ทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ Oracle ประเทศไทย เผยทิศทางบริษัทนำจุดแกร่งธุรกิจสอดผสานและมุ่งต่อยอด สร้างนวัตกรรม Oracle Cloud ที่แตกต่างและตอบโจทย์ความรวดเร็วในการสินใจให้กับธุรกิจ
ราวครึ่งปีภายหลังรับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการแห่ง Oracle ประเทศไทย
ทวีศักดิ์ แสงทอง เผยเป้าหมายสำคัญของ Oracle ในการเสริมธุรกิจให้องค์กรขนาดใหญ่ขับเคลื่อนองค์กรในยุคที่ความเร็วและแม่นยำเป็นปัจจัยสำคัญสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ
ทวีศักดิ์ ถือเป็นผู้บริหารระดับสูงกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ที่มากด้วยประสบการณ์กว่า 30 ปี มีบทบาทสำคัญๆ ในการช่วยให้องค์กรต่างๆ บรรลุเป้าหมายการเติบโต เชิงยุทธศาสตร์ ก่อนร่วมงานกับ Oracle ประเทศไทย อาทิ กรรมการผู้จัดการ Fidelity National Information Services Inc. (FIS) บริษัทเทคโนโลยีด้านการเงิน ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท SAS Software Thailand กว่าเวลา 7 ปี รับผิดชอบการขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจ รวมไปถึงการทำงานร่วมงานกับ Hitachi Data Systems, Microsoft และ AmDocs ในประเทศไทย ทำให้การรับตำแหน่งหัวเรือใหญ่ที่ Oracle ประเทศไทยไม่ต้องปรับตัวมากนักเพราะคุ้นเคยกลุ่มธุรกิจโดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าด้านการเงินและธนาคาร
“ถ้าพูดถึงออราเคิล ไล่เรียงจากประวัติศาสตร์เดิมสิ่งที่เป็นเรือธงและเป็นสิ่งที่เราถนัด ทั้งยังมีฐานลูกค้าขนาดใหญ่จากทั่วโลกและรวมไปถึงเมืองไทย กับการให้บริหารเกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลดาต้าเบส ซึ่งลูกค้าในเมืองไทยที่เป็นกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ใช้ระบบดาต้าเบสของเราอยู่” ทวีศักดิ์ แสงทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ฉายภาพถึงฐานอันแข็งแกร่งของ Oracle
ด้วยความแข็งแกร่งด้านดาต้าเบสของ Oracle ผสานกับการซื้อ J.D. Edwards & Company บริษัทด้านซอฟต์แวร์การจัดการเพื่อองค์กรขนาดใหญ่ หรือที่เรียกว่า Enterprise Resource Planning (ERP) ราวปี 2005 และการซื้อ Sun Microsystems ราวปี 2009 ทำให้ได้ฐานข้อมูลจากกลุ่ม Sun Microsystems ที่มีฐานธุรกิจในกลุ่ม hardware
“พอต่อยอดในแต่ละมิติตั้งแต่ ซอฟต์แวร์ด้าน ERP ของ J.D. Edwards & Company hardware ของ Sun Microsystems บริษัท และดาต้าเบสของ oracle ทำให้เราเป็นบริษัทที่มีฐานลูกค้าในหลากหลายธุรกิจ ทำให้บริษัทด้านไอทีอื่นๆ จะไม่มีครบแบบที่ oracle เรามี”
โตจากจุดแข็งพร้อมนำเทคโนโลยีคลาวด์ สู่ลูกค้าองค์กร
จากจุดแข็งของการนำเสนอเทคโนโยลีทั้งด้านดาต้าเบส ด้านซอฟต์แวร์ และด้านฮาร์ดแวร์ ทิศทางธุรกิจที่ Oracle ต้องการรุกอย่างเต็มสูบในการให้บริการคือ
เทคโนโลยีคลาวด์ ซึ่งคลาวด์ของ Oracle แตกต่างจากในตลาดคือการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีทำให้ลดความเสี่ยงและเรื่องความปลอดภัยผ่านชั้นความปลอดภัยต่างๆ
“ออราเคิลเรามีฮาร์ดแวร์เป็นของเราทั้งด้านเซิร์ฟเวอร์ ทั้งด้านสตอเรท ทำให้เรามีสิ่งที่เรียกว่า service level agreement หรือ เรื่องความปลอดภัยที่เราสามารถคอนโทรลจากระดับชั้นอินฟราฯ พอมีขึ้น Layer ที่สองเราเรียกว่า platform as a service ตัวนี้เป็นเรื่องของเทคโนโลยี อย่างเช่น เรื่องของดาต้าเบส การใช้ มิดเดิลแวร์ และมาต่อยอดเข้ากับนวัตกรรมใหม่ๆ อาทิ AI, Machine learning หรือ Blockchain ซึ่งทั้งหมดยังคงเป็นเทคโนโลยีของออราเคิล” ทวีศักดิ์ กล่าวและเสริมว่า
“ซึ่งในระดับชั้นที่เป็น software as a service ก็บริการของออราเคิลเองทั้งหมด จริงๆ มีอีกเลเยอร์ที่ทั่วโลกยังไม่พูดถึงคือ Data as a Service ซึ่งเป็นแนวโน้มในอนาคตถึงการบริการในเรื่องของดาต้าไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ERP เรื่อง HR เป็นต้น โดยอาจเรียกเก็บเงินจากจำนวนการใช้งานข้อมูลแต่ตอนนี้ถือว่าเร็วเกือบไปสำหรับในหลายๆ อุตสาหกรรม”
สำหรับด้านการแข่งขันในตลาดคลาวด์ ที่ผ่านมา Oracle ให้บริการกับกลุ่มลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ (Enterprise) เป็นหลักซึ่งถือเป็นจุดแข็ง
“พฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ในเมืองไทย ไม่ว่าช่วงเศรษฐกิจดีไม่ดี เขาไม่มีเวลาพักโดยเฉพาะการลงทุนด้านเทคโนโลยี เพราะฉะนั้นยิ่งช่วงไหนที่บอกกันว่าเศรษฐกิจชะลอตัว จริงแล้วๆ อาจจะเป็นผลดีของคนดำเนินการเพราะช่วงเวลานั้นอาจจะไม่ยุ่งมากในเรื่องของการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และมีเวลาในการโฟกัสและนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ซึ่งกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่หรือ Enterprise ส่วนมากมีแผนงานที่ชัดเจนในการพัฒนาเทคโนโลยีและทำไปตามแผน"
สำหรับการแข่งขันในกลุ่มคอมซูมเมอร์ กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี นั้น ทวีศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า Oracle มีความพร้อมในการมองหากลุ่มธุรกิจที่ขนาดเล็กลงมาอย่าง กลุ่มลูกค้าคอมซูมเมอร์หรือกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ในปี 2016 เราเข้าซื้อกิจการ NetSuite เป็นจำนวน 9.3 พันล้านเหรียญฯ และทำให้เราทำการแข่งขันกับองค์กรที่ขนาดเล็กลงมาอย่าง กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ที่มีผู้เล่นในตลาดอย่าง Salesforce หรือ Microsoft ก็ตาม
"ในโลกธุรกิจปัจจุบันผู้บริหารระดับสูงต้องการคือข้อมูลที่อัพเดทแบบเรียลไทม์ในการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจในแง่ของกลยุทธ์ การบริหารต้นทุนของธุรกิจ หรือในด้านยอดขาย รวมทั้งความพึงพอใจของลูกค้า ทั้งยังสามารถประมวลผลเทคโนโลยี AI Blockchain หรือ Machine learning เมื่อข้อมูลถูกนำขึ้นไปบนคลาวด์ ข้อมูลเรียลไทม์ที่อยากได้ในอดีต มันเป็นไปได้โดยที่ไม่ต้องไปลงทุนมหาศาลบนอินฟราสตรัคเจอร์ ถึงจะให้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ในยุคปัจจุบัน นี้คือโลกของคลาวด์ปัจจุบัน”
Autonomous Data Warehouse Cloud Service
สำหรับเป้าหมายปีนี้ของ Oracle ประเทศไทย คือการนำเสนอเทรนด์การใช้งานของ Oracle Autonomous Data Warehouse ทวีศักดิ์ขยายความให้เห็นทิศทางการใช้จากทั่วโลกเนื่องจากราคาลงมาจนสามารถจับต้องได้ และยืดหยุ่นในการใช้งานไม่เหมือนเทคโนโลยีสมัยก่อนที่ซื้อมาแล้วใช้ไม่ใช้ก็เสียเปล่า ยิ่งในโลกของคลาวด์ ถ้าจำเป็นก็ใช้ ถ้าจำเป็นต้องใช้มากขึ้นก็จ่ายเพิ่มขึ้น
ทวีศักดิ์ เผยจุดเด่นของ Oracle Autonomous Data Warehouse คือการประมวลผลและสามารถทำงานบนคลาวด์โดยที่ขนาดไม่จำกัด อย่างในเรื่อง บิ๊กดาต้า ข้อมูลเยอะขนาดไหน หรือสลับซับซ้อนขนาดไหน สามารถบริหารจัดการได้หมด
“สมัยก่อนเราได้ยินกันว่า enterprise Data Warehouse ซึ่งเป็นเรื่องขององค์กรขนาดใหญ่และต้องมีเงินทุนเป็นหลักหลายร้อยล้านบาทและการใช้งานซับซ้อน แต่พอเป็นการใช้งาน autonomous data warehouse คนทำงานอย่างฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายบริหารความเสี่ยง ฝ่ายการเงินใช้งานได้ทันที ระบบสามารถแนะนำถึงพฤติกรรมของข้อมูล การวิเคราะห์ธุรกิจที่สามารถนำมาใช้ได้ทันที ซึ่งท้ายสุดเข้ามาตอบโจทย์ในเรื่องความเร็วในการออกผลิตภัณฑ์ได้ทันกับความต้องการและความสะดวกเพราะเราอยู่ในยุคที่ความเร็วคือปัจจัยสำคัญในความสำเร็จ”
“แพลตฟอร์ม” ภาษาใหม่ธุรกิจ
ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น ทำให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงบริการ เข้าถึงเทคโนโลยี ผ่านเทคโนโลยีแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย กระทบวิถีการทำธุรกิจที่ให้บริการรอบตัวของผู้บริโภค ทวีศักดิ์ ชี้ให้เห็นว่า rule of the game ไปมากแค่ไหน
“วันแรกเราได้ใช้เครื่องมืออย่าง โซเชียล มีเดีย facebook หรือ line ทุกอย่างมันเริ่มที่ฟรี พอมันฟรีแล้วสงครามราคาไม่มี เรียกว่า rule of the game เปลี่ยน ราคาไม่ใช่เงื่อนไขในการทำสงครามแล้ว แต่เป็นเรื่องของสงครามเกิดในแง่ที่ว่า “สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นได้เกิดได้ขึ้นมาใหม่” ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์หรือโปรดักส์ เซอร์วิสต่างๆ สิ่งนี้ต้องหากคือสงครามการแข่งขันในปัจจุบันและต้องผลิตภัณฑ์ที่เป็น “แพลตฟอร์มที่สามารถต่อยอดได้”
“ทุกวันนี้หลายๆ องค์กรคุยแต่เรื่องแพลตฟอร์ม ธนาคารคุยเรื่องแพลตฟอร์ม กลุ่มรีเทลอย่างเซ็นทรัลคุยเรื่องแพลตฟอร์ม เป็นภาษาใหม่ของเชิงธุรกิจเพราะใครมีแพลตฟอร์มต้นทุนของการนำเสนอผลิตภัณฑ์ต่ำลง สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคทุกวันนี้คนซื้อความสะดวก อย่างแกร็บในเมืองไทย ถ้าเปรียบเทียบกับแท๊กซี่ธรรมดามันเปรียบเทียบคนละมิติแล้ว”
Oracle ประเทศไทย กำลังขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มธุรกิจที่กำลังเปลี่ยนไปตามยุคดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น อย่างกลุ่มธนาคาร เจอเรื่องดิสรัปชั่นอย่างเลี่ยงไม่ได้ทำให้กลุ่มธนาคารมีความพร้อมตั้งแต่ระดับบริหารระดับสูงลงมา ไม่มีคำว่าทำไมต้องลงทุน แต่จะมีแต่คำถามว่าทำไมลงทุนช้า ยิ่งปัจจุบันเราเริ่มเห็นการเข้ามาอย่าง apple อย่าง facebook ที่มีข่าวถึงการทำบัตรเดรดิต ซึ่งถ้ากลุ่มตรงนี้เริ่มทำและดึงคนเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของสมาชิกที่พวกเขามีก็เป็นเรื่องที่น่าคิด
ทวีศักดิ์ อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า นอกจากกลุ่มธนาคารที่ต้องปรับตัวเป็นอันดับต้นๆ แล้ว นั้น กลุ่มธุรกิจที่ให้บริการหรือการขายที่อยู่รอบตัวบริโภค อาทิ ธุรกิจอาหาร กลุ่มการเดินทาง ไม่พ้นต้องปรับตัวเช่นกัน
ภาคการเงินการธนาคารประเทศไทย ถือได้ว่าก้าวไปไกลกว่าหลายประเทศไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มธนาคารทำตัวเป็นแพลตฟอร์มจับมือกับสถาบันต่างๆ กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ข้อมูลของพวกเขายิ่งหลากหลาย ยิ่งมีจำนวนสมาชิกมากขึ้น ยิ่งมีความถี่ของการใช้งาน ปริมาณบิ๊กดาต้ายิ่งเพิ่มขึ้น สมัยก่อนเรามองแยกแต่ละอันดัสตรี กลุ่มนี้ธนาคาร กลุ่มนี้ประกัน กลุ่มนี้โมบาย โอเปอร์เรเตอร์ ซึ่งในกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ถือว่ามีข้อมูลระดับบิ๊กดาต้า
“ปัจจุบันเมื่อกลุ่มธุรกิจต่างๆ มาครอสข้อมูลกันผ่านแพลตฟอร์มธุรกิจ ก่อให้โอกาสทางธุรกิจที่เรามองไม่เห็น เปรียบเหมือนเวลาขับรถที่มีเทคโนโลยี blind spot ติดมากับปลายกระจกที่ช่วยให้เรามองเห็นโอกาสธุรกิจ” ทวีศักดิ์ กล่าว
ช่วงท้ายของการสัมภาษณ์ทวีศักดิ์ กล่าวทิ้งท้ายถึงความพิเศษของงาน
Oracle OpenWorld Asia: Singapore 2019 ที่ได้จัดขึ้นที่ประเทศสิงคโปร์และเป็นครั้งแรกเกิดขึ้นนอกสหรัฐฯ ภายในงานได้เปิดโอกาสในกับคนในวงเทคโนโลยี ทั้งการทดสอบ coding มาสัมผัสในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยเห็น และมีเจ้าของธุรกิจผู้ใช้เทคโนโลยีของ Oracle จริงๆ มาแบ่งปั่นประสบการณ์ อาทิ
บริษัท ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการ ตู้บุญเติม หรือ แอร์เอเชีย เป็นต้น
บริษัทอย่าง SunMoon Food Company สัญชาติสิงคโปร์ ที่บริษัทเขาเกือบล้มลาย จนกระทั่งมีโอกาสใช้ Oracle Enterprise Resource Planning Cloud ทำให้เขาสามารถเห็นข้อมูลบริหารจัดการข้อมูลที่ไม่เคยเห็น เปลี่ยนจากบริษัทที่เกือบล้มละลายเป็นกำไรและขยายไปทั่วโลก SunMoon นำเทคโนโลยีจากบล็อกเชนมาใช้คัดเลือกผลิตภัณฑ์ อาทิ การนำทุเรียนไปขายทั่วโลก ในการตรวจสอบเส้นทางของทุเรียนตั้งแต่การเดินทางจากสวนรวมไปถึงประวัติของสวนทุเรียน
“ปัจจุบันการเจรจากลับอยู่ที่ซื้อขายบนพื้นฐานข้อมูลที่มี ไม่ใช่การต่อรองว่าเจ้าไหนให้ราคาถูกสุด ผมเองในฐานผู้บริหารเมื่อมาเห็นข้อมูลเหล่านี้ที่ค่อนข้างเป็นประโยชน์ เพราะเราจะเห็นที่บริการธุรกิจว่าเล่าถึงประสบการณ์การใช้งานได้อย่างแท้จริง”