"แรงงานไทย" ในศตวรรษที่ 21: เรื่องเล่าขานของประเทศไทย - Forbes Thailand

"แรงงานไทย" ในศตวรรษที่ 21: เรื่องเล่าขานของประเทศไทย

เป็นที่เข้าใจกันอย่างแพร่หลายในหมู่ผู้กำหนดนโยบายนักการศึกษา ภาคธุรกิจและภาคสังคม ว่า "แรงงานไทย" ในศตวรรษที่ 21 จะต้องใช้ความรู้และทักษะจาก STEM (วิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์, และคณิตศาสตร์) และใหม่ล่าสุดคือวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น

ถึงแม้สังคมไทยจะพูดเรื่องนี้กันบ่อยขึ้น กระนั้นยังมีคำถามที่คงอยู่เสมอคือ “เราสามารถปรับเปลี่ยนการจัดการการศึกษาและการฝึกทักษะของเราได้ตรงความต้องการได้หรือยัง” เราจับคู่กับความต้องการและสร้างทักษะที่เหมาะสมสำหรับงานในวันนี้และอนาคตได้หรือไม่ หลักสูตรของเราให้ความสำคัญกับเนื้อหามากเกินไป แต่ให้ความสำคัญน้อยเกินไปในเรื่องความสามารถหรือเปล่า เรามีการสอนทักษะให้เด็กรู้จักการเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้จากชีวิตจริง และการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือยัง สภาพแวดล้อมในการทำงานทุกวันนี้ การทำงานด้วยมือตามคำสั่งได้ลดน้อยลงไป ในขณะที่งานการวิเคราะห์และในด้านที่เกี่ยวข้องกับการหาโซลูชั่นมีมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นพนักงานทุกคนจึงถูกคาดหวังว่าการทำงานจะต้องเกี่ยวโยงกับการรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องและการทำวิจัย เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับการหารือ อภิปราย และตัดสินใจ ในการประชุมหารือตอนเช้า ซึ่งเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นว่า สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในห้องเรียนกับสภาพแวดล้อมในการทำงานจริงนั้นมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายประเทศได้นำรูปแบบ “Flipped Classroom” มาใช้ โดยครูคาดหวังว่านักเรียนจะทำการรวบรวม ข้อมูล วิเคราะห์ และวิจัย เกี่ยวกับประเด็นปัญหาจากบ้านมาก่อนและนำมาเพื่อหารือและถกแถลงในห้องเรียนในวันถัดไป ห้องเรียนรูปแบบใหม่นี้ถูกออกแบบมาเพื่อเตรียมความพร้อมให้พวกเขาเป็นแรงงานในศตวรรษที่ 21 ในทัศนะของผม แรงงานศตวรรษที่ 21 ที่โรงเรียนต้องเตรียมนักเรียนของพวกเขา คือ 1.การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning): ความสามารถในการอ่าน เขียน สามารถคิดวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน 2.นักคิดริเริ่ม (Innovator): การพัฒนาความสามารถในการคิดนอกกรอบที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ 3.พลเมืองของโลก (Global Citizen): สามารถพูดและอ่านภาษาได้ดีหลายภาษา รวมทั้งเข้าใจวัฒนธรรมที่ต่างกันและอธิบายความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้ การปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ การปฏิรูปที่ผ่านมาเป็นเพียงแค่การปฏิรูปกฎหมายโดยปราศจากการดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จการปฏิรูปครั้งหน้าจึงควรระดมความคิดให้เกิดความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจะได้ผลที่ดีกว่า โดย ปิยบุตร ชลวิจารณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรองประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันคีนันแห่งเอเชีย
คลิกอ่านฉบับเต็ม "แรงงานไทยในศตวรรษที่ 21: เรื่องเล่าขานของประเทศไทย" และบทความทรงคุณค่า เพิ่มได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand Magazine ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ในรูปแบบ e-Magazine