ธนจิรา ผู้นำด้านการจัดจำหน่ายและทำการตลาดสินค้าไลฟสไตล์แฟชั่น ประกาศเข้าซื้อกิจการ 'HARNN' 100 % ชู 2 จุดแข็งของกลุ่มผสานกลุ่มผู้ก่อตั้งเดิมช่วงขวบปีแรกดึงศักยภาพแห่งแบรนด์ไทย ทุ่มงบสร้างภาพลักษณ์ใหม่ ตั้งเป้า 4 แบรนด์จากกลุ่ม HARNN ทำรายได้ 25 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2563 พร้อมเผยเตรียมเข้าตลาดหลักทรัพย์ครึ่งหลังปี 2563 คาดระดมทุน 1.5-2 พันล้านบาท
ธนพงษ์ จิราพาณิชกุล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริการ บจก. ธนจิรา รีเทล คอร์ปอเรชั่น กล่าวถึงการเข้าซื้อกิจการ HARNN “การเข้าซื้อหุ้นของ HARNN 100 เปอร์เซ็นต์ครั้งนี้เสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา เป็นการแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการเจริญเติบโตของบริษัท ด้วยการมีแบรนด์ไทยเป็นของตนเองที่เข้มแข็ง และขยายสู่พอร์ทสินค้ากลุ่มสุขภาพและความงาม (Health and Beauty)”
“อีกเป้าหมายของธนจิราคือการขับเคลื่อนบริษัทสู่ระดับภูมิภาคเอเชียโดยการวางจุดยืนเป็นตัวแทนเชิงธุรกิจในการเน้นศักยภาพในการสืบสานความเป็นไทยผ่านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นอายของมรดกและวัฒนธรรมไทยอันเป็นอัตลักษณ์สู่ผู้บริภาคทั้งในและต่างประเทศๆ ในเอเชีย”
“HARNN มีศักยภาพสำคัญที่ตรงกับความต้องการของเราสำหรับการเข้าซื้อกิจการ นั่นคือต้องเป็นแบรนด์ไทยในระดับลักชัวรี มีการประกอบธุรกิจมากกว่า 10 ปี ตัวแบรนด์มีศักยภาพที่โดดเด่นและเมื่อเข้าซื้อกิจการแล้วยังสามารถสร้างรายได้ในกับเราได้ทันทีและต่อเนื่อง”
ธนพงษ์ จิราพาณิชกุล กล่าว
ด้าน
อภิชัย ผลโกศล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บจก. ธนจิรา รีเทล คอร์ปอเรชั่น กล่าวเสริมว่า การเข้าซื้อกิจการแบรนด์ HARNN ในครั้งนี้ถือเป็นการเช้าซื้อที่ครอบคลุมถึงการได้มาซึ่งรวมสินทรัพย์ทางปัญญาในการพัมนาผลิตภัณฑ์ และเครือข่ายเชิงธุรกิจทั้งหมดของกิจการรวมไปถึงแบรนด์ต่างๆ ภายใต้แบรนด์ HARNN คือ HARNN, Vuudh, Tichaa by HARNN, HARNN Heritage Spa และรวมไปถึง Asian Holistic Academy
“การเข้าซื้อกิจการแบรนด์ HARNN ในครั้งนี้ผลักให้ผลประกอบการรวมของบริษัทฯ เติบโตแบบก้าวกระโดด ลดความเสี่ยงในการพึ่งพิงรายได้จากแบรนด์นำเข้าเพียงอย่างเดียว เราตั้งเป้าหมายว่าภายในปี 2563 แบรนด์ HARNN จะทำรายได้ให้กับบริษัทฯ เป็นสัดส่วน 25 เปอร์เซ็นต์ จากรายได้รวมที่ 2,250 ล้านบาท พร้อมนำ ธนจิรา ก้าวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ช่วงครึ่งหลังของปี 2563”
ทั้งนี้ ธนพงษ์ อธิบายเพิ่มเติมถึงแผนสองปีของการเสริมสร้างศักยภาพของแบรนด์ HARNN โดยปีแรกเขามุ่งเน้นการสร้าง Brand Awareness อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างการรับรู้เรื่องแบรนด์ของ HARNN ผลิตภัณฑ์สัญชาติไทยที่สร้างสรรค์สินค้าประเภทสปา อโรมาเธอราพี บอดี้แคร์ และสกินแคร์จากธรรมชาติ ด้วยนโยบายเชิงรุกด้านการตลาดแบบ 360 องศา ด้วย Digital Marketing ซึ่งธนพงษ์คาดใช้งบประมาณราว 30 ล้านบาท รวมไปถึงการรีเวมแบรนด์ขึ้นใหม่ เพื่อให้แบรนด์มีความชัดเจนและร่วมสมัย
“ภาพลักษณ์ใหม่ของแบรนด์จะเข้าไปถึงกลุ่มลูกค้าเดิมและกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เป็นผู้หญิงในยุคใหม่โดยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประจำวันตั้งแต่หัวจรดเท้า โดยมุ่งเป้าหมายให้สัดส่วนผู้ซื้อระหว่างคนไทยและต่างประเทศอยู่ที่ราว 80 ต่อ 20”
ธนพงษ์กล่าว
สำหรับกลยุทธ์ในปีที่สองคือการนำประสบการณ์ในการจำหน่ายแบรนด์ดังระดับโลกผสานกับสายสัมพันธ์ที่มีในการผลักดัน มาตรฐานแบรนด์ HARNN เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธการวางจำหน่ายสินค้าใหม่ การกำหนดกรอบราคาขาย การตกแต่งร้าน และการกำหนดนโยบายการตลาด เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าให้กับแบรนด์ในระยะยาว และเพิ่มสัดส่วนการส่องออกจากเดิม 20 เปอร์เซ็นต์ในปัจจุบันเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ภายใน 2 ปี “ในปี 2560 ทั้งสี่แบรนด์ในกลุ่มของ HARNN มีสัดส่วนรายได้การส่งออกราว 60 ล้านบาท ซึ่งการที่เราจะโตทางด้านรายได้ 40 เปอร์เซ็นต์ภายใน 2 ปี สัดส่วนรายได้ตรงนี้อยู่ที่ราว 120 ล้านบาท”
ทั้งนี้ HARNN ส่งออกไปจำหน่ายใน 16 ประเทศ คิดร้านค้า 67 สาขาทั่วโลก โดย 3 ประเทศที่ทำรายได้สามอันดับแรกคือ จีน มาเก๊า และ ไต้หวัน
สองผู้บริหารกล่าวเพิ่มเติมถึงความคืบหน้าในการเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศราวครึ่งหลังของปี 2563 โดยคาดหวังในการระดมทุนที่ราว 1.5-2 พันล้านบาท เพื่อนำมาปรับโครงสร้างทางด้านเงินกู้และลงทุนในการขยายธุรกิจต่อไป