การระบาดของโควิด-19 ทำโลกกลับตาลปัตร ผู้คนไม่กล้าพบกันซึ่งๆ หน้า การบริการด้านสุขภาพจิตยิ่งเป็นเรื่องยากยิ่งกว่าเดิมเมื่อไม่สามารถนัดหมายได้และกลับเป็นเหตุให้ Meru Health สตาร์ทอัพด้านสุขภาพจิต ได้รับเงินสนับสนุนกว่า 8.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างการบำบัดสุขภาพจิตจากที่ไหนก็ได้บนโลกนี้
Meru Health สตาร์ทอัพจากเมือง San Mateo รัฐ California ที่ให้บริการด้านการรักษาด้านสุขภาพจิตให้กับคนไข้ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ จบการระดมทุนในรอบซีรี่ส์เอ โดยมี Foundry Group เป็นผู้ลงทุนในสัดส่วนใหญ่ซึ่งสไตล์การลงทุนของ Foundry Group จะมองหาสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าราว 30-40 ล้านเหรียญฯ เป็นหลัก “Meru คือส่วนที่สำคัญที่จะพา Foundry Group เข้าไปลงทุนซึ่งเกี่ยวข้องกับสาธารณสุข” Brad Feld จาก Foundry Group กล่าว ถึงการลงทุนในสตาร์ทอัพแห่งนี้ ซึ่งนอกจาก Foundry Group การลงทุนรอบซีรี่ส์เอนี้มีนักลงทุนจาก และ Slack และ Bold Capital เข้าระดมทุนด้วยเช่นกัน ซึ่งที่ผ่านมา Meru Health ได้รับเงินระดมทุนอย่างต่อเนื่องอย่างการระดมทุนเมื่อเมษายน 2019 ในรอบ Seed Funding พวกเขาได้รับเงิน 4.2 ล้านเหรียญฯ จากกลุ่มนักลงทุน Freestyle Capital, Bonit Capital, Y Combinator, Lifeline Ventures และ IT-Farm ท่ามกลางผลกระทบของการระบาดจากทั่วโลก สตาร์ทอัพแห่งนี้ดึงดูดนักลงทุนมากที่สุดในปีนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนๆ สตาร์ทอัพที่ให้บริการที่ปรึกษาด้านสุขภาพจิต ขณะที่ไตรมาสแรกของปี 2020 สตาร์ทอัพด้านที่ปรึกษาสุขภาพจิตได้รับการลงทุน 30 ครั้งคิดเป็นเงินระดมทุนกว่า 462 ล้านเหรียญฯ ขณะที่ปี 2019 ตลอดทั้งปีสตาร์ทอัพกลุ่มที่ให้บริการด้านสุขภาพนี้ได้รับเงินระดมทุนถึง 750 ล้านเหรียญฯ จากเปิดเผยของ What If Ventures บริษัทลงทุนที่โฟกัสการลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพด้านสุขภาพ บริษัทหลายๆ แห่งเริ่มขยับตัวและมองหาการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ไม่ว่าจะเป็น "การรักษาทางไกล" หรือ "การให้บริการด้านการแพทย์ผ่านออนไลน์" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Headspace ธุรกิจที่ให้บริการทางการแพทย์ผ่านแอปพลิเคชัน ที่ตั้งอยู่ที่ Los Angeles ได้รับเงินระดมทุนเป็นจำนวน 93 ล้านเหรียญฯ โดยแอปพลิเคชันของพวกเขามีสมาชิกแบบเสียเงินค่าสมัครมากกว่า 1 ล้านราย ขณะที่ Lyra สตาร์ทอัพอีกรายซึ่งตั้งอยู่ที่ San Francisco ก็ได้รับเงินระดมทุนจำนวน 75 ล้านเหรียญฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเช่น Meru Health ก่อตั้งเมื่อปี 2016 เปิดให้บริการออนไลน์กับคนไข้ที่เข้ารับการบำบัดหลักสูตร 12 อาทิตย์ ด้วยการบำบัดภาวะความเครียด ความกดดัน ความกังวลและมูลเหตุอื่นๆ ที่กระทบกับจิตใจ ซึ่งที่จะก่อตั้ง Meru Health แห่งนี้ Kristian Ranta ผู้ก่อตั้งและซีอีโอผู้นี้ผ่านประสบการณ์สร้างสตาร์ทอัพด้านการแพทย์มาแล้วหลายแห่ง แต่หลังการสูญเสียพี่ชายซึ่งป่วยด้วยโรคภาวะซึมเศร้าและเสียชีวิตต่อมาด้วยการทำอัตวิบากกรรม ทำให้ Ranta เริ่มต้นก่อตั้ง Meru Health ขึ้นมา “ผมต้องการให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงการรักษาบำบัดทางจิตที่ดีกว่าที่อยู่” บริการของ Meru Health แตกต่างการบริการแบบดั่งเดิมเพราะคนไข้ต้องสื่อสารกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ผ่านการพิมพ์ข้อความและแพลตฟอร์มออนไลน์ของบริษัทเท่านั้น ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของเขาช่วยให้นักจิตวิทยาของ Meru Health สามารถรักษาคนไข้ได้มากถึง 120 ราย มากกว่าการให้บริการแบบดั่งเดิมที่นักจิตวิทยาสามารถรักษาคนไข้ได้ราว 20 ราย Ranta ไม่ได้เปิดเผยผลประกอบการของ Meru Health ให้ฟัง เขาบอกเพียงว่าในช่วงนี้บริษัทยังไม่สามารถทำกำไรเพราะเราอยู่ในช่วงลงทุนและขยายฐานธุรกิจ ซึ่งความสามารถของ Meru Health ในตอนนี้สามารถให้บริการคนไข้ได้ 700 ราย ในขณะที่มีนักจิตวิทยาเพียง 20 ราย โดยคนไข้ที่ส่งมาจากนายจ้าง เป็นผู้ประกันตน และจากการส่งต่อจากสถาบันด้านจิตแพทย์ ซึ่งหลังจากสถานการณ์โควิด-19 ผ่านพ้น Ranta ประเมินว่าภายในสิ้นปี 2020 Meru Health ให้การรักษาคนที่ราว 1,500 ราย- คลิกอ่านเพิ่มเติม: 14 บริษัทที่ธุรกิจเฟื่องฟูในยาม “ไวรัสโคโรนา” ระบาด
ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine