Homei Miyashita นักวิจัยชาวญี่ปุ่นพัฒนาตะเกียบไฟฟ้า ซึ่งมีส่วนช่วยในการเพิ่ม “รสเค็ม” ให้แก่อาหาร เพื่อจำกัดปริมาณเกลือในร่างกายของผู้บริโภค

ตะเกียบคู่นี้ ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยศาสตราจารย์
Homei Miyashita จาก Meiji University ร่วมกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่ม
Kirin Holdings Co. สามารถช่วยเพิ่ม
“รสเค็ม” ให้แก่อาหาร ด้วยการจ่ายกระแสไฟฟ้าจากเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สวมอยู่บนข้อมือของผู้บริโภค เพื่อดึง
"ไอออนของโซเดียม" ของเกลือที่ปะปนในอาหาร สัมผัสกับตุ่มรับรสบนลิ้นของผู้บริโภคได้มากขึ้น
“เป็นผลให้รู้สึกเค็มเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า” Miyashita กล่าว
นอกจากนี้ Miyashita ยังได้สำรวจวิธีการต่างๆ ที่เทคโนโลยีสามารถโต้ตอบและกระตุ้นประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสของมนุษย์ ซึ่งในท้ายที่สุด เขาก็ได้
พัฒนาจอทีวีที่สามารถเลียนแบบรสชาติอาหารต่างๆ ได้
ขณะที่ตะเกียบเพิ่มรสเค็มดังกล่าว คาดว่าจะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในวัฒนธรรมการกินของญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี ด้วยรสชาติของอาหารแบบเดิมที่เน้นไปทางเค็ม เนื่องจากชาวญี่ปุ่นโดยเฉลี่ยบริโภคเกลือประมาณ 10 กรัมต่อวัน ซึ่งเป็น 2 เท่าของปริมาณที่แนะนำโดยองค์การอนามัยโลก
เพราะฉะนั้นปริมาณโซเดียมที่มากเกินไป จึงอาจมีส่วนในการเพิ่มโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ
"เพื่อป้องกันโรคเหล่านี้ เราจำเป็นต้องลดปริมาณเกลือที่เราใช้" นักวิจัย Kirin Ai Sato กล่าว
"ถ้าเราพยายามหลีกเลี่ยงการรับประทานเกลือน้อยลงในแบบปกติ เราจะต้องทนต่อความเจ็บปวดจากการตัดอาหารที่เราโปรดปราน”
ปัจจุบัน Miyashita และ Kirin กำลังปรับแต่งต้นแบบตะเกียบของพวกเขา และหวังว่าจะทำการตลาดได้ในช่วงต้นปีหน้า
แปลและเรียบเรียงจากบทความ Japan researchers develop electric chopsticks to enhance salty taste โดย ชญาน์นัทช์ ธนินท์พงศ์ภัค เผยแพร่บน cnn.com
อ่านเพิ่มเติม:
เครือโรงแรมระดับโลก เดินหน้าขยายธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก รองรับดีมานด์หลังโควิด