ภาพรวมการลงทุนอสังหาฯ ยุคเปลี่ยนทุนเม็ดเงินเปลี่ยนทิศ - Forbes Thailand

ภาพรวมการลงทุนอสังหาฯ ยุคเปลี่ยนทุนเม็ดเงินเปลี่ยนทิศ

ภาพรวมการลงทุนอสังหาฯ เวลานี้ไม่เพียงแต่เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่ความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนต่างชาติก็เปลี่ยนเร็วเช่นกัน โดยการลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ในไทยของกลุ่มทุน ต่างชาติในรอบ 5-6 ปีที่ผ่านมา จากกลุ่มยุโรป มาสู่กลุ่มทุนญี่ปุ่น และขยับไปกลุ่มทุนจีน

บริบทเหล่านี้เป็นบทสะท้อนความเปลี่ยนแปลงของเม็ดเงินที่จะมีผลกับรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ และแม้ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยและสถานะทางการเมืองจะยังมีความผันผวน แต่อสังหาริมทรัพย์ไทยยังมีเสน่ห์ที่จะดึงดูดกลุ่มทุนต่างชาติ สถานการณ์ตลาดในวันนี้ กำลังจะเปลี่ยนรอบใหม่ ทุนหน้าเดิมยังอยู่ ควบคู่กับการมีกลุ่มทุนใหม่เข้ามา แต่ทิศทางของเงินมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไปทุน

ต่างชาติเคลื่อนลงมิกซ์ยูส

การลงทุนของต่างชาติมีแนวโน้มที่เปลี่ยนไป ทั้งรูปแบบการลงทุนขนาดเม็ดเงินที่นำมาลงทุน และ คอนเซปท์การพัฒนาโครงการ อลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ฉายมุมมอง ความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนต่างชาติที่มีต่อภาพรวม ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยว่า ในเชิงการลงทุนโครงการ ขนาดใหญ่ นักลงทุนต่างชาติเริ่มเข้ามาลงทุนในโครงการ อสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ตั้งแต่ปี 2556 โดยเข้าร่วม ลงทุนในโครงการคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ต่อมา มีการขยายการลงทุนระยะยาวมากขึ้น เช่น การลงทุนในโครงการอาคารสำนักงาน เซอร์วิสอะพาร์ตเมนต์ และโรงแรม ตัวอย่างการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ เช่น ที่ดินสถานทูตอังกฤษ ซึ่งจะมีการพัฒนาเป็นโครงการมิกซ์ยูส ที่ทางเซ็นทรัลพัฒนา (CPN) จับมือกับ Hongkong Land, โครงการ One City Centre ซึ่งเป็นการร่วมทุน ระหว่างไรมอน แลนด์ กับ Mitsubishi Estate หรือโครงการบ้านเดี่ยวอย่าง Lake Forestry ที่พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค ร่วมกับ Sumitomo Forestry

จีนมองไทยเป็นบ้านหลังที่ 2

ขณะที่ในเชิงการลงทุนแบบรายย่อยรอบ 3-5 ปี ที่ผ่านมา อลิวัสสากล่าวว่า นักลงทุนต่างชาติรายย่อยจะเข้ามาลงทุนในคอนโดมิเนียมมากที่สุดโดยเฉพาะ ประเทศจีน ซึ่งการซื้อขายที่ผ่านมามีทั้งกลุ่มที่ ลงทุนแบบเก็งกำไรระยะสั้น นักลงทุนระยะยาว และชาวต่างชาติที่เข้ามาซื้อเพื่อเป็นบ้านหลังที่ 2 โดย มุมมองนักลงทุนต่างชาติเห็นว่าอสังหาริมทรัพย์ไทย ยังมีราคาไม่สูงนักเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพที่ได้ อีกทั้งภาษีอากรและค่าโอนอยู่ในระดับต่ำ ตลอดจนกฎหมายที่เปิดกว้างให้สิทธิต่างชาติซื้อคอนโดมิเนียมแบบฟรีโฮลด์ได้ 49% ของจำนวนพื้นที่ขายโครงการ

อุตสาหกรรม-โลจิสติกส์ยังเนื้อหอม

ไม่เพียงตลาดที่อยู่อาศัยเท่านั้นแต่อสังหาริมทรัพย์เพื่ออุตสาหกรรมก็มีโอกาสไม่น้อย สุพินท์ มีชูชีพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงภาพรวมการลงทุนโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ในไทยของนักลงทุน ต่างชาติว่า ในปีนี้กลุ่มทุนต่างชาติยังคงให้ความสนใจการลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ในไทยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมทุนโดยตรง หรือผ่านบริษัทลูก ในไทย โดยมองว่า โครงการบางประเภทยังคงมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ แม้จะมีการแข่งขันสูง นอกจากนี้ ยังมีตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นๆ อีกที่มีแนวโน้มว่าจะมีความต้องการขยายตัว เช่น อสังหาริมทรัพย์ในภาคอุตสาหกรรมและโลจิสติกส์ตัวอย่างของการร่วมทุนรายการสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ ได้แก่ JD.Com ผู้ดำเนินธุรกิจด้านอี-คอมเมิร์ซรายใหญ่ของประเทศจีน ได้ประกาศร่วมทุนกับ บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เช่นเดียวกับบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ของตระกูลสิริวัฒนภักดี ได้ประกาศร่วมทุนกับพันธมิตร สหไทย เทอร์มินอล ผู้นำการให้บริการท่าเรือและโลจิสติกส์แบบครบวงจรของประเทศไทย เพื่อลงทุนพัฒนาโครงการโลจิสติกส์พาร์ก และศูนย์กระจายสินค้าในเขตพื้นที่ขอบเมืองกรุงเทพฯ

รายย่อยยังเน้นคอนโดฯ ใจกลางเมือง

ด้านการลงทุนโดยนักลงทุนรายย่อยชาวต่างชาติ สุพินท์กล่าวว่า ยังคงเป็นการลงทุนในตลาดคอนโดมิเนียม ซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ประเภทเดียวที่สามารถลงทุนได้ แต่การลงทุนซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อปล่อยเช่าได้รับ ความนิยมลดลง ทั้งในหมู่ชาวไทยและต่างชาติ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ เนื่องจากมียูนิตจากโครงการที่ทยอยสร้างเสร็จเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถูกปล่อยเช่า ทาให้ตลาดเช่ามีการแข่งขันสูงขึ้นต่อเนื่อง อีกทั้งยังให้ ผลตอบแทนการลงทุนลดลง เนื่องจากค่าเช่าไม่ขยับขึ้น ตามราคาขาย

“คอนโดเทล” เช่ารายวันมาแรง

อีกหนึ่งแนวโน้มที่น่าสนใจ คือ การพัฒนา “คอนโดเทล” โดยสุพินท์กล่าวว่า ในขณะที่ ตลาดเช่ามีการแข่งขันสูง และการปล่อยเช่าระยะสั้น ให้นักท่องเที่ยวยังเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย จึงเริ่มมี ผู้พัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมในไทย ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองท่องเที่ยวหลักๆ หันมาพัฒนา “คอนโดเทล” มากขึ้น โดยเป็นอาคารคอนโดมิเนียมที่ขอใบอนุญาตดำเนินธุรกิจโรงแรมควบคู่ เนื่องจากได้รับการออกแบบ จัดสรรสิ่งอำนวยความสะดวก และบริหารจัดการ ตามแบบโรงแรม โดยขายกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ซื้อรายยูนิต เช่นเดียวกับคอนโดมิเนียมทั่วไป แต่สามารถให้ ผู้บริหารงานเช่านำยูนิตเสนอเช่าระยะสั้นได้ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติให้ความสนใจเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มทุนต่างชาติเหล่านี้ ไม่ได้ เป็นกลุ่มทุนรายใหม่ เป็นกลุ่มทุนที่เคยลงทุนในตลาด อสังหาริมทรัพย์ไทยอยู่แล้วในกลุ่มที่อยู่อาศัยกับ ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์รายอื่นๆ ในตลาด แต่ขยับขยายการลงทุนไปสู่รูปแบบการลงทุนใหม่ๆ ที่เน้นโครงการเชิงพาณิชย์มากขึ้น จึงไม่แปลกที่จะต้องดึงทุนต่างชาติเข้ามาเสริมทัพ เพราะนอกจากจะได้กำลังเสริมทางด้าน การเงินแล้ว ในอนาคตหากโครงการแล้วเสร็จ กลุ่มทุน ต่างชาติจะเป็นเครือข่ายในการดึงนักลงทุนรายย่อย ผู้ซื้อ ผู้ใช้บริการเข้าสู่โครงการด้วย นั่นหมายถึง ไม่ใช่เพียงเงินทุน ที่ผู้ประกอบการไทยต้องการ แต่ยังคาดหวัง ฐานลูกค้าในอนาคตที่กว้างกว่าตลาดคนไทย เรื่อง: ฐิตาภา ญาณพัฒน์
คลิกเพื่ออ่านบทความทางด้านการลงทุนได้ที่ Forbes Life แถมฟรีมาในนิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2019 ในรูป e-Magazine