SEAC เผยความท้าทายธุรกิจการเรียนรู้ไทย หลังตกผนึกความคิดจากวิกฤตโควิด-19 - Forbes Thailand

SEAC เผยความท้าทายธุรกิจการเรียนรู้ไทย หลังตกผนึกความคิดจากวิกฤตโควิด-19

FORBES THAILAND / ADMIN
08 Oct 2020 | 06:20 PM
READ 3223

SEAC ปรับ Business Model เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง แนะวิกฤตเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนและองค์กรต้องเปลี่ยนแปลงไม่จำกัดแค่เฉพาะ “คนในองค์กร” แต่รวมถึง “คนในสังคม” ทั่วโลก พร้อมเผยเทรนด์การเรียนรู้ใหม่ๆ

จากวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาส่งผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในภาครวมธุรกิจอย่างมาก มีทั้งธุรกิจที่ต้อง “ปิดตัว” และ “เกิดใหม่” ในทุกอุตสาหกรรม เกิดอัตราการว่างงานที่ไต่ระดับเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยมีสถิติชี้ว่ามีผู้ถูกเลิกจ้างสูงถึง 8.4 ล้านคน ไม่รวมกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ระดับปริญญาตรี–โท ที่กำลังเตรียมเข้าสู่ตลาดแรงงานอีกกว่า 5.2 แสนคน ซึ่งอาจกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงว่างงาน ส่งผลให้เกิดการแย่งชิงตำแหน่งงานในตลาดอย่างเข้มข้น จนเกิดเป็นคำถามของทั้งองค์กรและนักศึกษาที่กำลังจะจบว่า “ทักษะที่เรียนมาพอเพียงต่อการทำงานหรือไม่ ทำให้ไปต่อได้หรือเปล่า?” ในขณะที่บางองค์กรที่ไม่มีนโยบายลดคน ก็จะมองว่าต้องติดสปีดในการพัฒนาคนที่ทำงานอยู่อย่างไรในช่วงนี้ เพื่อให้พวกเขาเป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนองค์กรให้เดินหน้าต่อ และไปได้ไกลกว่าเดิม เมื่อวิกฤตคลี่คลาย อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า “สำหรับ เอสซีเอซี กับช่วงวิกฤตการณ์ที่ผ่านมานี้ บริษัทฯ ก็ไม่หยุดยั้ง  ในการพัฒนาและยกระดับศักยภาพของคนไทย ภายใต้พันธกิจ EMPOWER LIVES THROUGH LEARNING  ที่เร่งสร้างทักษะผ่านการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อตอบทุกเป้าหมายของการใช้ชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบ ควบคู่กับการวางกลยุทธ์และโรดแมปในการรุกตลาดการเรียนรู้ผ่าน 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ Organizational and People Transformation ที่ยังเน้นการให้คำปรึกษาและโซลูชั่นที่มีบริบทเฉพาะตัวเหมาะสมกับแต่ละองค์กรที่ต้องการพัฒนาขีดความสามารถสู่การแข่งขันในตลาดระดับสากลผ่านการพัฒนาผู้นำและบุคลากร Workforce Capability Development คือ การเดินหน้า Reskill และ Upskill ทั้งเรื่องของวิธีคิด (Mindset) และทักษะที่จำเป็น (Skillset) ให้กับกลุ่มคนทำงานผ่าน YourNextU โมเดลการเรียนรู้แบบ Subscription รวมถึงพร้อมต่อยอดวิสัยทัศน์ให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิต และบิสสิเนสโมเดลใหม่ตอบโจทย์ New Generation Capability Development ขยายธุรกิจ สู่กลุ่มเด็กและเยาวชน แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปสำหรับครั้งนี้คือ เรามีการรีเฟรม (Reframe) โมเดลธุรกิจรูปแบบ การนำเสนอสินค้าและบริการ เพื่อให้สนองต่อสถานการณ์ ความต้องการ และพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป” อริญญา กล่าวต่อไปว่า “สำหรับช่วงวิกฤตกับการเข้ามาเป็นผู้เล่นหลักใน Education Technology (EdTech) Ecosystem ที่นำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเรียน-การสอนของ SEAC เราพบว่า มี 3 เทรนด์การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น 1. พฤติกรรมของลูกค้าสะท้อนภาพความต้องการเรียนรู้แบบ Just in Time Learning เพื่อนำไปใช้แบบ Just In Time หรือ รูปแบบการเรียนรู้ที่เรียนวันนี้ใช้วันถัดไปกันมากขึ้น หรือ เรียนตอนนี้ คืนนี้ เอาไปใช้พรุ่งนี้ได้เลย มุ่งเน้น How-to ที่ตอบสนอง Emergent Needs ของคนที่ต้องเผชิญกับรูปแบบธุรกิจ การบริการและการทำงานที่เปลี่ยนไปได้ทันที 2. การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเป้าหมาย (Purpose-driven) เมื่อคนมองเห็นความไม่แน่นอน คนเริ่มมองไปไกลขึ้นว่า หากอยากจะทำอาชีพนี้ต่อ มีเป้าหมายด้านการทำงานแบบนี้ ต้องทรานส์ฟอร์มตัวเองอย่างไร ต้องอัพเกรดทักษะไหนบ้างเพื่อไปต่อในโลกใหม่ 3. การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Truly Blended) เพราะกลัวตนเองจะตกงานและสูญเสียรายได้ ทำให้การเรียนรู้มีมิติมากกว่าในอดีตในช่วงที่มีการปิดเมืองจีน กว่า 70% ของประชากรในประเทศจีนตื่นตัวในการเรียนรู้และมองหาเรื่อง Blended Learning เช่นเดียวกันคือกว่า 68% ของคนในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ลุกขึ้นมาหาคอร์สพัฒนาทักษะเรียนรู้แบบผสมผสาน แบบที่คนไม่จำเป็นต้องนั่งเรียนออนไลน์ อย่างเดียวแล้ว แต่ในวันนี้ มีแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ที่รวมรูปแบบการเรียนหลากหลายทั้ง ห้องเรียนเสมือนจริง แบบ Webinars ตลอดจนสามารถทำแบบประเมินวัดความเข้าใจออนไลน์ มีการโค้ชติวตัวต่อตัว ที่แม้จะอยู่บ้าน แต่ก็สามารถสัมผัสประสบการณ์การเรียนได้ไม่ต่างจากการไปเรียนในห้องเรียน เพราะในโลกดิจิตัล การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดแค่เรียนในห้องเรียนอีกต่อไปแล้ว แต่คนมองหาการเรียนรู้แบบ Multichannel และเข้าถึงรูปแบบการเรียนรู้ ที่หลากหลายได้ที่ทำให้คนรู้สึกมีส่วนร่วมและสนุกไปกับการเรียนรู้” “เทรนด์เหล่านี้คือโจทย์ที่ SEAC นำมา Reframe ธุรกิจ ยกตัวอย่างช่วง Lockdown เราเองก็ได้ยกห้องเรียนทั้งหมดไปอยู่บนออนไลน์แพลตฟอร์มหรือการสอนแบบ “Virtual Classroom” ที่ยังเน้นเรื่องการกระตุ้นผู้เรียน ให้เกิด Engagement และ Participation จนเกิดเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่การเรียนแบบ One-way ในภาพเดิมๆ พร้อมกันนี้เรายังได้คัดสรรหลักสูตร Essential Skills หรือ ทักษะที่จำเป็นและสอดคล้องกับความต้องการ ในสถานการณ์ปัจจุบัน จำนวนมากเข้ามาช่วย Reskill และ Upskill คนไทยให้เกิดความพร้อม เพื่อให้สามารถอยู่รอดท่ามกลางโลกปัจจุบัน โดยล่าสุด YourNextU มีหลักสูตรทั้งหมดมากกว่า 300 หลักสูตรจากการร่วมมือสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ”
นิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล Executive Director SEAC (ซ้าย)
ด้าน นิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล Executive Director SEAC กล่าวเพิ่มเติมว่า “ในส่วนของเยาวชนไทย เอสอีเอซี ได้คำนึงถึงว่า EdTech มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ดังนั้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ในการมีส่วนร่วมเรื่องการยกระดับการศึกษาไทย SEAC ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำต่างๆ เพื่อศึกษาและวิจัยแนวทางในการพัฒนาทรัพยากร “คน” โดยใช้ YourNextU เป็นตัวนำร่องเพื่อ Reskill & Upskill เติมเต็มทักษะสำคัญ Essential Skills หรือ “กึ๋น” ในการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง" ทั้งนี้ อริญญา กล่าวสรุปว่า “สิ่งที่ เอสอีเอซี ได้เรียนรู้ในการทำธุรกิจช่วงวิกฤตคือการเปลี่ยนแปลง และความท้าทายเกิดขึ้นได้เสมอ ความท้าทายในระยะสั้น คือ การ Reframe ธุรกิจ จะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท  ส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ในยุคนี้ได้ ในขณะที่ยังต้องคงไว้ซึ่งมาตรฐานและคุณภาพในเชิงหลักสูตรที่ต้องตอบโจทย์ความต้องการและสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไป ส่วนความท้าทายในระยะยาว คือการสร้าง Learning Mindset ให้เกิดในสังคมไทย การขยายเครือข่ายความร่วมมือสร้าง Ecosystem ทางด้านการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นจริง มีการบูรณาการความสามารถของภาครัฐ และภาคเอกชนเพื่อประโยชน์ ในการยกระดับความรู้ ความสามารถของคนไทย Upskill และ Reskill ให้ทัดเทียมระดับสากล”

อ่านเพิ่มเติม: “30 Under 30” กลุ่มคนรุ่นใหม่วัยไม่เกิน 30 ปี เปลี่ยนเรื่องราวอาหารเป็นสูตรธุรกิจใหม่

 
ไม่พลาดบทความด้านกลยุทธ์องค์กรและธุรกิจ ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine และ ทวิตเตอร์ Forbes Thailand