วิครานท์ คานนา หัวหน้าฝ่ายธุรกิจการทรานส์ฟอร์มงานด้านทรัพยากรมนุษย์ ประจำภูมิภาคเอเชีย แห่ง Alight Solutions เผยทิศทางการยกระดับการทำงานฝ่าย HR เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น พร้อมเผยรายงานฉบับสำคัญ
วิครานท์ คานนา (Vikrant Khanna) หัวหน้าฝ่ายธุรกิจการทรานส์ฟอร์มงานด้าน HR ประจำภูมิภาคเอเชีย Alight Solutions เดินทางเยื่อนไทยพร้อมเผยรายงาน
The State of HR Transformation Study 2018-19 ที่ชี้ให้ทิศทางของการเลือกใช้แนวทางการจัดการการทำงานด้านทรัพยากรบุคคล
โดยรายงานดังกล่าวได้ทำการสำรวจองค์กรกว่า 670 แห่งในหลากหลายภาคธุรกิจในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีพนักงานรวมกันกว่า 6.1 ล้านคน และมีรายได้กว่า 7 ล้านล้านเหรียญฯ เพื่อตรวจสอบแนวทางในการเลือกและปรับใช้โซลูชั่นด้าน HR ที่มีประสิทธิภาพสูงและใช้งานง่ายขององค์กรเหล่านี้
“รายงานนี้เป็นการจัดทำเป็นครั้งที่สอง ถือเป็นรายงานที่มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุดในจำนวนรายงานประเภทเดียวกัน โดยจากข้อมูลที่ได้รับนำไปสู่ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญ 5 ข้อหลัก” วิครานท์ คานนา กล่าวสรุปย่อได้ดังนี้
-บริการและเทคโนโลยีด้าน HR มีความสำคัญมากต่อความสำเร็จในการเตรียมความพร้อมให้กับอนาคตขององค์กร องค์กรที่ได้พัฒนาด้าน HR แล้ว มีความมั่นใจต่อความพร้อมมากกว่าองค์กรอื่นเกือบ 5 เท่า และสามารถดำเนินงานด้าน HR ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า 2 เท่า นอกจากนั้น องค์กรดังกล่าวยังมีอัตราส่วนบุคลากรด้าน HR ต่อพนักงานประจำโดยเฉลี่ย 1:92 เปรียบเทียบกับองค์กรอื่นๆ ซึ่งมีอัตราส่วนอยู่ที่ 1:52
-ปัญหาช่องว่างด้านความสามารถและการประสานงานที่ไม่เพียงพอส่งผลให้ฝ่าย HR ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพที่จริงแล้ว องค์กร 3 ใน 4 แห่งมีแผนที่จะเพิ่มยอดใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาขีดความสามารถด้าน HR
-บริษัทในเอเชียแปซิฟิกกว่า 60 เปอร์เซ็นต์มีรูปแบบการให้บริการด้าน HR ที่ชัดเจนและเหมาะสม และมีการพัฒนาที่ดี
-จะมีการนำระบบงานอัตโนมัติ (Automation) และ AI มาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในช่วง 18 – 24 เดือนข้างหน้า โดยผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) กำลังทำการประเมินกรณีการใช้งาน AI และระบบงานอัตโนมัติ รวมถึงขอบเขตการลงทุนในอนาคต
-ระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Analytics) เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิผล ความสามารถ ประสิทธิภาพการทำงาน และการดึงดูดบุคลากรผู้ตอบแบบสอบถาม 2 ใน 3 มีแผนที่จะปรับใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลบุคลากรที่แข็งแกร่งมากขึ้นในช่วง 12-24 เดือนข้างหน้า
โดย
วิครานท์ คานนา กล่าวเสริมด้วยว่า
“ในยุคที่มีการใช้งานระบบคลาวด์อย่างกว้างขวางและมีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง องค์กรต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิก จำเป็นต้องยุติการพึ่งพากลยุทธ์แพลตฟอร์ม HR ที่ ‘ดีที่สุด’ เพราะการผนวกรวมแพลตฟอร์มต่างๆ และบริการหลากหลายช่องทางเข้าด้วยกันจะช่วยสร้างความแตกต่างที่สำคัญที่สุดในการขับเคลื่อน HR ในโลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า”
รายงานผลการศึกษานี้ยังระบุแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในองค์กรต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิก ภายในปี 2563 ไว้ดังนี้
-67 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรจะมีโปรแกรมการฝึกอบรมราวครึ่งหนึ่งเป็นรูปแบบวิดีโอ โดยมีเนื้อหาสั้นๆ และเปิดให้เรียนรู้ในแบบออนดีมานด์ รวมถึงการเรียนรู้เชิงคาดการณ์ตามบทบาทหน้าที่
-61 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรจะรับทราบข้อคิดเห็นของพนักงานส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) ได้แบบเรียลไทม์
-องค์กรครึ่งหนึ่งจะใช้ AI เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการจัดการผลการปฏิบัติงานราวครึ่งหนึ่ง
-63 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรระบุว่า กระบวนการ HR ทั้งหมดของตนจะมุ่งเน้นการใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่
-เกือบครึ่งหนึ่งขององค์กรคาดว่าจะมีธุรกรรมด้าน HR ส่วนใหญ่ (80 เปอร์เซ็นต์) เป็นแบบสั่งงานด้วยเสียง และบริษัทเกือบครึ่งหนึ่ง (47 เปอร์เซ็นต์) คาดว่าจะดำเนินกระบวนการราวครึ่งหนึ่งบนเทคโนโลยีอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable)
-องค์กรกว่าครึ่งหนึ่งคาดว่าจะใช้ระบบวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อรองรับการตัดสินใจส่วนใหญ่เกี่ยวกับบุคลากร (80 เปอร์เซ็นต์)