เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส เผยทิศทางและกลยุทธ์ปี 2565 บัตรเครดิต co-brand “บัตรเครดิตเซ็นทรัล เดอะวัน” - Forbes Thailand

เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส เผยทิศทางและกลยุทธ์ปี 2565 บัตรเครดิต co-brand “บัตรเครดิตเซ็นทรัล เดอะวัน”

อธิศ รุจิรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส เผยทิศทางการเติบโตหลังต่อสัญญากับ Central Group ภายใต้หลักสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในแนวทาง “Building glow to partnership” เชื่อมผลิตภัณฑ์และดาต้าจากกลุ่มเครือกรุงศรีฯ คาด เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส (GCS) สิ้นปีตัวเลขเติบโตในสองหลักทุกมิติ

อธิศ รุจิรวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัด กล่าวว่า ภายหลังการเข้าพิชชิ่งงานและสามารถต่อสัญญากับกลุ่มเซ็นทรัลได้สำเร็จในการบริหารบัตรเครดิตเซ็นทรัล เดอะวัน ด้วยการคอนเซ็ปต์ “Partnership next Level” ซึ่งเป็นการยกระดับความร่วมมือทางธุรกิจให้มากขึ้น ประจวบเหมาะกับความพร้อมของ “กรุงศรีฯ คอนซูมเมอร์” และกลุ่มธนาคารกรุงศรีฯ ที่สามารถทำได้เป็นจริง สำหรับภาพรวมการเติบโตของ เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส ปี 2564 มีผลประกอบการที่ทำลายสถิติตัวเลขสูงสุดสูงเป็นประวัติกาณ์ในการก่อตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 2541 สินทรัพย์ก่อให้เกิดรายได้หรือ NEA ทำสถิติ 2.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 4 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรนั้นทำลายสถิติสูงสุดเช่นกัน โดยมียอดใช้จ่ายผ่านบัตรเป็นจำนวน 7.65 หมื่นล้านบาท เติบโตขึ้นร้อยละ 10 จากปีที่ผ่านมา ด้านฐานบัตรรวมมีจำนวน 952,000 ใบ เติบโตรวม 6 เปอร์เซ็นต์ ปี 2564 นั้นเป็นช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 ทำให้การเปิดบัตรเดรดิตใหม่ลดลงติดลบ 32 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 52,000 ใบ เช่นเดียวกับยอดสินเชื่อใหม่อยู่ลดลงติดลบ 4 เปอร์เซ็นต์ อยู่ที่ 1.8 พันล้านบาท สาเหตุอันเนื่องจากการปิดห้างสรรพสินค้าซึ่งเป็นช่องทางสำคัญในการสมัครบัตรเครดิต ขณะเดียวกันในช่วงสถานการณ์โควิด-19 การเติบโตและส่วนแบ่งทางการตลาดของบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ปี 2564 มีส่วนแบ่งทางการตลาดรวมร้อยละ 4.6 ของธุรกิจบัตรเครดิตในประเทศ โดยบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน ทั้ง 4 ประเภทนั้น เติบโตจากกลุ่มบัตรสีดำทั้ง 2 ประเภทสำหรับลูกค้าที่ฐานเงินเดือนเกินหนึ่งแสนบาทขึ้นไป โดยในกลุ่มของบัตรสีดำนี้สร้างเติบโตของยอดใช้จ่ายรวมของปี 2564 ราว 30-40 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่บัตรสีแดงเติบโตเพียงตัวเลขหนึ่งหลักเท่านั้น

ปัจจัยลบจากสภาวะเศรษฐกิจในประเทศ

อธิศ กล่าวว่าในปี 2565 แม้สถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายไปมากแต่เนื่องจากสถานการณ์โลกโดยเฉพาะสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้พลังงานเชื้อเพลิงภายในประเทศสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์มีส่วนสำคัญที่ทำให้ระดับเงินเฟ้อสูงขึ้น 4.5 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ตัวเลข GDP ของประเทศปี 2565 นั้นอาจจะต่ำกว่า 3.2 เปอร์เซ็นต์ จากการประมาณการของธนาคารแห่งประเทศไทยให้ไว้ ขณะที่ในส่วนอัตราการผิดนัดชำระของผู้ถือบัตรเครดิตยังอยูในระดับที่น่าเป็นห่วง สำหรับสถานการณ์บวกอย่างการเปิดประเทศและการจับจ่ายที่เพิ่มมากขึ้น อธิศ คาดการณ์ว่าจะปิดปี 2565 ด้วยตัวเลขบัตรใหม่ที่เพิ่มขึ้นราว 10-15 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะเพิ่มขึ้นราว 12-15 เปอร์เซ็นต์ สำหรับตัวเลขผลดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี 2565 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2564 สินทรัพย์ก่อให้เกิดรายได้ (NEA) อยู่ที่ 2.1 หมื่นล้านบาท เติบโตร้อยละ 4.4 ขณะที่ยอดบัตรเครดิตใหม่อยู่ที่ 19,500 ใบ ยอดบัตร CFC ใหม่อยูที่ 9,500 ใบ ยอดสินเชื่อบุคคลใหม่อยูที่ 500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 ด้านส่วนแบ่งทางการตลาดเมื่อสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมาบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวันมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยูที่ 4.7 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้อธิศคาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 2565 เป้าหมายของการเติบโตของบัตรเครดิตเซ็นทรัล เดอะวัน จะอยู่ที่ตัวเลขสองหลัก คาดการณ์โดยประมาณตัวเลขบัตรเครดิตใหม่อยู่ 81,200 ใบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 52 ยอดใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ที่ราว 8.82 หมื่นล้านบาท โตราวร้อยละ16 ยอดสินเชื่อบุคคลใหม่ อยู่ที่ 1.9 พันล้านบาท โตราวร้อยละ 13 และ สินทรัพย์ก่อให้เกิดรายได้ (NEA) อยู่ที่ราว 2.5 หมื่นล้านบาท โตราวร้อยละ 10

แนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืน

สำหรับแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืน อธิศกล่าวเพิ่มเติมว่าเป็นการเติบโตผ่านการใช้แผนธุรกิจใน 4 เสาหลักซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ เจเนอรัล คาร์ด เซอร์วิสเซส เร่งการเติบโตของรายได้ระหว่างกลุ่มธนาคารกรุงศรีฯ และกลุ่มเซ็นทรัล ได้แก่ การเดินทางสร้างช่องทางการชำระเงินผ่าน QR-CODE ที่จะช่วยให้ผู้ถือบัตรได้รับสิทธิประโยชน์จากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเซ็นทรัลฯ หรือการใช้บัตรผ่านแอปพลิเคชั่น UChoose การปรับปรุงบัตรสีแดงในโดนใจผู้บริโภคกลุ่มใหม่ๆ และเตรียมพัฒนาโปรแกรมการใช้จ่ายแบบ Buy Now Pay Later ที่คาดว่าเปิดตัวภายในปีนี้ ส่วนที่สองคือความร่วมมือด้านการพัฒนาข้อมูลจากฐานสมาชิก The 1 จำนวน 18 ล้านราย เพื่อสร้างโปรโมชั่นที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย รวดเร็ว เนื่องจากข้อมูลจากฐานของสมาชิก The 1 สามารถลงลึกในระดับ SKU ส่วนที่สามการศึกษาการใช้เหรียญฯ เป็นคะแนนสะสม ผ่านแอปฯ UChoose และส่วนที่สี่คือการร่วมกันระหว่างสององค์กรในการเชื่อมต่อบริการและผลิตภัณฑ์ระหว่างสององค์กร อาทิ ความร่วมมือทางโปรโมชั่น ความร่วมมือในฟังก์ชันใหม่ๆ อย่าง BNPL เพื่อเพิ่มศักยกาภและยอดขาย ความร่วมมือในร่วมพัฒนาโมเดลข้อมูลเพื่อหาลูกค้าใหม่ๆ ผ่านเครือข่ายภายในกลุ่มเซ็นทรัลอย่าง Central Retail ไทวัสดุ เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม: เปิดจักรวาลโลกอนาคตกับ Accenture Technology Vision 2022

ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine