Heartworks ร่วมกับ Lalamove และ ร้าน KRBB แก้โจทย์ร้านค้าออนไลน์ เปิดตัวบริการ “DeliveryLab” แพลตฟอร์มหน้าร้านบนโลกออนไลน์ที่เชื่อมการจัดส่งจาก “Lalamove” โดยเปิดตัวลูกค้ารายแรก “KRBB” ร้านจำหน่ายเนื้อวัวระดับพรีเมี่ยม หลังเตรียมระบบร่วมกันราวสองเดือนที่ผ่านมา
พฤติกรรมของผู้บริโภคและร้านค้าต่างๆ ที่เริ่มคุ้นชินและมีประสบการณ์ในการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่น วัดได้จากจำนวนนักขับที่มีให้เห็นบนท้องถนน รวมถึงผู้เล่นยักษ์ใหญ่อย่าง Central ที่เข้ามาลงทุนใน Grab ประเทศไทย รวมไปถึงร้านอาหารจำนวนมากที่เบียดตัวอยู่ในแอพฯ แต่ทำให้ยากต่อการค้นหา ปัญหาเหล่านี้จึงเกิดเป็นแนวคิดสำหรับร้านค้าต่างๆ ที่ต้องการมีหน้าร้านออนไลน์เป็นของตนเอง ผ่านแพลตฟอร์มบริการ
“DeliveryLab” ที่พัฒนาโดย Heartworks เอเจนซี่ที่ให้บริการงานด้านดิจิทัลและโซลูชั่น
พลพงศ์ จิระพันธุ์ ซีอีโอ Heartworks กล่าวว่าเทคโนโลยีของเราเข้ามาแก้ปัญหาของร้านค้าต่างๆ ที่ต้องการมีหน้าร้านออนไลน์และสามารถบริหารรายการ เมนู ต่างๆ ได้ด้วยตนเองจากหลังบ้าน
“Heartworks นอกจากให้บริการด้านแพลตฟอร์มแล้ว เรายังเชี่ยวชาญในการนำโซลูชั่นต่างๆ มาเชื่อมต่อ อาทิ ระบบจัดส่งสินค้าจาก Lalamove และเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างร้านอย่าง KRBB และระบบจัดส่งสินค้าเข้าไว้ด้วยกัน” พลพงศ์ จิระพันธุ์ ซีอีโอหนุ่มกล่าวและเสริมว่า
“สิ่งที่ลูกค้าได้รับนอกจากบริการหน้าร้านออนไลน์และบริการจัดส่งแล้ว ลูกค้ายังได้รับข้อมูลสรุปและสถิติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเมนูอาหารยอดนิยม ตำแหน่งของผู้ใช้บริการ เราถึงข้อมูลของลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาบริการต่อไป”
ด้าน
อิทธิชัย เบญจธนสมบัติ กรรมการผู้จัดการของร้าน KRBB, The Boutique Buther กล่าวเสริมว่าหลังจากที่ KRBB เปิดให้บริการมา 2 ปีกว่า เราเห็นธุรกิจการให้บริการ Delivery เติบโตอย่างต่อเนื่องและขณะที่กลุ่มลูกค้าของเราเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน จึงเป็นที่มาในการเปิดตัวเมนูอาหารจานเดียวจากการใช้เนื้อของ KRBB เองไม่ว่าจะเป็น Himawari Gyu หรือ Hokkaido F1 โดยร่วมกับ DeliveryLab และ Lalamove ทำ website สั่งอาหารเป็นของตัวเองในชื่อ www.alakrbb.com
“การใช้ระบบเดลิเวอรี่แลปและการจัดส่งของลาล่ามูฟนั้น ข้อดีคือเราได้สร้างตลาดใหม่ๆ จากการพัฒนาวัตถุดิบที่เรามีและยังรู้จักลูกค้าของเราจากข้อมูลสรุปที่ระบบส่งตรงถึงเรา แต่มีคำถามว่าแล้วลูกค้าพร้อมที่จะจ่ายค่าส่งที่คิดตามระยะทางตามจริงแล้วหรือยังซึ่งในส่วนนี้ผมเองเชื่อว่าลูกค้าพร้อมหากเทียบกับการเดินทางเพื่อมาซื้อของที่ร้านค้าด้วยตัวเองกับจราจรในกรุงเทพฯ ในขณะที่ประสบการณ์ในการสั่งของออนไลน์ของลูกค้าก็มีมากขึ้นเช่นกัน” อิทธิชัย เบญจธนสมบัติ กล่าว
ทั้งนี้
พลพงศ์ จิระพันธุ์ ซีอีโอ Heartworks กล่าวเพิ่มเสริมอีกว่า “บริการของเราเริ่มที่ 5 หมื่นบาทต่อร้านค้าหนึ่งร้าน และจ่ายเพิ่มเติมและลักษณะท๊อปอัพต่อจำนวนสาขา ซึ่งระบบของลาลามูฟสามารถช่วยบริหารจัดการระบบการขนส่งสินค้าทำให้กลุ่มธุรกิจ สามารถเลือกส่งจากสาขาที่ใกล้กับลูกค้าได้ และหากร้านค้าต้องการเชื่อมต่อกับธุรกรรมออนไลน์อย่างอื่นๆ การตัดบัตรเครดิต หรือจ่ายโอนเงินผ่านออนไลน์ต่างๆ ระบบสามารถรับรองได้ ภายในสิ้นปีนี้เราตั้งเป้าที่ 100 ร้านค้า ราว 60 % เป็นร้านค้าในประเทศและสัดส่วนที่เหลือเป็นร้านค้าในประเทศเพื่อนบ้าน จากการเดินทางโรดโชว์ร่วมกับ Lalamove ที่จะมาถึง”