‘ฟู้ดอโมเม้นท์’ ปรับทัพรุกแผนพาแบรนด์ “ลูกชิ้นจัง” เข้า mai - Forbes Thailand

‘ฟู้ดอโมเม้นท์’ ปรับทัพรุกแผนพาแบรนด์ “ลูกชิ้นจัง” เข้า mai

PR / PR NEWS
22 Jun 2020 | 04:00 PM
READ 4413

‘ฟู้ดอโมเม้นท์’ เจ้าของแบรนด์ “ลูกชิ้นจัง” แฟรนไชส์ลูกชิ้นทอดรายแรกของไทย เผยวิสัยทัศน์ปรับแผนธุรกิจครั้งใหญ่รับโอกาสตลาดเติบโต เล็งปูทางเข้าตลาดหลักทรัพย์ mai รองรับแผนขยายสาขา 1,000 แห่ง พร้อมต่อยอดพัฒนาสินค้าและบริการครบครัน ตั้งเป้าดันยอดขายโต 300 ล้านบาท

เจตุบัญชา อำรุงจิตชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟู้ดอโมเม้นท์ จํากัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ริเริ่มทำธุรกิจแฟรนไชส์สตรีทฟู้ดหรือผลิตภัณฑ์อาหารทานเล่นมาตั้งแต่ปี 2551 นำร่องด้วยการสร้างแบรนด์ “ลูกชิ้นจัง” ซึ่งเป็นแฟรนไชส์ลูกชิ้นทอดรายแรกในตลาดเมืองไทย โดยสั่งสมประสบการณ์และความเชี่ยวชาญจากธุรกิจของครอบครัวที่เปิดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับลูกชิ้นมานานกว่า 30 ปี ประกอบกับการได้ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและแนวโน้มความต้องการของตลาดที่เติบโตขึ้น ขณะที่การแข่งขันยังคงไม่สูงนักเพราะมีคู่แข่งน้อยราย ถือเป็นโอกาสที่ผลักดันให้เกิดการต่อยอดสู่ธุรกิจแฟรนไชส์ลูกชิ้นทอด โดยชูจุดแข็งในด้านผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความหลากหลาย รวมถึงระบบการคัดเลือกและบริหารร้านแฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐานเดียวกันทุกร้าน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์สินค้าแก่ผู้บริโภค ควบคู่ไปกับการสร้างความแข็งแกร่งให้กับช่องทางการจัดจำหน่ายของพันธมิตรทางธุรกิจ “ปัจจุบันแฟรนไชส์ลูกชิ้นจังมีสาขามากถึง 600 สาขา ครอบคลุมทั้งในห้างสรรพสินค้าชั้นนำและแหล่งชุมชนในจังหวัดต่างๆ อีกทั้ง ยังมีร้านสาขาในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. และห้างสรรพสินค้าถึง 80 สาขา โดยเป็นสาขาที่อยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทฯ มากถึง 30 สาขา เพื่อเป็นสาขานำร่องในการทำตลาดสินค้าใหม่ให้เข้าถึงลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ผ่านมา บริษัทฯ สามารถสร้างยอดขายผ่านสาขาร้านแฟรนไชส์และสาขาของบริษัทที่ตั้งอยู่ในสถานบริการน้ำมัน ปตท. ได้ถึง 100 ล้านบาทต่อปี” เจตุบัญชากล่าว สำหรับแผนต่อไปในการขยายธุรกิจของ ‘ฟู้ดอโมเม้นท์’ ให้เติบโตขึ้น เจตุบัญชา เผยว่า จากภาพรวมตลาดของทานเล่นในประเทศไทยที่มีมูลค่าประมาณ 3.8 หมื่นล้านบาท และยังคงมีแนวโน้มเติบโตขึ้นร้อยละ 2-3 ต่อปี  ถือเป็นโอกาสที่บริษัทฯ ต้องเร่งวางแผนการดำเนินงานทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อขยายแฟรนไชส์ลูกชิ้นจังเพิ่มจาก 600 สาขา เป็น 1,000 สาขา โดยให้ความสำคัญกับการเปิดสาขาในสถานีบริการน้ำมัน ปตท. เป็นหลัก ด้วยแนวคิด “การอยู่คู่นักเดินทาง” เพื่อขยายฐานลูกค้าเจาะกลุ่มนักเดินทางเพิ่มมากขึ้น โดยบริษัทฯ จะดำเนินการบริหารงานเพื่อควบคุมดูแลคุณภาพสินค้าและบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด นอกจากนี้ ยังปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจเชิงรุก เน้นความต้องการและการดูแลลูกค้าเป็นหลัก เตรียมแตกไลน์สินค้าและบริการใหม่รองรับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุค New Normal ด้วยการเปิด Co-Kitchen Space เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นจากการที่เล็งเห็นร้านสตรีทฟู้ดของผู้เล่นหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้ามาในตลาด ว่ายังขาดประสบการณ์ด้านการวางแผนธุรกิจให้ครอบคลุมพื้นที่เพื่อจัดส่ง Delivery ให้กับร้านค้าของตนเอง การมี Co-Kitchen Space จะช่วยตอบโจทย์ปัญหาพวกนี้ได้ เพราะจะเป็นการแบ่งปันทรัพยากรที่จำเป็นร่วมกัน เพื่อลดต้นทุนในการขยายสาขา เช่น ค่าที่ ค่าพนักงาน และมีระบบ POS Delivery มาช่วยสร้างยอดขายได้อย่างครอบคลุมอีกด้วย และเปิดบริการ Food Platform แหล่งรวมร้านค้าผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อเชื่อมต่อธุรกิจให้ง่ายขึ้น ลูกค้าสามารถค้นหาและส่งซื้อสินค้าได้สะดวกสบายผ่าน www.lookchinjung.com  และ www.foodamoment.com โดยบริษัทฯ จะอำนวยความสะดวกด้านการประสานงาน ติดต่อโรงงานและซัพพลายเออร์ รวมถึงจัดโปรร่วมกัน (Collaboration) ผ่านช่องทางแฟนเพจ foodamoment อีกหนึ่งแผนงานที่มีการปรับตัวในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา คือ บริษัทฯ ได้ตั้งหน่วยธุรกิจใหม่เพื่อบริหารจัดการเรื่องเดลิเวอรี่โดยเฉพาะ เนื่องจากสถานการณ์ช่วงการล็อกดาวน์ส่งผลให้ประชาชนไม่ได้ออกจากบ้าน ทำให้ยอดขายผ่านช่องทางปกติลดลง แต่ยอดขายจากการส่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ (Delivery) เพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 20% พร้อมเตรียมเปิดสาขาเรือธง (Flagship Store) ในจุดที่สำคัญทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อจัดจำหน่ายเครื่องดื่มและลูกชิ้นทอดในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ให้กับลูกค้า (User Experience) และดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ เข้ามาสู่แบรนด์มากขึ้น และยังเป็นศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) ไปยังสาขาในแต่ละจังหวัด เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งโดยตรงจากสำนักงานใหญ่อีกด้วย ในส่วนของโครงสร้างการทำงานได้มีการปรับการดำเนินการจากเดิมที่เป็นแบบ Top Down คือผู้บริหารจะเป็นผู้ริเริ่มในการเปลี่ยนแปลง แล้วค่อยถ่ายทอดไปยังพนักงาน โดยเปลี่ยนเป็น Bottom – Up Change คือ ให้พนักงานมีส่วนร่วมและรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ รวมทั้งจัดสิ่งแวดล้อมการทำงานที่เอื้อให้พนักงานได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันไอเดียการทําธุรกิจใหม่ๆ เพื่อต่อยอดไปสู่การเพิ่มยอดขายและสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับองค์กรได้ดีที่สุด สำหรับแผนในระยะยาวนั้น บริษัทกำลังเตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai เพื่อเปิดโอกาสในการแสวงหาพันธมิตรทางธุรกิจที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งรองรับแผนขยายธุรกิจและยกระดับสตรีทฟู้ด (Street Food) ของประเทศไทยให้ก้าวไปสู่ระดับสากล โดยตั้งเป้าหมายขยายฐานลูกค้านักเดินทางทั้งชาวไทยและต่างประเทศ เพื่อผลักดันยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 300 ล้านบาท ภายใน 3 ปี หรือมียอดขายรวม 300-400 ล้านบาทต่อปี คิดเป็นสัดส่วน 30% ของมูลค่าตลาดลูกชิ้นทอด 1,000 ล้านบาท “ปัจจุบันมีผู้เล่นในตลาดลูกชิ้นทอดเป็นจำนวนมาก ทั้งในรูปแบบแบรนด์และไม่มีแบรนด์ ซึ่งในรูปแบบแบรนด์นั้นมีเพียงไม่กี่รายที่ยังดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ได้ โดยจะต้องอาศัยความรู้ ประสบการณ์ วิธีการปรับตัวและรับมือกับลูกค้าและคู่ค้า ซึ่งจากประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจลูกชิ้นทอดมากว่า 17 ปี จึงมั่นใจว่าจะสามารถนำพาธุรกิจได้อย่างมั่นคง แข็งแกร่ง พร้อมเติบโตไปกับพันธมิตรทางธุรกิจอย่างยั่งยืน” เจตุบัญชากล่าว อ่านเพิ่มเติม: วัชชระ ชินเศรษฐวงศ์ กระดาษคราฟต์ ต้นน้ำนำ “UTP” ฝ่าวิกฤต