เมื่อครัวไทย โตไกลไร้ลิมิต - Forbes Thailand

เมื่อครัวไทย โตไกลไร้ลิมิต

FORBES THAILAND / ADMIN
29 Dec 2016 | 01:47 PM
READ 8993

แม้ว่าภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารไทยจะมีสัดส่วนเพียง 8.52% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ทว่า ในทุกยุคสมัย อุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงคนไทยทั้งประเทศ และขยับขยายสู่ทั่วโลกด้วยมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับสองของประเทศ

ทั้งนี้ความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรและวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีจะยังคงส่งเสริมให้อุตสาหกรรมนี้ก้าวไปอีกไกลโพ้นศักยภาพด้านอาหารแปรรูปของไทยที่สามารถติดอันดับหนึ่งในสิบผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกด้วยมูลค่าการส่งออก 1.73 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 6 แสนล้านบาท) หรือคิดเป็นสัดส่วน 3.2% ของมูลค่าการส่งออกอาหารแปรรูประดับโลกในปี 2558 ไม่ว่าจะเป็นกุ้งกระป๋องและแปรรูป ไก่แปรรูป สับปะรดกระป๋อง และข้าวโพดหวานกระป๋อง เป็นต้นโดยตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ขณะที่ เพลินใจ จิระจรัส ผู้อำนวยการสายงานวิจัยและบริการการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ย้ำถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารที่สามารถผลักดันการเติบโตของประเทศ จากมูลค่ารวมของอุตสาหกรรมเกษตรไทยในช่วงครึ่งปีแรกราว 5.97 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8.52% ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ประมาณ 7 ล้านล้านบาท แม้ในรอบครึ่งปีที่ผ่านมาราคาสินค้าเกษตรโดยเฉพาะข้าว ยางพารา รวมถึงปริมาณผลผลิตน้ำตาลและกุ้งจะปรับตัวลดลง ส่งผลให้มูลค่าของอุตสาหกรรมเกษตรของไทยปรับตัวลดลง 2.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่ 6.1 แสนล้านบาท แต่มูลค่าการส่งออกของสินค้าในอุตสาหกรรมดังกล่าวยังคงมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อน GDP ของประเทศด้วยมูลค่า 6.36 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 17.1% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทยที่ 3.72 ล้านล้านบาทหรือ 9.1% ของ GDP ประเทศ นอกจากนั้น อุตสาหกรรมเกษตรยังคงมีความสำคัญต่อประเทศมากกว่าอุตสาหกรรมนอกภาคการเกษตร ในด้านการใช้พื้นที่ของประชากรในภาคการเกษตรที่มีอยู่ราว 38.6% ของประชากรทั่วประเทศ โดยใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์ทางการเกษตรคิดเป็น 46% จากจำนวนที่ดิน 320.7 ล้านไร่ สะท้อนถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานในภาคการโดยมักจะเริ่มต้นจากการจำหน่ายสุกรมีชีวิตสำรับตลาดสด และพัฒนาเข้าสู่ตลาดโมเดิร์นเทรดมากขึ้นในระยะหลัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์สินค้าที่มีอนามัย และเพิ่มมูลค่าสินค้ามากขึ้น ขณะที่อุตสาหกรรมไก่เผชิญหน้ากับคู่แข่งขันน้อยรายกว่า แต่ผู้ประกอบการยังต้องรับมือกับการแข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะสงครามราคาจากผู้ประกอบการหน้าใหม่อย่าง บริษัท BRF ผู้เลี้ยงไก่และส่งออกรายใหญ่ของบราซิลที่เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งทางการตลาดในประเทศ รวมถึงความกดดันด้านราคาต้นทุนจากประเทศบราซิลและสหรัฐอเมริกาที่ถือแต้มต่อด้านผลผลิตถั่วเหลืองและข้าวโพดที่เพียงพอกว่าประเทศไทยที่ต้องนำเข้าถั่วเหลือง ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงไก่ของไทยสูงกว่าบราซิลและสหรัฐฯ ราว 10% อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการส่งออกของอุตสาหกรรมไก่น่าจะสามารถเติบโตได้ในระดับ 3% เป็น 7 แสนตัน โดยมีประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ ประเทศในกลุ่มยุโรปและญี่ปุ่น พร้อมเพิ่มกำลังการผลิตจำนวน 1.88 ล้านตันในปีนี้ หรือเพิ่มขึ้น 4.8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และการบริโภคประมาณ 1.26 ล้านตันหรือเพิ่มขึ้น 5.5% จากปีที่แล้ว ด้วยจุดเด่นด้านคุณภาพของสินค้าไทย และปริมาณการส่งออกไก่แปรรูปเป็นหลักคิดเป็น 70% และมูลค่าการส่งออกไก่ 81% ของการส่งออกไก่ทั้งหมดในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ รวมถึงปัจจัยสนับสนุนในประเทศ ได้แก่ กำลังซื้อและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมถึงราคาขายจำนวน 38 บาท/กิโลกรัม ซึ่งยังคงมากกว่าต้นทุนการเลี้ยงที่ 36-37 บาท/กิโลกรัม อย่างไรก็ดี เพลินใจให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการกำหนดค่าอากรการฆ่าและค่าธรรมเนียมโรงฆ่าสัตว์ในอุตสาหกรรมไก่อันได้แก่ ค่าอากร 0.20 บาท/ตัว และค่าธรรมเนียม 0.20 บาท/ตัว รวมคิดเป็น 0.40 บาท/ตัว หรือ 0.42% ของราคาไก่หน้าฟาร์มว่า “พ.ร.บ.ควบคุมการฆ่าสัตว์ที่ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 26 กันยายนในปีนี้ ไม่น่าจะมีนัยสำคัญต่อผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ประกอบการน่าจะสามารถปรับในราคาขายไก่ได้ ขณะที่ผู้ส่งออกไก่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายอากร ดังนั้นความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไก่จึงไม่เปลี่ยนแปลงไปจากก่อนหน้านี้” จากการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงทั้งในประเทศและการส่งออกไปยังต่างประเทศผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารจำเป็นต้องเน้นการเพิ่มมูลค่าสินค้าเช่น สินค้าแปรรูปและอาหารพร้อมรับประทาน โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่ผู้บริโภคมีกำลังซื้อ ได้แก่ อาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารออร์แกนิค ไม่ว่าจะเป็น อาหารสัตว์เนื้อสัตว์ หรืออาหารแปรรูป ซึ่งมีโอกาสเติบโตสร้างรายได้จำนวนมากสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ “ถ้าเป็นประเทศกำลังพัฒนาต้องเน้นการขายอาหารสัตว์ ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว ผู้บริโภคมีกำลังซื้อและใส่ใจสุขภาพดังนั้นอาหารแปรรูปที่เป็นอาหารออแกนิคและอาหารสุขภาพน่าจะทำตลาดได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากเป็นอาหารแปรรูปแบบทั่วไป อาจต้องเจาะตลาดเพิ่มนอกเหนือไปจากตลาดหลักได้แก่ ยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น”
คลิกอ่านฉบับเต็ม "เมื่อครัวไทย โตไกลไรลิมิต" ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ NOVEMBER 2016 ในรูปแบบ e-Magazine