าวกระโดด มีอสังหาริมทรัพย์ที่ซื้อ-ขาย-เช่า ผ่านบีซี รวมมูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท ก้าวขึ้นเป็น Property Agent อันดับ 1 ของประเทศ และธุรกิจ Property Management ภายใต้ชื่อ สมาร์ท (SMART) เป็นธุรกิจบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร ด้วยประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ส่งผลให้วันนี้สมาร์ทได้รับความไว้วางใจให้เข้าบริหารจัดการคุณภาพชีวิตในโครงการต่างๆ ที่ไม่ใช่แต่เฉพาะเครือเอพี  กว่า 55,000 ครอบครัว ในกว่า 200 โครงการ สำหรับก้าวต่อไปทั้งสองบริษัท บีซีและสมาร์ท จะยังคงเดินหน้าขยายขอบเขตการให้บริการ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง

ผมมักพูดอยู่เสมอว่า ความสำเร็จคืออดีต แต่เราจะเดินไปข้างหน้าอย่างไรดี ตอนนี้สิ่งที่ผมห่วง มากกว่าคือ อนาคต เมื่อปีที่แล้ว ผมไปเรียน ที่สแตนฟอร์ด ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของซิลิคอน วัลเลย์ เรียนเสร็จกลับมาไทย ผมบอกเลยว่าอยากขอลาออก เพราะเห็นอนาคตของโลกใบนี้แล้วน่ากลัว Digital Disruption จะพาให้เทคโนโลยีก้าวล้ำไปอย่างคาดไม่ถึง จนทำให้เราต้องกลับมานั่งทบทวนว่า กลยุทธ์ที่ วางไว้ปีที่แล้วจะทำให้เราสำเร็จไปได้ในปีต่อไปอีก หรือ จากเดิมที่วิสัยทัศน์เราคือ เป็นผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบพื้นที่เพื่อสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า (Space Expert for Living Satisfaction) มันยังเพียงพอหรือแคบไปแล้ว

จากคำถามตั้งต้นนี้ นำมาสู่การทำวิจัยครั้งใหญ่ เพื่อสำรวจวิสัยทัศน์ของแบรนด์อสังหาริมทรัพย์ทั้งไทยและต่างประเทศว่าเป็นอย่างไร สุดท้ายพบว่า แบรนด์อสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่ยังมองไปที่การสร้างบ้านหรือคอนโดมิเนียมขายเป็นหลัก อาจจะเสริมในส่วนของเซอร์วิชบ้าง แต่ส่วนใหญ่ยังจำกัดอยู่แค่บริการหลังการขาย ซึ่งจริงๆ แล้ว คำว่าเซอร์วิชมีนิยามที่มากกว่านั้น

หลังจากการตั้งคำถาม นำมาสู่การตกผลึก ครั้งสำคัญว่าก้าวต่อไปจากนี้ เอพี จะไม่หยุด อยู่เพียงภาคธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น แต่จะก้าวไปสู่มิติใหม่ในการดำเนินธุรกิจภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ AP World, A New Vision of Quality of Life ซึ่งอนุพงษ์ มองว่าการจะพัฒนาระบบนิเวศใหม่ นำเทคโนโลยีเชื่อมโยงกับการใช้ชีวิตยุคใหม่ ทำวิสัยทัศน์ มอบคุณภาพชีวิตที่ดีที่สุดให้คนในสังคม ให้เป็นจริงได้ ต้องพร้อมเผชิญหน้าและฝ่าด่านความท้าทาย 3 เรื่องต่อไปนี้ ได้แก่ 1. จะนำเทคโนโลยีมาช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ท่ามกลางโลกที่กำลัง ดิสรัปและทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 2. จะรู้จักและพัฒนานวัตกรรมให้สอดคล้องและ ตอบรับกับความต้องการที่ยังไม่ถูกค้นพบที่ แตกต่างกันของคนในสังคมได้อย่างไร และ 3. จะพัฒนาความรู้ ความสามารถของคนในองค์กร และคนในสังคมให้ก้าวทันกระแสดิสรัปชั่นได้อย่างไร

คำตอบที่เอพีค้นพบ คือ การขยายองค์กร สู่ 3 ภาคธุรกิจใหม่ เพื่อช่วยตอบโจทย์และ เติมเต็มให้วิสัยทัศน์ในการมอบคุณภาพชีวิต แก่คนในสังคมให้เป็นผลสำเร็จ อีกทั้งยังช่วย ส่งเสริมให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของเอพีแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ได้แก่ วาริ ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุน การบริหารจัดการคุณภาพชีวิต เคลย์มอร์ ดำเนินธุรกิจสร้างและผลักดันนวัตกรรมดีไซน์ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่ยังไม่ถูกค้นพบ และ เอสอีเอซี ดำเนินธุรกิจในการดิสรัปวิธีการเรียนรู้ของคนในองค์กรและคนในสังคมด้วยกระบวนการใหม่ๆ ผ่านความร่วมมือจากสถาบันระดับโลก

ทั้ง 3 ธุรกิจใหม่จะเป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่ ช่วยเสริมวิสัยทัศน์ในการส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้ประสบความสำเร็จ เคียงคู่ไปกับ Core Business คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และบริษัทในเครือที่จะแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น แทนที่จะเป็นเพียงผู้ส่งมอบที่อยู่อาศัยเพียงเท่านั้น โดยนวัตกรรมหรือระบบ นิเวศต่างๆ ที่ถูกพัฒนาจะเปิดกว้างให้บริการกับ ทุกคนไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นลูกค้าเอพีเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม อนุพงษ์ยังย้ำด้วยว่า การจะรับมือการเปลี่ยนแปลงของ Digital Disruption สิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ คนที่มีแพสชั่น โดยใน 3 ธุรกิจใหม่นี้ได้มีการจัดตั้งทีมทำงานประจำในแต่ละภาคธุรกิจด้วยการผสมผสานความ หลากหลายทางความคิด ทั้งจากคนรุ่นใหม่ และมืออาชีพ ไม่เคยทำงานในวงการอสังหาฯ มาก่อน เพื่อเป็นการไม่จำกัดกรอบความคิดเพียงแค่ในด้านเดียว จากนั้นมีการฝึกให้ทุกคนมีกระบวนความคิดตามหลัก Stanford Design Thinking จากทางมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เพื่อต่อยอดสร้างสรรค์นวัตกรรมสินค้าหรือบริการในบริบทใหม่ๆ โดยมีเป้าหมายคือ การยกระดับรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในสังคมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น

ควมท้ทายของโลก Disrupt ยังคงรอทุกภาคธุรกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่เชื่อว่จากการยกระดับวิสัยทัศน์สู่การส่งมอบคุณภาพชีวิต ของเอพี ไทยแลนด์ในครั้งนี้ จะนำพาสิ่งใหม่ๆ มสู่คนในสังคมเราอย่างแน่นอน

Forbes Thailand ใช้คุ้กกี้บนเว็บไซต์นี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของท่าน ท่านตกลงใช้งานคุ้กกี้เพื่อใช้งานเว็บไซต์ต่อไปนโยบายความเป็นส่วนตัวและนโยบายความการใช้คุกกี้