ต่อเนื่องจากบทความในเดือนที่แล้ว ในบทความชิ้นนี้ ผมขอนำเสนอแง่มุมที่สำคัญเกี่ยวกับ Power Skills ในอีก 2 ประเด็นคือ 1.Power Skills คือทักษะที่สร้างได้จริงหรือ? และ 2. แนวทางการทำให้ได้ผลจริงในองค์กร
1.Power Skill คือทักษะที่สร้างได้จริงหรือ?
คำตอบของผมแบบไม่โลกสวย คือทำได้แน่นอน แม้จะไม่ง่าย โดยผมขอสรุปประเด็นหลัก 3 ข้อ ที่ต้องคำนึงถึงดังนี้ 1.1 ผู้จำเป็นต้องได้รับการ “อัพสกิล” “รีสกิล” จะต้องมีความตระหนักก่อนว่าตัวเขาเองขาดทักษะเหล่านั้น คนเรามักไม่รู้ตัวว่าเราไม่รู้อะไร โชคดีที่หลายองค์กรจะมีการกำหนด Competencies และก็คอยเติมเรื่องเหล่านี้ให้คนในองค์กร อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการตระหนักรู้ในสิ่งที่ขาด การพัฒนา Power Skills ต้องเป็นการพัฒนาที่จะนำไปสู่การยกระดับขีดความสามารถหรือศักยภาพ (Capability) และนำไปสู่ในการสร้างผลลัพธ์ในอนาคต ไม่ใช่เพียงปัจจุบัน อาทิ ในการพัฒนาศักยภาพของทีมขายจากการขาย “สินค้า” มาสู่การขาย “บริการ” ทีมขายจะต้องมีการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ เช่น ความสามารถในการทำความเข้าใจความต้องการลึกๆ ของลูกค้าผ่านการฟังอย่างมี Empathy การวิเคราะห์จากการฟังและจากข้อมูล การหาแนวทางแก้ปัญหา สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาช่วยแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจได้ ฯลฯ 1.2 มีความเข้าใจในเรื่องของ Adult learning: หลุมพรางของการสร้างทักษะคือการให้คนไปเรียนอย่างเดียว และโดยเฉพาะสำหรับการเรียนรู้ในระดับผู้ใหญ่ (Adult Learning) นั้นการเรียนรู้จากประสบการณ์หรือ Experiential Learning โดยมีคนช่วยวางรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยใช้สูตร “70:20:10” คือเรียน 10% แล้วทบทวนผ่านการโค้ชหรือมีคนช่วย 20% เพื่อเปลี่ยนจากความ “รู้” สู่ “ความเข้าใจ” และสุดท้ายอีก 70% ผ่านการปฏิบัติจริงกับงานที่ได้รับ หรือใช้วิธีที่เรียกว่า “Learning in the flow of work” เพื่อเปลี่ยน “ความเข้าใจ” สู่ “ทักษะ” จนเป็น “พฤติกรรม” และ “นิสัย” ที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ธุรกิจจริงๆ ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาที่เข้ามาช่วยองค์กรทำตรงนี้ จะต้องเข้าใจบริบทและสามารถแนะนำรูปแบบการเรียนรู้ต่างๆ มาเสริมทั้งกระบวนการ เช่น จัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิด ตั้งคำถามชวนคิด ทำ Community of Practice หรือ การพัฒนาหรือสนับสนุนให้หัวหน้างานมีการแลกเปลี่ยนมุมมองกับลูกน้องและทีมงานได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมในทุกๆ โอกาส1.3 มีระบบนิเวศน์ที่พร้อมใช้ การมีคอนเทนท์ หรือหลักสูตรเยอะๆ ที่เน้นแต่ปริมาณ หรือแม้ว่าเนื้อหานั้นจะเป็นเนื้อหาที่ดีนั้นยังไม่เพียงพอ หากระบบนิเวศน์ทั้งหมดไม่พร้อมใช้ หรือไม่เหมาะสมในทางปฏิบัติ การมีระบบนิเวศน์ที่ดีนั้นหมายถึงว่า เราควรมีเนื้อหา เครื่องมือ ตลอดจนคนที่สามารถช่วยแนะนำให้คำปรึกษาได้ ในเวลาที่เหมาะสม เทรนด์การเรียนรู้อันหนึ่งที่มาแรงคือ Micro Learning ที่เป็นคลิปวิดีโอสั้นๆ เข้าใจง่าย ที่สามารถเสริมในสิ่งที่เราอาจจะเข้าใจแล้ว แต่ให้สามารถพลิกแพลงไปตามสถานการณ์ได้มากขึ้น เช่น ในฐานะหัวหน้างาน เราอาจมีความเข้าใจดีแล้วว่าการให้ฟีดแบคที่ดีนั้นควรทำอย่างไร แต่ในกรณีที่เจอเรื่องยากๆ คนยากๆ จะฟีดแบคยังไง เช่น ถ้าฟีดแบคแล้วน้องร้องไห้ หรือท้าตีท้าต่อย เราควรจะทำอย่างไร?2.แนวทางการทำให้ได้ผลจริงในองค์กร
การทำจริงให้เห็นผล ควรเริ่มจากการนำเป้าหมายของธุรกิจมาเป็นตัวตั้งก่อน แล้วจึงดูว่าองค์กรต้องการพฤติกรรมใด ทักษะใด ในเรื่องใดที่คนต้อง “อัพสกิล” “รีสกิล” แล้วจึงมาออกแบบแนวทางการพัฒนา ถ้าองค์กรสามารถกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน วัดผลได้ และมีเป้าหมายเชิงพฤติกรรมที่ต้องทำสม่ำเสมอจาก “ทักษะ” ได้ การทำจริงให้ได้ผลอย่างเชื่อมโยงกันก็จะชัดเจน สิ่งที่ผมชอบที่สุดในการทำงานเป็นที่ปรึกษากับ PacRim Group คือเราเน้นผลลัพธ์ เน้นการลงมือทำ และทำให้จับต้องได้ มากกว่าแค่การนำเนื้อหาหลักการดีๆ ไปสร้างแรงบันดาลใจไม่กี่วัน แล้วก็แยกย้าย ทางใครทางมัน การมี World-Class Principles และ Frameworks ที่ดี จะสูญเปล่า หากปราศจากการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเข้าใจ และเน้นการปรับให้เหมาะกับบริบทขององค์กรก่อน จากนั้นจึงลงมือทำด้วยความร่วมแรงร่วมใจ และเป็น “Trusted Partner” ที่ช่วยเสริมแรงซึ่งกันและกัน ปัจจุบัน เราได้เห็นองค์กรชั้นนำทั้ง “ไฮเทค” และ “ไฮทัช” ที่หันมาให้ความสำคัญกับ Power Skills กันเป็นจำนวนมาก อาทิ Facebook ที่กำหนดให้ Data Scientists และพนักงานทุกคน ต้องเรียนและฝึกฝนทักษะที่เรียกว่า Crucial Conversations โดยจับมือกับ VitalSmarts เจ้าของหลักสูตรนี้ เพื่อให้คนของเขา กล้าพูดเรื่องยากๆ ที่สำคัญๆ กล้ามีข้อโต้แย้ง และพูดตรงได้อย่างเปิดเผย ในขณะที่ยังรักษาไว้ได้ทั้งผลลัพธ์และความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน หรืออย่าง Satya Nadella ซีอีโอ Microsoft ที่จะพูดถึง Growth Mindset ในทุกที่ที่เขาไป เพราะการมีกรอบความคิดเชิงเติบโตนี่เองที่ทำให้บริษัทที่เคยเป็นยักษ์หลับอย่างไมโครซอฟท์กล้าก้าวออกจากพื้นที่ธุรกิจเดิม มาเติบโตธุรกิจใหม่ๆ และเป็นบริษัทใหญ่ที่สร้าง disruptions ให้วงการได้อีก และล่าสุดผมและทีมงาน PacRim Group มีโอกาสช่วยองค์กรแห่งหนึ่งพัฒนาทักษะการนำการประชุมแบบ Virtual ดูเผินๆ เรื่องนี้อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อยมาก หลายองค์กรก็บอกว่า เก่งแล้ว รู้หลักการแล้วว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่สิ่งที่เราพบคือ หากปราศจากทักษะที่จำเป็นก็ยากที่จะนำการประชุมให้เกิดผลสัมฤทธิ์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่ผมเชื่อว่าทุกคนอาจจะกำลังเหนื่อยกับการประชุมผ่านหน้าจอทั้งวัน ทั้งคืนมากๆ การลดเวลาการประชุมแต่คงไว้ซึ่งประสิทธิผล สร้าง Productivity ในการทำงานและลดความเหนื่อยล้า สามารถช่วยคืนกำไรให้ชีวิตคนทำงานได้มหาศาล และนี่ก็คือตัวอย่างเล็กๆ ของ Power Skill ที่อาจดูเหมือนน้อยนิด แต่ทรงพลัง และสามารถสร้างผลลัพธ์จับต้องได้ให้กับองค์กร บทความโดย อภิวัฒน์ ปุญญฤทธิ์ Consultant and Innovation Specialist Info@pacrimgroup.com ---------------------------------------- เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจสู่โลกอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว PacRim Group (www.pacrimgroup.com) ได้นำ Power Skills จาก Partners ระดับโลกทั้ง Franklin Covey, Vital Smarts, GP Strategies และ DPI ร่วมกันทำเนื้อหาเป็นภาษาไทย โดยทีมที่ปรึกษาของบริษัท ในรูปแบบ Micro Learning VDO 3-5 นาที สั้นๆ ดูง่ายๆ กว่า 100 เรื่องครอบคลุมทักษะที่จำเป็น (ครอบคลุม 10 ทักษะจาก WEF และมากกว่า) ที่จะช่วยจุดประกาย Mindset และเสริมทักษะ รวมถึงให้ Tips & Tricks เพื่อการใช้เวลาอย่างประหยัดแต่นำไปฝึกฝนใช้ได้จริง ซึ่งหากผู้อ่านสนใจสามารถติดต่อคุณเบ็ญจวรรณ์ งามระลึก โทร. 083-495-6915 อีเมล: benjawan@pacrimgroup.com หรือคลิกอ่านรายละเอียด https://pacrim.link/Power อ้างอิง -The Hybrid Job Economy: How new Skill is rewriting the DNA of Job market (Burning Glass Technologies) https://www.burning-glass.com/research-project/hybrid-jobs/ -Harvard Business Review: Thriving in the age of hybrid work https://hbr.org/2021/01/thriving-in-the-age-of-hybrid-work -Let’s Stop Talking About Soft Skills: They’re Power Skills by Josh Bersin https://joshbersin.com/2019/10/lets-stop-talking-about-soft-skills-theyre-power-skills/ - The Future of Jobs & Jobs of Tomorrow Mapping Opportunity in the New Economy by World Economic Forum https://www.weforum.org/reports/the-future-of-jobs-report-2020/digest https://www.weforum.org/agenda/2020/10/5-thing-to-know-about-the-future-of-jobs/ไม่พลาดเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine