บุคลากรไอที หัวใจโลกยุคดิจิทัล 4.0 - Forbes Thailand

บุคลากรไอที หัวใจโลกยุคดิจิทัล 4.0

FORBES THAILAND / ADMIN
16 Feb 2018 | 07:18 PM
READ 7386

ประเทศไทยรู้จักและนำเทคโนโลยีด้านไอทีมาประยุกต์ใช้งาน ทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนมานานกว่า 30 ปี แต่ต้องยอมรับว่าในยุคเริ่มต้นนั้นบุคลากรด้านไอทีของไทยมีค่อนข้างจำกัด ไม่เพียงพอต่อความต้องการตลาด สถาบันการศึกษาทุกแห่งได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและความต้องการบุคลากรด้านไอที จึงเร่งผลิตบุคลากรเพื่อป้อนความต้องการของตลาดแต่บุคลากรไอทีที่จบการศึกษามานั้นกลับมีความรู้ความสามารถเฉพาะพื้นฐานของไอทีเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดได้

เนื่องจากปัจจุบัน เทคโนโลยีด้านไอทีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นบุคลากรไอทีในวันนี้จึงต้องมีความเชี่ยวชาญด้านความรู้ไอทีและตื่นตัวเปิดรับก้าวทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ และพร้อมเปิดกว้างใฝ่หาค้นคว้าหาความรู้ให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกันสถาบันการศึกษาที่เป็นแหล่งผลิตบุคลากรด้านไอที จำเป็นต้องพัฒนาปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องก้าวทันเทรนด์ของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปในอนาคต เพื่อให้บุคลากรด้านไอทีเพียงพอและตรงกับความต้องการของตลาดได้อย่างแท้จริง ไทยขาดแคลนบุคลากรไอทียุค 4.0 หากย้อนอดีตจนถึงปัจจุบันจะพบว่าการพัฒนาบุคลากรด้านไอทีของไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดย AIT มองว่าการพัฒนาเทคโนโลยีแบ่งเป็น 5 ยุค คือ ยุคไอทีสำหรับการใช้งานระบบทั่วไปในองค์กร (Conventional App) เช่น ระบบบัญชีการเงิน สต็อก จัดซื้อ บุคคล การขายและการตลาด และอื่นๆ ที่ใช้ในการทำงานตามระบบขององค์กร ซึ่งปัจจุบันจะมีระบบที่สมบูรณ์แบบเรียกว่า ERP (Enterprise Resource Planning) ยุค Internet หรือยุค Dotcom ที่เริ่มใช้กันมากว่า 20 ปี ซึ่งทำให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วย email และ internet นี้ เป็นจุดเริ่มต้นที่เปลี่ยนแปลงโลก เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการกิน การเรียน การเล่น การทำงานและการเป็นอยู่ internet เป็นบ่อเกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคต่อมา ยุค Social Media และ Mobile App เป็นยุคของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน เป็นยุคของ Facebook, Twitter, Instagram Line เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นยุคของ application และ platform บน mobile devices ยุค Clouds / Big Data / Data Virtualization / SDN เป็นยุคที่ให้ความสำคัญและสร้างประโยชน์จากข้อมูลเพื่อสร้างประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารงานและความคุ้มค่าในการลงทุน ยุค IoT / AI เป็นยุคที่เกิดขึ้นแล้วปัจจุบันและจะมีบทบาทยิ่งในโลกของไอทีอนาคตอันหมายถึง ทุกอุปกรณ์ในโลกจะได้รับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต เพื่อรับหรือส่งข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตมาวิเคราะห์ ประมวลผลสั่งการและ AI หรือหุ่นยนต์ จะถูกพัฒนาเพื่อการใช้งานในหลากหลายรูปแบบ อย่างไรก็ตาม จะเห็นได้ว่าจากเทคโนโลยีด้านไอทีมีความหลากหลายมากขึ้น ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นที่เริ่มใช้โปรแกรมพื้นฐานที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่าง basic MS Office ไปจนถึง network infrastructure, database, security รวมถึง online marketing ซึ่งเป็นกระแสของเทรนด์ใหม่ของโลก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาซอฟต์แวร์แอพพลิเคชั่นใหม่ๆ มากมาย ซึ่งเป็นการรวบรวมฟังก์ชั่นต่างๆ ที่จะเพิ่มความสะดวกสบายมาอยู่บนโทรศัพท์มือถือ เพื่อเข้ามาอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก ทำให้แต่ละองค์กรต่างเฟ้นหาบุคลากรที่มีความรู้ลึกรู้จริงด้านไอทีเฉพาะด้าน อย่างไรก็ตาม จากการติดตามข้อมูลพบว่า ผู้จบการศึกษาด้านไอทีในปัจจุบันกลับไม่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันให้แก่องค์กรให้เหนือคู่แข่งได้ โดยบุคลากรด้านไอทีที่อยู่ในตลาดมีความรู้เพียงขั้นพื้นฐานที่สามารถรองรับงานไอทีแค่เพียงยุคที่ 1, 2 และ 3 เท่านั้น ซึ่งสวนทางกับความต้องการของตลาดแรงงานที่อยู่ในยุค 4 และ 5 ดังนั้น ในมุมมองของ AIT การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ให้บุคลากรไอทีเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อเพิ่มศักยภาพและความรู้ด้านไอทีใหม่ๆ สำหรับต่อยอดให้บุคลากรเหล่านี้สามารถก้าวสู่การเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญด้านไอทีเฉพาะด้านให้ได้ พร้อมทั้งสามารถนำความรู้มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ให้องค์กร นอกจากนี้ การพัฒนาองค์ความรู้ด้านไอทีภายในองค์กร ซีอีโอขององค์กรจำเป็นต้องรู้และเข้าใจด้านไอทีขององค์กร เมื่อผู้บริหารระดับสูงสุดมีความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของไอที ที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนองค์กรให้เจริญก้าวหน้าสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง ดังนั้นซีอีโอจึงเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญต่อการกำหนดนโยบายและผลักดันให้ระบบไอทีในองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ และเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรภายในองค์กรซึ่งสามารถจัดส่งไปอบรมหรือใช้บริการ outsource จากผู้รู้ได้ ขณะที่ AIT เล็งเห็นความสำคัญของการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ที่สั่งสมในการดำเนินธุรกิจกว่า 20 ปีและความรู้ความสามารถในการดูแลติดตั้งระบบไอทีสารสนเทศและการสื่อสารให้กับองค์กรชั้นนำต่างๆ มากมาย ทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อต่อยอดการพัฒนาสู่ธุรกิจใหม่ขององค์กรด้วยการให้ความรู้ผ่านการจัดอบรมคอร์ส เทคโนโลยีต่างๆ ในศูนย์ TraiNex หรือ ศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากรทางด้านไอทีซึ่งเปิดกว้างให้องค์กรภาคเอกชนสามารถจัดส่งบุคลากรทางไอทีหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจมาฝึกอบรมพัฒนาเติมความรู้ด้านเทรนด์เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำกลับไปพัฒนาองค์กรหรือเสริมความรู้ให้ก้าวทันเทคโนโลยี เพื่อรองรับประเทศไทยก้าวสู่ Thailland 4.0 บทสรุปมุมมองเกี่ยวกับบุคลากรด้านไอทีของไทย เรามองว่า ยังขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทางตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลาอีกทั้งยังขาดบุคลากรที่มองถึงทิศทางที่เทคโนโลยีใหม่ที่จะเข้ามาในอนาคตสถาบันที่ผลิตบุคลากรไอทีหรือสถาบันฝึกอบรม ก็ควรผลิตบุคลากรที่ตรงกับความต้องการของตลาดปัจจุบันและรองรับเทคโนโลยีที่จะมาในอนาคต ซึ่งหลักสูตรการเรียนการสอนหรือฝึกอบรมต้องปรับเปลี่ยนหลักสูตรให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีปัจจุบันและอนาคตอย่างไรก็ตาม บุคลากรไอทีในองค์กรจะเก่งกาจหรือเชี่ยวชาญสักเพียงใด ความสำเร็จทั้งหมดยากจะเกิดขึ้นได้หากขาดผู้นำองค์กรที่เข้าใจทางด้านไอที เพื่อให้สามารถต่อกรกับคู่แข่งได้ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์รวมถึงคุณสมบัติของบุคลากรด้านไอทีที่ควรมีนอกเหนือจากความรู้ ความสามารถและความชำนาญที่มีความสำคัญต่อองค์กรในยุคปัจจุบันบุคลากรไอทียังควรมีความสามารถทางด้านการคิดแอพพลิเคชั่นได้โดยเฉพาะการนำไอทีใช้ให้เกิดผลในเชิงธุรกิจ อันเป็นที่มาของสตาร์ทอัพที่คนไอทีใฝ่ฝัน
ศิริพงษ์ อุ่นทรพันธุ์ ประธานคณะกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (AIT)