Belt and Road (B&R) หรือที่นิยมเรียกว่า One Belt, One Road (OBOR) ควรเรียกว่าความริเริ่มมากกว่า
โดยคำนี้เริ่มต้นจากประธานาธิบดี Xi Jinping ของจีนที่ต้องการรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมเดิม (Silk Road) และพัฒนาเป็นเส้นทางสายไหมใหม่ (New Silk Road) เพื่อเชื่อมโยงทวีปเอเชียยุโรป และแอฟริกา เข้าด้วยกัน ซึ่งเส้นทางสายไหมใหม่นี้ แบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง คือ
1.เส้นทางสายไหมทางบก (Silk Road Economic Belt หรือ “One Belt”) เป็นเส้นทางโลจิสติกส์บนยูเรเชีย (Eurasian Land Bridge) 2. เส้นทางสายไหมทางทะเล (21st Century Maritime Silk Road หรือ “One Road”) เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางเรือทั้งนี้ เส้นทางสายไหมใหม่พาดผ่าน 6 ภูมิภาค 65 ประเทศ เมื่อพิจารณาเป็นสัดส่วนของทั้งโลก จะมีพื้นที่คิดเป็น 38.5% ของทั้งโลก มีประชากร 62.3% ของทั้งโลกมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) คิดเป็น 30% ของทั้งโลก และมีการบริโภคภาคครัวเรือนคิดเป็น 24% ของทั้งโลก
ระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 6 B&R ไม่ได้มีแค่ 2 เส้นทาง แต่ยังมีเส้นทางที่เป็นระเบียงเศรษฐกิจแฝงอยู่อีก 6 เส้นทางซึ่งแยกออกมาจากเส้นทางสายไหมทางบกประกอบด้วย
1.สะพานเศรษฐกิจยูเรเชียใหม่ (New Eurasian Land Bridge : NELB) เริ่มต้นจากท่าเรือ Lianyungang ในมณฑล Jiangsuสิ้นสุดที่เมือง Rotterdam ในยุโรปตะวันตกคาดว่าจะเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าทางถนนจากจีนสู่ยุโรปสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ (ITD)
2.ระเบียงเศรษฐกิจจีน-มองโกเลีย-รัสเซีย (China-Mongolia-Russia Economic Corridor : CMREC) เป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงและถนน แบ่งออกเป็น 2 เส้นทางคือ 1) จาก Beijing, Tianjin, Hebei ผ่านมองโกเลียในเพื่อไปรัสเซีย และ 2) จากเมือง Dalian ไปยังเมือง Chita ของรัสเซีย
3.ระเบียงเศรษฐกิจจีน-เอเชียกลาง-เอเชียตะวันตก (China-Central Asia-West Asia Economic Corridor : CCWAEC) เป็นเส้นทางสำคัญในการขนส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจากคาบสมุทรอาหรับ ตุรกี และอิหร่าน เพื่อส่งไปยังเขตปกครองตนเอง Xinjiang Uygur
4.ระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทรอินโดจีน (China-Indochina Peninsula Economic Corridor : CICPEC) เชื่อมระหว่างเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ Pearl River (Pearl River Delta Economic Zone : PRD) กับประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
5.ระเบียงเศรษฐกิจจีน-ปากีสถาน (China-Pakistan Economic Corridor : CPEC) เชื่อมจีนกับเอเชียใต้
6.ระเบียงเศรษฐกิจบังกลาเทศ-จีน-อินเดีย-เมียนมา (Bangladesh-China-India-Myanmar Economic Corridor : BCIMEC) เริ่มต้นจากเมือง Kashgar ของเขตปกครองตนเอง Xinjiang Uygur ไปยังท่าเรือ Gwadar ของปากีสถาน
ความเชื่อมโยงทั้ง 5 (Five Links) คณะกรรมการการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนประกาศใช้แผนปฏิบัติการตามเอกสารชื่อ “Vision and Actions on Jointly Building Silk Road Economic Belt and 21st-Century Maritime Silk Road” เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2015 โดยใช้ “Five Links” ในการเชื่อมโยงนโยบาย โครงสร้างพื้นฐานการค้า การเงิน และประชาชน ประกประกอบด้วย
1.การประสานนโยบาย (Policy Coordination) ด้วยการสร้างกลไกประสานนโยบายในระดับต่างๆ กับประเทศที่ตั้งบนเส้นทางสายไหมใหม่ โดยทำความตกลงและโครงการร่วมกับประเทศต่างๆ และองค์กรระดับภูมิภาค
2.การเชื่อมโยงสิ่งอำนวยความสะดวก (Facilities Connectivity) ด้วยการส่งเสริมให้มีการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น การขนส่งทางถนน พลังงาน รวมทั้งเครือข่ายด้านการสื่อสาร
3.การค้าที่ไม่มีข้อจำากัด (Unimpeded Trade) ด้วยการส่งเสริมการใช้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกทางด้านการค้าและการลงทุนของประเทศที่อยู่บนเส้นทางสายไหมใหม่
4.การบูรณาการทางการเงิน (Financial Integration) ด้วยการก่อตั้งสถาบันการเงินต่างๆ เช่น ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Asian Infrastructure Investment Bank : AIIB) ของจีน และธนาคารเพื่อการพัฒนาใหม่ (New Development Bank : NDB) ของกลุ่มประเทศ BRICS
5.การเชื่อมโยงประชาชน (People-to-People Bond) ด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษาและวัฒนธรรม การท่องเที่ยวการดูแลสุขภาพและบริการทางการแพทย์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นต้น
ผลกระทบทางบวก เส้นทางสายไหมใหม่เป็นโอกาสทางการค้าและการลงทุนที่สูงมาก ซึ่งการลงทุนของจีนและประเทศพัฒนาแล้วตามเส้นทางสายไหมใหม่ อาจช่วยให้การดำเนินงานตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity : MPAC) บรรลุผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน
ทั้งนี้ อาเซียนใช้ประโยชน์จากกลไกความร่วมมือที่จีนมีบทบาทอยู่ ซึ่งอาจช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีได้มากขึ้น รวมทั้งอาจพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศหรือภูมิภาคอื่นที่มีจีนเป็นสมาชิกอยู่แล้ว โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีโอกาสด้านการลงทุนใน 13 มณฑล/เขตปกครองตนเองของจีนที่อยู่บนเส้นทางสายไหมใหม่ โดยมีเขตปกครองตนเอง Xinjiang Uygur เป็นพื้นที่หลักของเส้นทางสายไหมทางบก และมณฑล Fujian เป็นพื้นที่หลักของเส้นทางสายไหมทางทะเล
นอกจากนี้ ไทยและประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ยังใช้ประโยชน์จากระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทรอินโดจีน (CICPEC) เพื่อเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนกับเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ Pearl River ซึ่งปัจจุบันพัฒนาเป็นโครงการ Pan-Pearl River Delta (PPRD) หรือ “ความร่วมมือ 9+2” ผลกระทบทางลบความร่วมมือบนเส้นทางสายไหมใหม่ไม่ใช่ความสัมพันธ์ในเชิงภูมิเศรษฐศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นความสัมพันธ์ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ด้วย จึงถือเป็นประเด็นอ่อนไหว
ในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจอื่นได้ที่สำคัญคือ ประเทศสมาชิกอาเซียนอาจได้รับผลกระทบจากการย้ายถิ่นของคนจีนเนื่องจากจีนกำลังประสบปัญหาขาดแคลนทรัพยากรต่างๆ จึงเป็นไปได้ที่นักลงทุนจากจีนจะรุกคืบเข้ามาใช้ประโยชน์จากที่ดินในลักษณะของ “นักแย่งยึดที่ดิน” (land grabbers) ในอาเซียนมากขึ้น
ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการรุกคืบของจีนในอาเซียน คือ การลงนามในเอกสารความร่วมมือระหว่าง สปป.ลาว กับจีน จำานวน 17 ฉบับ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2560 ซึ่งอาจสร้างความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้สุดท้ายนี้ ต้องระลึกไว้เสมอว่า จีนนั้นไม่มีมิตรแท้และไม่มีศัตรูที่ถาวร สิ่งที่จีนคิดและทำขึ้นอยู่กับผลประโยชน์แทบทั้งสิ้น
ดังนั้น การตั้งรับการรุกคืบของจีนจึงควรยึดผลประโยชน์ของคนในชาติและในอาเซียนเป็นสำคัญ โดยวิธีการตั้งรับที่ดีที่สุด ก็คือ “การรู้เท่าทันจีน” ซึ่งไทยควรติดตามความคืบหน้าและประเมินผลกระทบการดำเนินงานของความริเริ่ม “Belt and Road” อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์การค้าและการลงทุนเพื่อรองรับผลกระทบทั้งบวกและลบอย่างทันต่อสถานการณ์
บทความโดย
สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) หรือ (ITD)