หรือ 'มาตรการกำแพงภาษี' จะทำให้หมดยุค 'Made in China' ? - Forbes Thailand

หรือ 'มาตรการกำแพงภาษี' จะทำให้หมดยุค 'Made in China' ?

กลายเป็นประเด็นที่น่าจับตามองอีกประเด็นหนึ่งในสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน หลังบริษัทผู้ผลิตจักรยานรายใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Giant Manufacturing เริ่มย้ายฐานการผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อของสหรัฐฯ จากจีนไปยังประเทศไต้หวัน ทันทีที่ Giant ได้ทราบประกาศมาตรการกำแพงภาษีของประธานาธิบดี Donald Trump ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายนนี้

เมื่อ Trump ประกาศเพิ่ม มาตรการกำแพงภาษี เป็น 25% เราจึงต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างจริงจังBonnie Tu ประธานกรรมการ Giant กล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ ในไต้หวัน

Giant คือหนึ่งในบริษัทระดับโลกที่กำลังผลักดันการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศจีน ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่เป็นมิตรที่เพิ่มขึ้นระหว่าง 2 ประเทศมหาอำนาจ ขณะที่ Intel เป็นบริษัทล่าสุดที่ออกมาระบุว่าต้องทบทวนซัพพลายเชนของตนทั่วโลก ส่วน Li & Fung บริษัทซัพพลายเออร์สินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ที่สุดในโลก ระบุว่า สงครามการค้านี้ทำให้บริษัทฯ ต้องออกห่างจากจีน

ปีที่ผ่านมา ฉันสังเกตได้ว่ายุคของ Made in China ที่ส่งขายไปทั่วโลกได้สิ้นสุดลงแล้ว Tu กล่าว ทั้งนี้ ผู้ผลิตจักรยานเสือภูเขาและจักรยานสำหรับแข่งขันอย่าง Giant ได้ปิดโรงงานแห่งหนึ่งในประเทศจีนเมื่อปลายปี 2018 ที่ผ่านมา และย้ายการผลิตตามคำสั่งซื้อของสหรัฐฯ ออกจากประเทศจีน โดย Giant ได้ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วว่ากำลังสร้างโรงงานแห่งใหม่ในประเทศฮังการีตามเทรนด์การย้ายฐานการผลิตไปให้ใกล้กับตลาด

ปัจจุบัน Giant มีโรงงานในไต้หวันและเนเธอร์แลนด์ประเทศละ 1 โรง ส่วนในจีนยังคงมีโรงงานอยู่ 5 โรง ทั้งนี้ ผลจากการปิดโรงงาน 1 แห่งในจีนเมื่อปีก่อน และย้ายการผลิตมาในไต้หวัน ทำให้โรงงานในไต้หวันต้องทำงานเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ กำลังมองหาพาร์ทเนอร์ใหม่เป็นประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลจาก มาตรการกำแพงภาษี ทำให้ Giant กำลังย้ายฐานการผลิตออกจากจีน (ภาพจาก Bloomberg)
 

มาตรการกำแพงภาษี ทำให้โอกาสการแข่งขันไม่เท่ากัน

โลกนี้ไม่แบนอีกต่อไปแล้ว Tu กล่าวโดยใช้คำล้อไปกับหนังสือ The World Is Flat ของ Thomas Friedman มาใช้ ซึ่งชื่อหนังสือเป็นการเปรียบเปรยว่าผู้เขียนมองเห็นโลกเป็นสนามแข่งขันทางการค้าที่มีระนาบแบน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทุกคนมีโอกาสเท่าๆ กันแนวคิดนี้ใช้ไม่ได้กับทุกที่อีกต่อไป Tu ระบุ

ด้าน Spencer Fung มหาเศรษฐีฮ่องกงผู้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Li & Fung สะท้อนว่า จีนกลายมาเป็นโรงงานของโลกก็เพราะความมีประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า และแหล่งวัตถุดิบหาง่าย

“ผู้ผลิตหลายรายลงทุนสร้างโรงงานส่วนใหญ่ในประเทศจีน เพราะจีนมีความสามารถมากพอ แต่สงครามการค้าในปัจจุบันทำให้ผู้คนต้องมาคิดกลยุทธ์ในการหาแหล่งวัตถุดิบอีกครั้ง และหาหนทางกระจายความเสี่ยงจากจีน

ทั้งนี้ ความตั้งใจย้ายฐานการผลิตออกจากจีนอย่างรวดเร็วของ Giant นั้นเป็นที่จับตาของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ ขณะเดียวกัน หลังจากบริษัทฯ คาดว่าในปีนี้บริษัทฯ จะมีกำไรจาก e-bikes ส่งผลให้เมื่อวันจันทร์ที่แล้ว หุ้นของ Giant เพิ่มขึ้น 9.8% สูงที่สุดในประวัติการณ์

Helen Chien และ Anita Li นักวิเคราะห์จาก Daiwa ระบุในรายงานเมื่อวันที่ 5 มิถุนายนว่า การรับรู้ของแบรนด์ระดับโลกอย่าง Giant และการผลิตที่ยืดหยุ่น คือกุญแจสำคัญในการหลีกเลี่ยงการเผชิญกับ มาตรการกำแพงภาษี

Tu กล่าวว่า มาตรการกำแพงภาษีดังกล่าวจะทำให้ราคาเฉลี่ยของจักรยานที่ผลิตจากประเทศจีนแล้วส่งออกไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีก 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถ้าเทียบกับการผลิตจากพื้นที่ปลอดภาษี

Bonnie Tu (ภาพจาก cyclingindustry.news)

อย่างไรก็ตาม Tu ระบุว่า การย้ายฐานการผลิตนั้นก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นด้วย ทั้งค่าจ้างแรงงาน, ระบบหุ่นยนต์ และขนาดเศรษฐกิจที่ไม่เท่ากับจีน โดย Giant ปฏิเสธที่จะตรึงค่าใช้จ่ายในการย้ายฐานการผลิตกำไรของเราจะดีขึ้น หากไม่มีสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม Giant ถึงยังเตรียมพร้อมย้ายฐานการผลิตกลับมาที่จีน หากสหรัฐฯ และจีนยุติความขัดแย้งดังกล่าวหากอเมริกาตัดสินใจยกเลิกมาตรการกำแพงภาษี 25% เราจะกลับไปผลิตที่จีนทันที” Tu กล่าว

    แปลและเรียบเรียงโดย กนกวรรณ มากเมฆ / Online Content Creator   ที่มา