Opensignal ชี้ "การสตรีมมิ่งวิดีโอ" ด้วย 4G ของค่ายมือถือไทยยังไม่เร็วพอ-หยุดชะงักบ่อย - Forbes Thailand

Opensignal ชี้ "การสตรีมมิ่งวิดีโอ" ด้วย 4G ของค่ายมือถือไทยยังไม่เร็วพอ-หยุดชะงักบ่อย

PR / PR NEWS
28 Jun 2019 | 05:54 PM
READ 4693

Opensignal วิเคราะห์การให้บริการ 4G ของค่ายมือถือในไทย พบดัชนีชี้วัดบางรายการที่ต่ำอย่างผิดสังเกตคือ การสตรีมมิ่งวิดีโอ ซึ่งใช้เวลาเฉลี่ยทั้ง 3 ค่ายมือถือที่มากกว่า 5 วินาทีก่อนจะเริ่มเล่นวิดีโอเฟรมแรก และยังมีปัญหาการสตรีมมิ่งสะดุดติดขัดด้วย

บทสรุปการวิเคราะห์ 
  • ประเทศไทยเป็นผู้นำด้านความพร้อมใช้งาน 4G ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการให้บริการเพื่อเข้าถึง 4G อยู่ในระดับที่แทบจะไม่มีใครเทียบได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทว่าจากข้อมูลที่พบในดัชนีชี้วัดกลับแสดงถึงคะแนนที่ต่ำอย่างผิดสังเกตคือในเรื่องประสบการณ์รับชมวิดีโอ ในรายงานล่าสุดของเราระบุว่าผู้ประกอบการทั้งสามรายในประเทศไทยได้คะแนนอยู่ในเกณฑ์รั้งท้ายหรืออยู่ในระดับแค่พอใช้เท่านั้น
  • การสตรีมวิดีโอบนสมาร์ทโฟนเฉลี่ยใช้เวลามากกว่า 5 วินาที ในการโหลดเพื่อเริ่มเล่น เนื่องจากข้อจำกัดหลักๆ มาจากการส่งสัญญาณเครือข่ายที่อาจเกิดความล่าช้าตอนเปิดชมวิดีโอ TrueMove H ใช้เวลาโหลดวิดีโอราว 4.9 วินาที ขณะที่ DTAC ใช้เวลาโหลด 5.7 วินาที ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติทั่วไป แต่ผู้ใช้ AIS กลับต้องรอนานกว่า เมื่อใช้เวลาโหลดถึง 7.4 วินาที
  • เราพบข้อจำกัดใหญ่ๆ หลายอย่างที่ขวางการพัฒนาประสบการณ์การรับชมวิดีโอในประเทศไทย ที่อยู่ในตัวชี้วัดเรื่องการเกิดวิดีโอติดขัด ผู้ใช้ประมาณหนึ่งในสี่บนเครือข่ายของทั้ง DTAC และ TrueMove ประสบกับการที่วิดีโอหยุดชะงัก ขณะที่ AIS มีคะแนนในเรื่องนี้สูงมากกว่า 40% ของผู้ใช้ AIS พบการที่วิดีโอหยุดชะงักเวลารับชม
ความเร็ว การสตรีมมิ่งวิดีโอ ในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือล่าสุดในประเทศไทยที่ได้จัดทำขึ้น พบว่าผู้ประกอบการในไทยมีความสามารถในการให้บริการ 4G ได้อย่างดีเยี่ยม ซึ่งทำให้การเข้าถึง 4G อยู่ในระดับที่ไม่มีใครเทียบได้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่เราพบเรื่องที่ประเทศไทยต้องปรับปรุงอย่างมากอย่างหนึ่ง นั่นคือประสบการณ์การรับชมวิดีโอ ไม่มีผู้ให้บริการรายใดในประเทศไทยที่ได้คะแนนดีกว่าระดับพอใช้ในการจัดอันดับประสบการณ์รับชมวิดีโอของเรา แม้จะดูที่ความเร็วการเชื่อมต่อ 4G เพียงอย่างเดียว ก็ยังรอการโหลดวิดีโอเป็นเวลานานและวิดีโอหยุดเล่นบ่อยครั้ง OpenSignal เฝ้าติดตามประสบการณ์ การสตรีมมิ่งวิดีโอ ในประเทศไทยอย่างใกล้ชิดเพื่อดูว่าเหตุใดถึงได้คะแนนต่ำและจะเพิ่มคะแนนเหล่านั้นขึ้นได้อย่างไร   สำหรับการวิเคราะห์นี้ เราตรวจสอบสององค์ประกอบหลักของตัวชี้วัดประสบการณ์วิดีโอ: นั่นคือ เวลาในการโหลดวิดีโอ 4G และ การเกิดวิดีโอติดขัดบน 4G ตัวชี้วัดแรกคือความเร็วในการโหลดวิดีโอ วัดระยะเวลาเฉลี่ยในหน่วยวินาทีที่ผู้บริโภครอให้วิดีโอโหลดและเริ่มสตรีมมิ่ง คุณจะเห็นได้ว่าผู้ใช้งานชาวไทยประสบกับการหยุดชะงักก่อนวิดีโอจะเริ่มเล่น คาดได้ว่าจะเกิดความล่าช้าในวิดีโอที่สตรีมผ่านเครือข่ายมือถือ แม้แต่ผู้ใช้ของเราในสิงคโปร์ซึ่ได้คะแนนสูงสุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านประสบการณ์รับชมวิดีโอก็ยังคุ้นเคยกับการรอ 2-3 วินาทีเพื่อรับชมวิดีโอสตรีม ในแง่นี้ คะแนนการโหลดวิดีโอของ TrueMove H อยู่ที่ 4.9 วินาที และคะแนน DTAC อยู่ที่ 5.7 วินาทีซึ่งไม่ได้ต่างจากที่คาดการณ์ อย่างไรก็ตามผู้ใช้ AIS ของเราต้องรอนานโดยเฉลี่ยมากกว่า 7 วินาทีเพื่อให้เฟรมวิดีโอแรกแสดงผล เมื่อดูการเกิดปัญหาวิดีโอติดขัด ทำให้เราเริ่มเห็นข้อจำกัดในประสบการณ์รับชมวิดีโอมือถือในประเทศไทย การเกิดวิดีโอติดขัดจะวัดสัดส่วนของผู้ใช้ที่ประสบกับการหยุดชะงักระหว่างการเล่น ไม่ว่าจะเป็นอาการติดขัดในวิดีโอสตรีม การหยุดชั่วคราวนานขึ้นเพื่อ buffer หรือการหยุดเล่นวิดีโอไปเลย ในประเทศที่ประสบการณ์วิดีโอ 4G อยู่ในระดับดีหรือยอดเยี่ยม เราจะเห็นการเกิดวิดีโอติดขัดต่ำกว่า 10% อย่างผู้ให้บริการทั้งสามรายของสิงคโปร์มีคะแนนในตัวชี้วัดนี้ต่ำกว่า 5% อย่างไรก็ตาม ไม่มีผู้ประกอบการรายใดในไทยได้คะแนนการเกิดวิดีโอติดขัดต่ำกว่า 20% ทั้ง DTAC และ TrueMove ผู้ใช้ประมาณหนึ่งในสี่บนเครือข่ายทั้งสองนี้ประสบปัญหาวิดีโอหยุดชะงัก เมื่อมาดูที่ AIS ซึ่งมีคะแนนการเกิดปัญหาวิดีโอติดขัดมากกว่า 40% หมายความว่าการหยุดเล่นนั้นกลายเป็นเรื่องค่อนข้างธรรมดา ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ AIS เป็นผู้ประกอบการไทยเพียงรายเดียวที่ได้คะแนนประสบการณ์วิดีโอต่ำสุด ซึ่งอยู่รั้งท้ายในรายงานของเราในประเทศไทย ผู้ประกอบการไทยควรทำอะไรเพื่อปรับปรุงประสบการณ์รับชมวิดีโอของลูกค้าได้บ้าง? ผู้ประกอบการสามารถเพิ่มขีดความสามารถให้กับเครือข่ายโดยการเพิ่มแหล่งกำเนิดคลื่นความถี่ใหม่ สร้างจุดรับส่งสัญญาณเพิ่ม หรือเชื่อมโยงการเชื่อมต่อแบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นให้กับจุดรับส่งสัญญาณที่มีอยู่ อีกทั้งผู้ประกอบการยังสามารถใช้เทคโนโลยีการจัดการคอนเทนด์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งวิดีโอ การเพิ่มความเร็วในการดาวน์โหลดเฉลี่ยก็เป็นอีกโซลูชันหนึ่ง ความเร็วที่เร็วขึ้นนั้นไม่ได้รับประกันว่าจะได้รับประสบการณ์ชมวิดีโอที่ดีกว่าเสมอไป แต่ดูเหมือนว่าจะมีความเร็วขั้นต่ำที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องคงรักษาไว้เพื่อสร้างความแตกต่างในด้านคุณภาพวิดีโอ ในรายงานสถานะวิดีโอมือถือของเราที่เผยแพร่เมื่อเดือนกันยายนปีก่อน เกือบทุกประเทศที่มีคะแนนรั้งท้ายหรืออยู่ในระดับพอใช้ มีความเร็วในการดาวน์โหลดโดยรวมต่ำกว่า 14 Mbps ประเทศไทยก็อยู่ในหมวดนั้นอย่างแน่นอน ไม่มีผู้ให้บริการรายใดในประเทศที่มีคะแนนประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดสูงกว่า 8 Mbps ในรายงานภาษาไทยของเรา ความเร็วที่ต่ำของประเทศไทยอาจเกิดจากการออกแบบ ผู้ประกอบการในประเทศไทยประสบความสำเร็จในการขยายความพร้อมการให้บริการ 4G มากกว่าที่จะเพิ่มความเร็วที่ส่งมอบให้ผู้บริโภค ผู้ประกอบการไทยบางรายจำกัดความเร็วที่ผู้บริโภคได้รับไปตามแผนการใช้งานที่แตกต่างกันเพื่อเสนอทางเลือกในการกำหนดราคาการใช้ 4G ที่ไม่แพง ตราบใดที่ความสมดุลของ 4G ในประเทศไทยยังเอนไปที่การเข้าถึงมากกว่าความเร็ว เราก็ยังน่าจะเห็นคะแนนประสบการณ์รับชมวิดีโออยู่ในระดับต่ำ แต่เราเริ่มเห็นสัญญาณว่าความสมดุลนี้กำลังเปลี่ยนไป เราได้บันทึกความเร็วการดาวน์โหลดเฉลี่ยของ DTAC ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อปีที่แล้วเนื่องจากการลงทุนในคลื่นความถี่ 4G และโครงสร้างพื้นฐานใหม่่ หากสิ่งนั้นกระตุ้นให้คู่แข่งปฏิบัติตาม เราอาจได้เห็นว่า ไม่เพียงแต่ประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดที่สูงขึ้น แต่ยังเพิ่มความเสถียรในการเชื่อมต่อและความจุของเครือข่ายอีกด้วย และในทางกลับกันก็จะนำไปสู่ประสบการณ์รับชมวิดีโอที่ดียิ่งขึ้น รายละเอียดทั้งหมดในรายงานการวิเคราะห์คลิกอ่านได้ที่ https://www.opensignal.com/blog/2019/06/27/mobile-video-in-thailand-is-slow-to-load-and-experiences-frequent-interruptions   รายงานโดย เควิน ฟิทชาร์ด   เกี่ยวกับ Opensignal  Opensignal เป็นบริษัทวิเคราะห์เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีพื้นที่ปฏิบัติการอยู่ทั่วโลก ในฐานะที่ Opensignal คือมาตรฐานการวัดประสบการณ์การใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของโลก Opensignal วิเคราะห์ประสบการณ์ของผู้บริโภคตามความเป็นจริงอย่างมีอิสระผ่านการวิเคราะห์ผู้ประกอบการณ์เป็นรายประเทศ รายภูมิภาค และในระดับโลก และรายงานผลที่ได้ในระดับและความถี่สูงสุดของภาคอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สายนี้ ข้อมูลเชิงลึกของเราได้ถูกนำไปใช้โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ หน่วยงานกำกับดูแลในภาคอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และนักวิเคราะห์อย่างกว้างขวาง