นีลเส็น ประเทศไทย เปิดเผย 3 เทรนด์ผู้บริโภคยุคดิจิทัล ในประเทศไทย ช้อปปิ้งออนไลน์เติบโตก้าวกระโดด ร้อยละ 38 ซื้อสินค้าทันทีหลังเห็นโฆษณาออนไลน์ แต่แบรนด์ต้องเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค



โฆษณาถูกจุด ผลลัพธ์เกินคาด
รัญชิตา กล่าวด้วยว่า การขยายตัวของธุรกิจออนไลน์ ส่งผลต่ออุตสาหกรรมโฆษณาเช่นเดียวกัน โดยแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ หรือ มาร์เก็ตเพลส อย่างช้อปปี้ ลาซาด้า และอาลีบาบา ใช้งบโฆษณาสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของการใช้งบโฆษณาโดยรวมในประเทศไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วงเกิดสถานการณ์โควิด อุตสาหกรรมโฆษณามียอดการใช้งบลดลงร้อยละ 13 แต่พอปี 2021 และไตรมาสแรกของปี 2022 งบโฆษณากลับมาขยายตัว สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เริ่มฟื้นตัว สำหรับอิทธิพลของโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล ผลสำรวจ พบว่า ร้อยละ 38 ของคนไทยซื้อสินค้าทันทีหลังจากเห็นโฆษณาในอินเทอร์เน็ต ในขณะเดียวกันการโฆษณาผ่าน Influencer หรือเน็ตไอดอลก็มีการเติบโตขึ้น โดยคนไทยร้อยละ 14 จะซื้อสินค้าตามที่เน็ตไอดอลแนะนำหรือโฆษณา โดยช่องทางโฆษณาที่ผู้บริโภคไว้วางใจมากที่สุด คือ เว็บไซต์ของแบรนด์ (ร้อยละ 33) รองลงมาคือสื่อทีวี และการเป็นสปอนเซอร์ ขณะที่ SMS หรือการโฆษณาผ่านข้อความมือถือ มีผู้บริโภคถึงร้อยละ 44 ที่ไม่เชื่อถือการโฆษณาจากช่องทางนี้ เนื่องจากผู้บริโภคกลัวข้อความสแปม หรือข้อความหลอกลวง จากรายงานของ Trust in Advertising พบข้อมูลเพิ่มเติมว่าธีมของการโฆษณามีผลต่อผู้บริโภค โดยธีมที่ถูกใจคนไทยมากที่สุดคือ อิงชีวิตจริง (Real-life situations) โดยเฉพาะชาวมิลเลนเนียลที่ถูกใจโฆษณาประเภทนี้เป็นพิเศษ ในขณะที่ธีมที่ขายความเซ็กซี่หรือล่อแหลมจะได้รับความนิยมน้อยในทุกกลุ่มวัย
ต้องเคารพความเป็นส่วนตัว
รัญชิตา กล่าวว่ คนไทยให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวบนโลกออนไลน์ โดยนีลเส็น พบว่า มีเพียงร้อยละ 19 ที่เต็มใจให้ทุกแอพ/เว็บไซต์ติดตามพฤติกรรมของตนเอง ร้อยละ 57 อนุญาตให้บางแอพติดตามได้บ้าง และ ร้อยละ 20 ที่ไม่อนุญาตให้แอพหรือเว็บไซต์ติดตามหรือแทร็กพฤติกรรมเลย สอดคล้องกับแนวโน้มคนทั่วโลกให้ความสำคัญกับกฎหมายดูแลข้อมูลส่วนบุคคล “จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคส่วนหนึ่งยินดีที่จะให้ข้อมูลแก่แบรนด์ ซึ่งหมายถึง Personalized Marketing ยังเป็นสิ่งที่สำคัญในปัจจุบัน ผู้บริโภคยังต้องการความรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนพิเศษ อยากให้แบรนด์เอาใจ นักการตลาดต้องสามารถตอบสนองต่อข้อเสนอใหม่ๆ ได้ ซึ่งความท้าทายของนักการตลาดในปัจจุบันคือการทำอย่างไรที่จะเข้าใจและรู้ใจผู้บริโภค ภายใต้เงื่อนไขที่ความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคต้องมาอันดับแรก” อ่านเพิ่มเติม: “ธนาคารแห่งประเทศไทย” ห่วงค่าครองชีพฉุดเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine