AppsFlyer เผยสถิติการเติบโตของ "แอปฯ การเงิน" ในไทย - Forbes Thailand

AppsFlyer เผยสถิติการเติบโตของ "แอปฯ การเงิน" ในไทย

FORBES THAILAND / ADMIN
22 Jun 2021 | 05:32 PM
READ 1948

AppsFlyer ผู้นำระดับโลกด้านการกำหนดแหล่งที่มาของข้อมูล เปิดเผยรายงานประจำปี 2564 เกี่ยวกับการ สถิติและการใช้จ่ายด้านการทำตลาดแอปฯ การเงิน ในประเทศไทย

AppsFlyer เผยข้อมูลสำคัญ จาก State of Finance App Marketing report รายงานประจำปี 2564 ที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านการทำตลาดแอปฯ การเงินในประเทศไทย โดยมีหนึ่งในประเด็นที่สำคัญอันได้แก่ การติดตั้งแอปฯ แบบนอนออแกนิค (NOI) ที่ไม่สมสัดส่วนกันกับค่าใช้จ่ายด้านการตลาด การเปรียบเทียบดังกล่าว นับตั้งแต่ไตรมาสแรกในปี 2563 ถึง ไตรมาสแรกปี 2564 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการใช้จ่ายในการทำตลาดเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 แต่มีการติดตั้งแอปฯ การเงินแบบนอนออแกนิคเพิ่มมากขึ้นถึงสองเท่าที่ร้อยละ 56 ตัวเลขดังกล่าวเป็นผลมาจากความต้องการแอปฯ ฟินเทคในประเทศไทย ซึ่งพุ่งสูงขึ้นร้อยละ 64 ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้แล้วมีจุดที่น่าสนใจ คือ ในช่วงล็อคดาวน์ในไตรมาส 2 ปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ความต้องการของผู้บริโภคไม่ตกลงเลย แต่กลับมีความต้องการแอปฯ ฟินเทคเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนร้อยละ 9 รายงานการทำตลาดแอปฯ การเงิน ประจำปี 2564 ของ AppsFlyer เก็บข้อมูลการติดตั้งแอปพลิเคชั่นเป็นจำนวน 2.7 พันล้านครั้งในเอเชียแปซิฟิค ในช่วงระหว่างไตรมาสแรก ปี 2560 โดยไตรมาสแรกปี 2564 มีการติดตั้งเป็นจำนวน 4.7 พันล้านครั้งทั่วโลก โดยรายงานดังกล่าวได้วิเคราะห์ออกมาว่ามีการติดตั้งแบบนอนออแกนิค เป็นจำนวน 600 ล้านครั้ง จาก 1,230 แอปพลิเคชั่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย และเวียดนาม โดยแอปฯ การเงิน แบ่งออกเป็นหลายหมวดหมู่ ประกอบด้วย ธนาคารดิจิทัล (Digital Banks), ธนาคาร (Traditional Banks), บริการทางการเงิน (Financial Services), การกู้ยืม (Loans) และ การลงทุน (Investments) แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วค่าใช้จ่ายด้านการตลาดที่สูงขึ้นจะผลักดันฐานผู้ใช้งานจากนอนออแกนิค แต่ก็ไม่ใช่กรณีนี้ในช่วงล็อกดาวน์ในไทย จากรายงานระบุว่าประเทศไทยมียอดผู้ใช้งานจากนอนออแกนิคเติบโตขึ้นร้อยละ 32 (จาก 13.9 เป็น 18.3) ในช่วงระหว่างไตรมาสสอง – ไตรมาสสาม ในปี 2563 แม้ว่าค่าใช้จ่ายด้านการตลาดจะลดลงในช่วงเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ดี นักการตลาดในไทยก็ระมัดระวังมากขึ้นเช่นกัน และเลือกที่จะทำรีมาร์เก็ตติ้งมากขึ้นและหาผู้ใช้ใหม่ ภายหลังปิดล็อกดาวน์ เพื่อให้ทันกับความต้องการแอปฯ ฟินเทค ที่เพิ่มขึ้น นักการตลาดชาวไทยได้เพิ่มงบใช้จ่ายในการทำตลาดโดยรวมเป็นร้อยละ 94 โรนีน เมนส์ กรรมการผู้จัดการ และประธาน AppsFlyer กล่าวว่า “ปี 2563 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อวิธีดำเนินธุรกิจ และวิธีการที่ผู้บริโภคตอบสนองและดำเนินการ ภาคส่วนฟินเทคได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเร่งการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดที่กำลังพัฒนาซึ่งหลายแห่งเป็นกลุ่มฐานลูกค้าที่ไม่มีบัญชีธนาคาร หรือไม่มีหลักฐานสำหรับการกู้ยืมเงิน แม้ว่าประเทศไทยจะประสบความสำเร็จตลอดช่วงการระบาดใหญ่ทั่วโลก แต่นักการตลาดควรให้ความสำคัญกับการตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นนี้ โดยการทำแคมเปญรีมาร์เก็ตติ้งและการสร้างฐานผู้ใช้เพื่อให้ประสบความสำเร็จท่ามกลางการแข่งขันรอบด้าน” โดยรวมแล้ว นักการตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้จ่ายไปทั้งสิ้น 244 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (หรือคิดเป็นเงินไทยราว 7,320 ล้านบาท) ลงทุนในแอปฯ ฟินเทค เพื่อให้ได้ลูกค้าใหม่ในปี 2563 ที่ผ่านมาซึ่งคิดเป็นยอดการใช้จ่ายร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับตลาดโลก รายงานดังกล่าวยังได้บอกเหตุผลว่าทำไมแอปฯ การเงินจึงมีความต้องการสูงในไทย เพราะผู้บริโภคชาวไทยเข้าสู่วิถีชีวิตแห่งฟินเทค ใช้งานแอปการเงินบนมือถือหลากหลายประเภท โดยแอปด้านการลงทุนเป็นแอปฯ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดร้อยละร้อยละ 31 แอปฯ กู้ยืมเงิน และการบริการการเงิน ซึ่งรวมแอปการชำระเงินผ่านโมบายเพย์เม้นท์ และแอปฯ เครดิตการ์ด ด้วยสัดส่วนใกล้เคียงกันที่ร้อยละ 25 และ 24 ตามลำดับ หากกล่าวถึงการฉ้อฉลทางไซเบอร์ อัตราส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงสูง แม้ว่าตัวเลขจะดีขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรก ปี 2563 - 2564 การฉ้อฉลทางไซเบอร์ลดลงร้อยละ 20 อันเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญของโซลูชั่นด้านการต่อต้านการฉ้อโกงทางไซเบอร์ (anti-fraud) นักการตลาดในภูมิภาคเองก็พยายามต่อสู้กับภัยร้ายนี้ จากรายงานของ AppsFlyer ได้แสดงให้เห็นว่าสัดส่วนการฉ้อฉลของแอปฟินเทคในไทยลดลง โดยแอปฯ บริการทางการเงินลดลงร้อยละ 48 แอปการลงทุนลดลงร้อยละ 36 ในขณะที่แอปกู้เงินลดลงร้อยละ 33 อ่านเพิ่มเติม: ปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล ภารกิจติดสปีด “เงินติดล้อ” ผงาดในอาเซียน
ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine