สมาคมธุรกิจเพื่อสังคม บ้านหลังใหม่ของคนทำงานกับสังคม - Forbes Thailand

สมาคมธุรกิจเพื่อสังคม บ้านหลังใหม่ของคนทำงานกับสังคม

สมาคมธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise Thailand Association: SE Thailand) จัดงานเปิดตัวสมาคมฯ อย่างเป็นทางการ เพื่อรวบรวมผู้ที่เรียกตนเองว่า “ผู้ประกอบการเพื่อสังคม” รวมถึงหน่วยงานทุกภาคส่วนที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมให้ “ธุรกิจเพื่อชุมชน” หรือ “Social Enterprise” ในประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืน

หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ในฐานะ นายกสมาคมธุรกิจเพื่อสังคม คนแรก ได้เริ่มต้นกล่าวถึงการมาของ “สมาคม SE ประเทศไทย” ซึ่งเกิดจากเครือข่ายผู้ประกอบการทางสังคมและองค์กรที่ทำงานในการส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมซึ่งได้รวมกลุ่มกันเมื่อปี 2560 เพื่อรวบรวมความเห็นต่อ พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม นำเสนอต่อผู้ร่างกฎหมาย จากจุดเริ่มต้นดังกล่าว ได้เกิดเป็นแนวคิดในการสร้างองค์กรที่มีฐานสมาชิกเป็นธุรกิจเพื่อสังคมและผู้ประกอบการทางสังคมขึ้นเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในขณะที่ประเทศไทยกลุ่มผู้ประกอบทางสังคมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่การรวมกลุ่มกันอย่างเป็นทางการเพื่อยื่นมือให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน แบ่งปั่นประสบการณ์ “ถ้ามองออกไปนอกประเทศ องค์กรที่เป็นต้นแบบที่ดี อย่าง SEUK ของสหราชอาณาจักร Social Enterprise Alliance ของสหรัฐอเมริกา หรือ raiSE ของสิงคโปร์ องค์กรเหล่านี้มีส่วนสำคัญอย่างมากในการผลักดันธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise ให้มีพลัง ซึ่งวันนี้ SE ประเทศไทย ได้ก่อตัวขึ้นและหวังว่าเป็นองค์กรกลางที่ดีและช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อสังคมได้เป็นอย่างดี” หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล กล่าวทิ้งท้ายการเปิดสมาคม SE ประเทศไทย ถึง 3 พันธกิจหลักสำคัญคือ Connect, Communicate, Catalyze “พันธกิจ 3 ประการคือการสร้างคือการเชื่อมโยง สื่อสาร และผลักดันนโยบาย ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับชุมชน สร้างความเข้าใจอันถูกต้องที่มีต่อธุรกิจเพื่อสังคมกับสาธารณชน และร่วมกันผลักดันนโยบายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเพื่อสังคมให้มีประสิทธิภาพ” ทั้งนี้ สมาคมธุรกิจเพื่อสังคม  หรือ SE ประเทศไทย เริ่มก่อตั้งเมื่อมกราคม 2562 โดยมีกลุ่มสมาชิกตั้งต้น 13 องค์กร อาทิ บริษัท สยามออร์แกนิค, บริษัท แจสเบอร์รี่ มูลนิธิฟ้าหลวงฯ เป็นต้น
คณะกรรมการสมาคมธุรกิจเพื่อสังคม (SE Thailand)

เสวนา “Connecting the Two Worlds”

กฤษดา แสงไชยวุฒิกุล หนึ่งในกรรมการ สมาคม SE ประเทศไทย ร่วมเป็นหนึ่งผู้เสวนาในหัวข้อ Connecting the Two Worlds: ก้าวต่อไปของบริษัทเอกชนและธุรกิจเพื่อสังคมสู่กระทบทางสังคมที่ดีกว่าเดิม  โดย มีตัวแทนจากสมาคมและพันธมิตรอีก 5 ท่าน ร่วมการเสวนา การเสวนาเริ่มต้นในการให้ความนิยมโลกสองใบระหว่าง “โลกการทำธุรกิจ” และ “โลกการสร้างประโยชน์ในชุมชน” ในอดีตมีความเชื่อว่าขนาดขององค์กรมีสำคัญในการดึงทรัพยากรจากธรรมชาติไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ก่อให้ก่อความเปลี่ยนแปลงด้านสภาพแวดล้อมและสะสมปัญหาด้านมลพิษจนเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก ซึ่งวิวัฒนาการในการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมในหลายภาคส่วนของประเทศไทยถูกพัฒนาไล่เรียงตั้งแต่การทำกิจกรรมเพื่อสังคม อาทิ ปลูกต้นไม้ เก็บขยะ การบริจาคสิ่งของ จนกระทั่งปัจจุบัน เกิดเป็นการทำงานระหว่างท้องถิ่นร่วมกันและพัฒนาสู่การสร้างสรรค์สังคมอย่างยั่งยืน บริษัทชั้นนำประเทศไทยสนใจในการสร้างสังคมคุณภาพร่วมกันมาขึ้น ในขณะที่อาสาสมัครหรือกลุ่มรักสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนก็ขยายตัวมากขึ้นจนกระทั่งเกิดเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคมมากขึ้นในสังคม สำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ ในนิยาม ธุรกิจหรือกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise) ว่า กิจการที่มีจุดหมายหลักในการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้กลไกการบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจ บวกกับความรู้ และนวัตกรรมสังคม มีความยั่งยืนทางการเงินจากรายได้หลักที่มาจากสินค้าหรือบริการโดยไม่ต้องพึ่งเงินบริจาค และมีการนำผลกำไรที่เกิดขึ้นไปลงทุนซ้ำเพื่อขยายผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้น อรอุมา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานสื่อสารองค์กรและการพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด หรือ dtac ในทุกๆ ปีของการจัด dtac accelerate batch ที่เฟ้นหากลุ่มเทคสตาร์ทอัพมาโดยตลอด ซึ่ง 1 ใน 4 ผู้ชนะมักจะเป็น Social Enterprise ด้วยตัวเขาเองอยู่แล้ว สิ่งที่ยังเป็นจุดอ่อนของเขา คือทำอย่างไรให้สามารถใช้ต้นทุนที่ต่ำสร้างประสิทธิภาพได้สูงสุด และทำอย่างไรให้ธุรกิจของเขาสามารถขยายเป็นโมเดลธุรกิจที่แข็งแกร่งได้อย่างแท้จริง “ไม่ใช่บริษัทขนาดใหญ่ที่เป็นฝ่ายให้เรื่ององค์ความรู้เพียงอย่างเดียว ล่าสุดเรากำลังทำโปรแกรมที่ชื่อว่า Saving the Internet เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมของเด็กยุคใหม่ในการใช้อินเตอร์ เราไม่มีทางที่จะไปควานหาและเข้าถึงกลุ่มครูและนักเรียนจำนวนมากได้ ถ้าเราไม่ไปร่วมมือกับ Saturday School  เนื่องจากจุดแข็งของ SE คือการเข้าถึงเน็ตเวิร์คที่แข็งแกร่งได้มากกว่าใคร” การที่ dtac เข้ามามีส่วนร่วมกับ SE ประเทศไทย เพื่อหวังเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนและให้คำแนะนำ เรามองว่า SE ประเทศไทยเป็นแพลตฟอร์มสำคัญให้กับบริษัทใหญ่ๆ ได้พบเห็นเกิดความร่วมมือร่วมกันและความช่วยเหลือในจุดที่ผู้ประกอบการเพื่อสังคมยังอ่อนแออยู่ ด้าน นสิทธิ์ ว่องธวัชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาลสู่ความยั่งยืน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เผยว่า ปัญหาสำคัญข้อหนึ่งของธุรกิจเพื่อสังคมคือการเข้าถึงด้านการเงิน รวมถึงการให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการทางการเงิน ธนาคารเองยินดีให้คำปรึกษาทางด้านการเงินกับสมาชิก SE ประเทศไทย “สำหรับในต่างประเทศแทรนด์ในการระดมทุนผ่าน Green Bond (พันธบัตรสีเขียว) หรือ (Social Bond) พันธบัตรเพื่อสังคม เป็นการระดมทุนจากนักลงทุนที่ไม่ได้ต้องการแค่เฉพาะดอกเบี้ยที่เป็นตัวเลข แต่อยากเห็นเงินลงทุนของเขาไปลงทุนในกลุ่ม Social Bond บ้าง ทั้งนี้ธนาคารกรุงศรีฯ เองมีแผนที่ออกกองทุนเหล่านี้เช่นกันต้องติดตาม”
นิกม์ พิศลยบุตร รองผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นิกม์ พิศลยบุตร รองผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าศศินทร์ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือกับกลุ่ม Social Enterprise มาด้วยตลอด หลายท่านในที่นี้อาจจะคิดว่าศศินทร์ฯ มีธุรกิจใหญ่ๆ แต่จริงๆ และเป้าภารกิจของศศินทร์ทั้งหมดคือ "เพื่อความยั่งยืน" "การที่เป็นสถาบันแนวหน้าของประเทศและอาเซียน ศศินทร์ มีความรับผิดชอบในการในความรู้ คำแนะนำ แรงบันดาลใจให้กับนิสิต ที่เข้ามาเรียนไม่ใช่แค่หาแต่เงิน ซึ่งเราเริ่มทำมาตั้งปี 2009-10 หลักสูตร MBA เรามีวิชาบังคับที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืน เพราะเราเชื่อมั่นว่านี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทำธุรกิจ  นิสิตเราเองมีความสนใจทางด้านนี้อย่างกลุ่ม "สยามออแกนนิค" เกิดที่ศศินทร์ ในห้องเรียนของศศินทร์ เมื่อปี 2009-10 จนเติบใหญ่ในปัจจุบัน" ศศินทร์เองยินดีช่วยสร้างบิสสิเนสโมเดลให้กับธุรกิจเพื่อสังคมในแง่มุมต่างๆ ที่พอช่วยเหลือได้ ปกติแล้วนิสิตของเราร่วมให้คำปรึกษากับธุรกิจเพื่อสังคม เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรที่เราบรรจุไว้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนและจะมีอะไรสำคัญไปกว่าการให้ความรู้กับผู้ประกอบการที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม “ถ้าคุณทำธุรกิจคุณต้องมีกำไร ไม่งั้นไม่ใช่ธุรกิจ เพราะความยั่งยืนขาข้างสำคัญคือความมั่นคงทางด้านการเงิน บิสสิเนสโมเดลจึงต้องเอื้อในทุกแง่มุมของการประกอบธุรกิจ เพราะเราไม่ได้ยื่นในภาคการกุศล”
จอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์
ด้าน จอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ทิ้งท้ายการเสวนา โดยกล่าวย้อนกลับไปราว 5 ปีที่ผ่านมา หลัง ศุภชัย เจียรวนนท์ รับไม้ต่อจาก ธนินท์ เจียรวนนท์ ในการดูแล เครือเจริญโภคภัณฑ์ ศุภชัย คือการเรียกประชุมระดับหัวหน้าราว 500 คน พร้อมกันจากทั่วโลกเพื่อพูดเรื่องเดียว คือ “เราจะดูแลสังคมและธุรกิจคู่ไปกับสังคมและสิ่งแวดล้อม” “มีการกำหนดนโยบายด้านความยั่งยืน เรื่องเศรษฐกิจ 4 เรื่องหลัก การดูแลสังคม ชุมชน 4 เรื่องหลัก เรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนอีก 4 เรื่องหลัก และประกาศเป็นนโยบายที่ใช้ทั่วทั้งองค์กรในจำนวนพนักงาน 300,000 คนทั่วโลก อยู่ในประเทศไทยราว 60 % ซึ่งตลอด 4-5 ปีที่ผ่านมางานส่วนใหญ่ที่เราทำมุ่งเน้นไปที่งานด้านความยั่งยืน” “เรื่องความยั่งยืนเมื่อเราลงมือทำจริงจังและลงลึก ก็ต้องได้รับการอุ้มชูจากภาคธุรกิจ วันนี้ ซีพีได้ยกระดับเรื่องความยั่งยืนให้เป็นธุรกิจเพื่อสังคม โดยมีการตั้งบริษัทย่อยที่ชื่อ CSE ที่ย่อมาจาก Community Social Enterprise โดยคุณศุภชัยเป็นประธาน ขับเคลื่อนงานในหลายๆ ภาคทั้งอย่างภาคเหนือและภาคอีสานในการช่วยเหลือเกษตรกร ในภาคใต้และชายแดนติดกับประเทศเมียนมาในด้วยการนำใช้เศรษฐกิจนำ”