Uber เผยผลสำรวจพบแนวโน้มปัญหาการจราจรติดขัดในหลายๆ เมืองของภูมิภาคอาเซียนเลวร้ายลงทุกปี โดยกรุงเทพฯ มีปัญหาการจราจรติดขัดมากที่สุดในภูมิภาค ตามมาด้วย Jakarta, Manila, Hanoi และ Kuala Lumpur เสนอใช้บริการร่วมเดินทางช่วยแก้ปัญหารถติด
สำหรับผู้คนที่ขับรถบนถนนในกรุงเทพฯ เสียเวลาไปกับรถติดโดยเฉลี่ย 72 นาทีในแต่ละวัน และอีก 24 นาทีเพื่อวนหาที่จอดรถ ทุกวันนี้กรุงเทพฯ มีรถมากกว่า 5.8 ล้านคัน และต้องใช้พื้นที่เท่ากับสนามบินสุวรรณภูมิ 8 แห่งในการจอดรถทั้งหมด
บริการร่วมเดินทาง (ridesharing) สามารถลดจำนวนรถบนถนนในเมืองได้ 60% หรือเท่ากับ 3.5 ล้านคัน และได้พื้นที่คืนจากที่จอดรถคิดเป็นพื้นที่มากถึง 275 เท่าของสวนลุมพินี
สถิติรถติดของคนกรุงเทพฯ จาก Uber
กรุงเทพฯ มีรถมากกว่า 5.8 ล้านคัน
แต่มีจำนวนคนบนรถ 2.1 คนต่อคันเท่านั้น
ในช่วงเวลาเร่งด่วน มีรถบนถนน 160% ของปริมาณรถที่เหมาะสม รถจึงติดกว่าปกติ 2 เท่า
กรุงเทพฯ ต้องมีพื้นที่จอดรถเท่าสนามบินสุวรรณภูมิ 8 แห่ง จึงจะเพียงพอ
คนกรุงเทพฯ เสียเวลาไปกับรถติด 72 นาทีต่อวัน และใช้เวลา 24 นาทีต่อวันเพื่อหาที่จอดรถ
ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยจากรถยนต์ในกรุงเทพฯ สามารถเติมพื้นที่ตึกมหานครได้ 2.3 หมื่นครั้ง
ศิริภา จึงสวัสดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย
Uber กล่าวว่า บริการรถร่วมเดินทาง (ridesharing) ทำให้ผู้คนเดินทางด้วยกันได้โดยใช้รถยนต์น้อยลง สามารถลดจำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ ได้ 60% การใช้บริการร่วมเดินทางร่วมกับระบบขนส่งสาธารณะและรถยนต์ส่วนตัว จะช่วยแก้ปัญหาจราจรแออัดบนท้องถนนและปลดปล่อยพื้นที่จอดรถให้ทำประโยชน์อย่างอื่นได้ เราอยากเห็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนกรุงเทพฯ โดยใช้เทคโนโลยีช่วยปลดล็อคเพิ่มศักยภาพให้กับเมือง เพียงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรครั้งนี้ร่วมกัน
ศิริภา จึงสวัสดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย Uber
“บริการร่วมเดินทาง (Ridesharing) สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาความแออัดของการจราจรในกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ของไทยได้ เมื่อรถยนต์หนึ่งคันสามารถรับคนมากกว่าหนึ่งคนร่วมเดินทางไปด้วยกันเพียงแค่นี้ก็ช่วยลดจำนวนรถบนถนนให้น้อยลง สามารถปลดล็อกเมืองของเราและมีศักยภาพเต็มที่ แต่ทั้งหมดนี้ เราต้องทำด้วยกัน” ศิริภา กล่าว
Boston Consulting Group ( BCG) มีการสำรวจถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับเมืองต่างๆ ในภูมิภาคอาเซียนเมื่อมีการนำแนวคิดและบริการร่วมเดินทางมาใช้อย่างกว้างขวางขึ้น พบว่าต้องใช้ 2 มาตรการร่วมกันในการแก้ไขปัญหาการจราจรให้ดีขึ้น นั่นคือการลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันกับการใช้บริการร่วมเดินทาง
ศุภกร สิทธิไชย ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า ปัญหาการจราจรและการเดินทาง ถือเป็นปัญหาร่วมของชุมชนเมืองในหลายประเทศ เช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการแก้ไขและพัฒนาเมืองให้ผู้อยู่อาศัยได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในทุกมิติ โดยมีบางส่วนได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว เช่น ภูเก็ต เชียงใหม่ และขอนแก่น
ศุภกร สิทธิไชย ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
และในส่วนของ
DEPA มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อแก้ปัญหาเมืองภายใต้นโยบาย Smart City โดยได้ผลักดันให้เกิด เครือข่าย Smart City Alliance เพื่อเป็น platform เพื่อผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ Smart city และผู้บริหารเมืองที่ต้องการสร้างสรรค์เมืองของตนให้น่าอยู่ขึ้น ได้เข้ามาหารือกันเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและยั่งยืน
ด้าน
ภูรี สิรสุนทร คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า บริการ Ridesharing สามารถช่วยลดปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครได้อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังช่วยสนองตอบต่อความต้องการในการเดินทางของผู้โดยสารและช่วยลดต้นทุนค่าเสียโอกาสในการใช้เวลาเดินทางของผู้โดยสารโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยให้ผู้โดยสารเดินทางสู่ที่หมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาครัฐควรเปิดรับและหาแนวทางในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อยกระดับคุณภาพการเดินทางและเพื่อลดปัญหาการจราจรได้อย่างมีประสิทธิผล
ภูรี สิรสุนทร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์