Mozart Effect: ฟัง Mozart อาจไม่ได้ช่วยให้ฉลาดขึ้น - Forbes Thailand

Mozart Effect: ฟัง Mozart อาจไม่ได้ช่วยให้ฉลาดขึ้น

FORBES THAILAND / ADMIN
01 Nov 2021 | 07:16 PM
READ 1452

Mozart Effect เป็นปรากฏการณ์ที่ใครๆก็เล่าขานกันกว่าว่าการฟังดนตรีของ Mozart มีผลดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทั้งด้านพฤติกรรม และสมรรถภาพในการทำงาน แต่ความจริงมันอาจจะธรรมดากว่าที่เราคิด

Mozart Effect กระแสที่ว่าการฟัง Mozart ส่งผลดีต่อสมอง หรือที่เรียกกันว่า Mozart Effect เริ่มขึ้นเมื่อปี 1993 จากงานวิจัยหนึ่งหน้ากระดาษใน Nature ที่ชื่อว่า “Music and spatial task performance” ซึ่งรายงานผลวิจัยที่ให้นักศึกษา 36 คน มาลองทำโจทย์การให้เหตุผลเชิงปริภูมิหลังจากได้ฟังเพลง ฟังเทปที่มีเสียงผ่อนคลาย และไม่ฟังอะไรเลย ซึ่งผลปรากฏว่ากลุ่มที่ได้ฟังเพลงนั้นทำได้ดีกว่า  มันเป็นงานวิจัยที่น่าสนใจใช่เล่น แต่เมื่อกลายเป็นข่าว งานวิจัยนี้ก็ก็ถูกตีความไปหลากหลาย และเพลงที่เหล่านักศึกษาฟังในงายวิจัย ก็ดันคลิปบทเพลงของ Mozart ที่มีชื่อว่า The Sonata for Two Pianos in D major, K. 448 สั้นๆ 10 นาทีพอดี ดังนั้น เมื่องานวิจัยนี้ได้รับความสนใจจากสำนักข่าว ชื่อของ Mozart ปรากฏอยู่เต็มหัวข่าว เรื่องก็เลยเถิดไปไกลเกินจะควบคุม และเกิดเป็นความเชื่อว่าถ้าฟัง Mozart แล้วจะฉลาดขึ้น หรือว่า Mozart Effect นั่นเอง แต่อย่าลืมเชียวว่า ทั้งหมดนี้มันเกิดจากงานวิจัยเล็กๆ ที่ใช้นักศึกษาเพียง 36 คน หลังจากที่ฟังเพลง พวกเขาก็ทำโจทย์การให้เหตุผลเชิงปริภูมิได้ดีขึ้นเล็กน้อย และบทเพลงที่พวกเขาได้ฟังก็ดันเป็นเพลงของ Mozart ซะงั้น แน่นอนว่าทางฝั่งนักวิจัยเองไม่เคยเคลมว่าเพลงของ Mozart มันวิเศษวิโสอะไร พวกเขาแค่ต้องการเพลงอะไรสักเพลง แล้วพวกเขาก็เลือกบทเพลงที่มีชื่อเสียงของนักประพันธ์ที่เป็นที่รู้จักเท่านั้นเอง ตั้งแต่นั้นมา มีการทดลองมากมายที่แสดงให้เห็นว่าการฟังเพลงช่วยทำให้เราทำงานได้ดีขึ้น และมีผลต่อพฤติกรรมอีกด้วย บ่อยครั้งที่งานวิจัยเหล่านี้ใช้เพลงของ Mozart แต่เหตุผลในการใช้ก็ไม่ใช่เพราะมีสรรพคุณพิเศษอะไร แต่เป็นเพราะเพลงของเขาสามารถเข้าถึงได้ง่าย เป็นสมบัติสาธารณะ เป็นที่รู้จัก และส่วนมากเป็นเพราะใครๆ ก็ต่างใช้เพลงของ ​Mozart ในงานวิจัย เมื่อเร็วๆนี้ มีนักวิจัยกลุ่มหนึ่งได้ศึกษาเรื่องดนตรีและผลกระทบต่อการโอนเอนของร่างกายในโลกเสมือนจริง และพบว่าความดังของเสียงดนตรีไม่ได้ทำให้เราขยับตัวต่างจากเดิมเมื่อใส่แว่น VR แต่ก่อนที่จะทำวิจัยได้ พวกเขาก็ต้องมีเพลงสักเพลง และพวกเขาก็เลือกเพลงซิมโฟนี Jupiter ของ Mozart เพราะงานวิจัยเมื่อปี 2010 ก็ใช้บทเพลงที่ดูเหมือนจะช่วยเราทรงตัวนี้เหมือนกัน ที่เลือกเพลงเดียวกันนั้น ก็เพราะงานวิจัยใหม่นี้ต้องการที่จะมั่นใจว่า เพลงที่พวกเขาเลือกใช้มันมีผลต่อการโอนเอนของร่างกายและการทรงตัวจริงๆ พวกเขาเลยเลือกเพลงของ Mozart เพราะงานวิจัยก่อนหน้านี้ก็ใช้นั้นเอง ในงานวิจัยก่อนหน้า นักวิจัยใช้เพลงตัวอย่าง 4 เพลงเพื่อที่จะสังเกตว่าเพลงมีผลต่อการทรงตัวอย่างไร เพลงที่ทำให้อาสาสมัครทั้ง 12 ทรงตัวได้ดีที่สุดคือคลิปเสียงเพียง 51 วินาทีของเพลง Jupiter ของ Mozart หากเราลองใช้เพลงอื่นๆ ในการทดลอง เราก็จะพบว่าเพลงหนึ่งสามารถช่วยให้เราทรงตัวได้ดีกว่าอีกเพลงหนึ่งเช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงของ Mozart เลย  อีกอย่าง เพลงซิมโฟนี Jupiter ของ Mozart ก็เป็นเพลงที่มีความยาวกว่าครึ่งชั่วโมง บรรเลงโดยวงออร์เคสตราที่มีจังหวะขึ้นลง เครื่องดนตรีในแต่ละท่อนที่แตกต่างไปเรื่อยๆ สรรค์สร้างเสียงที่ต่างกันในแต่ละช่วงเพลง การฟังเพลงนี้เพียงไม่ถึงนาทีโดยที่ไม่รู้ว่าฟังช่วงไหนของเพลงไป เล่นเพลงนี้เร็วแค่ไหน ฟังท่อนที่เครื่องดนตรีไหนเด่น และข้อมูลสำคญอื่นๆ ทำให้การฟังครั้งนี้ก็ไม่ได้มีความหมายสำคัญอะไรนัก มีงานวิจัยที่น่าสนใจจำนวนไม่น้อยที่ศึกษาว่า ​​ดนตรีแนวที่แตกต่างกันไป มีผลต่อเราอย่างไรบ้าง แต่หันมองตัวแปรที่เจาะจงมากขึ้น เพื่อที่จะเข้าใจว่าสมองของเราประมวลเสียงเหล่านี้แบบไหน เช่น เพลงๆนั้นมีเนื้อร้องหรือไม่ จังหวะเป็นแบบไหน แต่ตัวแปรที่ว่าเพลงๆ นั้นเป็นของ Mozart หรือเปล่า ไม่ได้มีความหมายพิเศษอะไรเลย ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่คุณเห็นอะไรก็ตามที่บอกว่าการฟัง Mozart มีผลดีมากมายอย่างคาดไม่ถึง อย่าลืมว่าผลดีนี้ก็มาจากเพลงแนวอื่นๆ ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะฟังเพลงแบบไหนก็มีผลต่อสมองเราทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นเพลงของ Mozart หรอก เพลงของเขามันแค่หาได้ง่าย อยู่ปลายนิ้วมือของเหล่านักวิจัยเท่านั้นเอง แปลและเรียบเรียงโดย ทัตชญา บุษยากิตติกร จากบทความ Mozart Doesn’t Make You Smarter เผยแพร่บน Forbes.com อ่านเพิ่มเติม: BANN at Oak Knoll Napa รีสอร์ตจากฝีมือเชฟไทย ที่ Napa Valley
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine