เปิดโผ 5 ทำเลน่าจับตา ราคาอสังหาฯ เพิ่มขึ้นสูงสุด - Forbes Thailand

เปิดโผ 5 ทำเลน่าจับตา ราคาอสังหาฯ เพิ่มขึ้นสูงสุด

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจไทยยังคงอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์เอง ราคาที่ดิน ถูกพิษไวรัสทำให้เกิด ทำเลน่าจับตา และการตุ้นยอดขายของค่ายอสังหาฯ ต่างๆ

สำหรับตลาดอสังหาริมทรัพย์เองก็ต้องเผชิญกับภาวะชะลอตัวของตลาด ผู้ประกอบการต่างพากันกระตุ้นยอดขายในช่วงที่ยากลำบากนี้ด้วยวิธีการต่างๆ โดยเฉพาะกลยุทธ์การปรับราคาให้สอดคล้องกับสภาพตลาดในแต่ละพื้นที่ รวมถึงส่งผลให้โครงการเปิดใหม่และแนวโน้มราคาที่อยู่อาศัยมีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม โดยพบว่าแต่ละทำเลนั้นมีการตอบรับที่แตกต่างกันออกไป ราคาขายอสังหาฯ จึงขึ้นลงไม่เหมือนกัน จากรายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ฉบับล่าสุด พบว่าดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ปรับลดลงร้อยละ 4 จากไตรมาสแรกของปี 2563 ในขณะที่ดัชนีอุปทานที่อยู่อาศัย (จำนวนที่อยู่อาศัย) ลดลงร้อยละ 15 จากไตรมาสแรกของปี 2563 ผลลัพธ์ที่ลดลงนี้อันเนื่องมาจากปัญหาใหญ่อย่างโควิด-19 ที่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้ออสังหาฯ หรือบางคนยกเลิกการซื้อไปอย่างไม่มีกำหนด เพราะได้รับผลกระทบจากการสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ เช่น ตกงาน โดนลดเงินเดือน บริษัทไม่ต่อสัญญา ขาดรายได้จากการทำธุรกิจ จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องใช้โปรโมชั่น ลด แลก แจก แถมต่าง ๆ เข้าจูงใจ ทำให้ราคาอสังหาฯ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมลดลง และชะลอการเปิดโครงการใหม่ ทำให้จำนวนที่อยู่อาศัยลดลงอย่างมาก เห็นได้ว่าพายุลูกนี้ได้เข้ามามีส่วนทำให้ทั้งภาคธุรกิจอสังหาฯ และภาคผู้บริโภคได้รับผลกระทบอย่างเป็นวงกว้าง คาดว่าต้องอาศัยระยะเวลาในการเยียวยาและฟื้นตัว ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เราคงจะค่อยๆ เห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับตลาดอสังหาฯ แต่ก็ยังมีความไม่แน่นอนสูงเช่นกัน เนื่องจากยังคงต้องเฝ้าระวังไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบใหม่   5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ราคาเพิ่มขึ้น-ลดลงสูงสุด สำหรับการสำรวจราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ช่วงที่ผ่านมา พบว่า ทำเลที่อยู่อาศัยที่มีราคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ส่วนใหญ่กระจายตัวอยู่ทั้งในพื้นที่นอกเขตศูนย์กลางธุรกิจของกรุงเทพฯ หรือ CBD และพื้นที่รอบนอกกรุงเทพฯ แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มความต้องการของผู้บริโภคเริ่มให้ความสนใจพื้นที่รอบนอกมากขึ้น ประกอบกับพื้นที่ดังกล่าวมีปัจจัยบวกสนับสนุนให้มีความน่าสนใจ เช่น โครงสร้างพื้นฐานทางด้านคมนาคมอย่างรถไฟฟ้าสายต่างๆ ที่กระจายตัวออกสู่พื้นที่รอบนอกมากขึ้น ส่งผลให้การเดินทางสู่ใจกลางเมืองทำได้สะดวก โครงการเมกะโปรเจกต์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่กระจายตัวออกสู่พื้นที่รอบนอกไม่ได้กระจุกตัวอยู่เฉพาะใจกลางเมือง   5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ราคาเพิ่มขึ้นสูงสุด
  1. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 จากไตรมาสแรกของปี 2563
  2. เขตคันนายาว ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากไตรมาสแรกของปี 2563
  3. เขตสะพานสูง ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากไตรมาสแรกของปี 2563
  4. เขตลาดกระบัง ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากไตรมาสแรกของปี 2563
  5. เขตตลิ่งชัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 จากไตรมาสแรกของปี 2563
ส่วนทำเลที่มีการลดลงของราคาอสังหาฯ ลดลง ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตพื้นที่ใจกลางเมือง และพื้นที่นอกเขต CBD ต่ำที่สุด กระจายตัวอยู่ในโซนนอกเขต CBD ทั้งหมด โดยมีบางพื้นที่ที่มีจำนวนที่อยู่อาศัยหรือสินค้าคงค้างเหลืออยู่ในตลาดค่อนข้างมาก ทำให้ผู้ประกอบการต้องใช้ ‘สงครามราคา’ เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจของผู้ซื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาอสังหาฯ ปรับตัวลดลง   5 ทำเลในกรุงเทพฯ ที่ราคาลดลงสูงสุด  
  1. เขตบางกอกน้อย ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 26 จากไตรมาสแรกของปี 2563
  2. เขตบางนา ปรับตัวลดลงร้อยละ 9 จากไตรมาสแรกของปี 2563
  3. เขตพระโขนง ปรับตัวลดลงร้อยละ 9 จากไตรมาสแรกของปี 2563
  4. เขตดินแดง ปรับตัวลดลงร้อยละ 9 จากไตรมาสแรกของปี 2563
  5. เขตสัมพันธวงศ์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 8 จากไตรมาสแรกของปี 2563
  โควิด-19 ความท้าทายของภาคอสังหาฯ  การฟื้นตัวของภาคอสังหาฯ ยังคงต้องใช้เวลา และจะเป็นการฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป หรือเป็นในลักษณะของ U-Shape โดยจะได้รับแรงกระตุ้นผ่านการออกโปรโมชั่นส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการเรียกร้องให้ทางรัฐบาลมีการออกมาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาฯ ทั้งทางฝั่งผู้ประกอบการและผู้บริโภค เช่น ยกเลิกการใช้มาตรการควบคุมสินเชื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV เป็นการชั่วคราว รวมถึงการลดมาตรการภาษีและดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย ก็จะช่วยประคับประคองให้ตลาดอสังหาฯ สามารถไปต่อได้ แน่นอนว่าสถานการณ์โควิด-19 กระทบต่อภาคธุรกิจและประชาชนหลายภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจอสังหาฯ ซึ่งถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการเดินหน้าต่อของบรรดาผู้ประกอบการท่ามกลางสภาวะที่ผู้บริโภคมีรายรับที่ลดลง และมีความไม่แน่นอนในชีวิตสูงขึ้น นั่นทำให้ ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัว ปรับกลยุทธ์ วางแผนการตลาดให้แปลกใหม่ คุ้มค่า และรอบคอบ ตอบรับกับความต้องการใหม่ ๆ ของผู้บริโภค เพื่อให้สามารถพาธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ จนกระทั่งวันที่สถานการณ์คลี่คลายและกลับมาสู่ภาวะปกติ เมื่อนั้นเราคงจะเห็นการจับจ่ายของผู้คนและภาคธุรกิจอสังหาฯ กลับมาคึกคักได้อีกครั้ง DDproperty.com เว็บไซต์สื่อกลางอสังหาริมทรัพย์อันดับหนึ่ง ที่รวบรวม ทิปส์ในการซื้อขายอสังหาฯ และรีวิวโครงการใหม่ ทั้งไทยและอังกฤษ ไว้กว่า 10,000 บทความ