อี-คอมเมิร์ซ ธุรกิจ Megatrend ดาวเด่นในยุค New Normal ที่ได้ประโยชน์จากมาตรการ Lockdown ในช่วงที่ผ่านมา และสามารถตอบโจทย์พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคต่างมุ่งหน้าเข้าสู่โลกแห่งการค้า
ถึงแม้ว่าล่าสุดหลายประเทศจะเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown แล้ว แต่ก็มีแนวโน้มว่าการใช้บริการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์ทั่วโลกหรือ อี-คอมเมิร์ซ จะยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ Statista ได้คาดการณ์ว่าในปี 2023 ยอดขายสินค้าของกลุ่มธุรกิจ E-commerce ทั่วโลก (Retail E-commerce Sales) จะเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ในปี 2020 กว่า 55% และจากรายงานของ Kount ระบุว่า Mobile E-commerce ทั่วโลกนั้นมีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมียอดขายเพิ่มเป็น 3 เท่าในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา (จากต่ำกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2016 เพิ่มขึ้นมาเกือบ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2020) ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2021 ยอดขาย Mobile E-commerce ทั่วโลกจะเติบโตสู่ระดับ 3.56 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หากเปรียบเทียบสัดส่วนยอดขาย E-commerce ค้าปลีก (Retail E-commerce Sales) ทางฝั่งเอเชียแปซิฟิกกับสหรัฐฯ (North America) จะเห็นได้ว่า ยอดขาย E-commerce ค้าปลีกทางฝั่งสหรัฐฯ ยังเติบโตน้อยเมื่อเทียบกับทางฝั่งเอเชียฯ โดยข้อมูลจาก eMarketer ระบุว่า ยอดค้าปลีกผ่านทาง E-commerce ในฝั่งเอเชียฯ ในปี 2020 มีสัดส่วนถึงร้อยละ 42.3 ของยอดค้าปลีกทั่วโลก หรือราว 2,448.33 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับฝั่งสหรัฐฯ ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 22.9 หรือราว 749 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น ขณะที่มีการคาดการณ์ว่า ยอดขาย E-commerce ค้าปลีกของสหรัฐฯ ในปี 2020 จะเติบโตร้อยละ 18 จากทั้งจำนวนผู้ซื้อสินค้า (Digital Buyers) และการใช้จ่ายสินค้าที่เพิ่มขึ้น จึงมีแนวโน้มว่า ยอดขาย E-commerce ค้าปลีกทางฝั่งสหรัฐฯ จะสามารถเติบโตได้อีกมาก ถ้ามาดูที่ผลประกอบการไตรมาสสองปี 2020 ของหุ้นในกลุ่ม E-commerce จะพบว่า สามารถเติบโตได้ดีสวนทางกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ยกตัวอย่างเช่น Amazon ผู้นำธุรกิจ E-commerce ซึ่งมีรายได้เติบโตร้อยละ 40 YoY อยู่ที่ระดับ 88.91 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเติบโตทุกส่วนธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากธุรกิจ E-commerce ในสหรัฐฯ (North America Segment) ที่เติบโตร้อยละ 43 YoY และนอกสหรัฐฯ (International Segment) ที่เติบโตร้อยละ 38 YoY รวมถึงมีรายได้ผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้นร้อยละ 48 YoY ซึ่งคาดการณ์ว่าในไตรมาสสามปีนี้ จะมีอัตราการเติบโตของรายได้ประมาณร้อยละ 24-33 ตัวอย่างถัดมาคือ Shopify เป็นบริษัทที่ทำระบบหรือ E-commerce Platform ที่ช่วยให้ธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการมีหน้าร้านขายสินค้าออนไลน์ สามารถสร้างหน้าร้านขายสินค้าได้ด้วยตนเอง ซึ่งมีรายได้เติบโตขึ้นกว่าร้อยละ 97 YoY อยู่ที่ระดับ 714.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (มากกว่าคาดที่ 513.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยยอดขายสินค้าออนไลน์รวม (Gross Merchandize Volume: GMV) เติบโตถึงร้อยละ 119 อยู่ที่ 30.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีตัวเลขร้านค้าใหม่ (New Stores) ที่ถูกสร้างขึ้นผ่าน Platform ของ Shopify เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 71 QoQ และตัวอย่างสุดท้ายคือ Paypal เปรียบเสมือนธนาคารแห่งหนึ่ง แต่เป็นธนาคารในรูปแบบออนไลน์ ที่อำนวยความสะดวกในการบริการรับเงิน ฝากเงิน และดูแลการชำระเงินระหว่างคู่ค้า ซึ่งมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 YoY อยู่ที่ระดับ 5.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (มากกว่าคาดที่ 4.99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) มีจำนวน New Active Accounts เพิ่มขึ้นมากที่สุดเป็นประวัติการณ์อยู่ที่ 21.3 ล้านบัญชี โดยคาดว่าในไตรมาสสามปีนี้ รายได้จะสามารถเติบโตได้ประมาณร้อยละ 25 ในแง่ของผลการดำเนินงาน (Performance) ของกองทุนที่ใช้เป็นตัวแทนกลุ่มธุรกิจ Global E-commerce อย่าง กองทุน Amplify Online Retail ETF ย้อนหลัง 1 ปี (As of July 31, 2020) สามารถทำผลตอบแทนได้สูงถึงร้อยละ 76.13 ในขณะที่ดัชนี SET Index ของไทยที่ปรับตัวลดลงติดลบร้อยละ 20.26 ในช่วงเวลาเดียวกัน นั่นเท่ากับว่าในหนึ่งปีที่ผ่านมา หุ้นกลุ่ม อี-คอมเมิร์ซ สามารถสร้างผลตอบแทนได้มากกว่าหุ้นไทยเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ บทความโดย ณัฐกฤติ เหล่าทวีทรัพย์ Head of Wealth Advisory ธนาคารทิสโก้ไม่พลาดบทความด้านธุรกิจที่น่าสนใจอื่นๆ ของเรา ติดตามเราได้ที่ เพจเฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine