ทฤษฏี Modern Portfolio Theory นับเป็นรากฐานสำคัญในการบริหารจัดการทางการเงินของโลก แต่นักคณิตศาสตร์จาก Boston คู่นี้ยกเครื่องทฤษฎีการจัดพอร์ทสู่อีกระดับ และสามารถเอาชนะตลาดได้อย่างประสบความสำเร็จ
ในบรรดานักวิชาการทั้งหลาย มีน้อยคนนักที่จะผลิตผลงานให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระดับโลกได้เท่า Harry Markowitz บิดาของทฤษฎีจัดพอร์ทลงทุนสมัยใหม่ Markowitz สร้างทฤษฎีต้นแบบอันนี้เมื่อเขาเป็นนักศึกษาปริญญาเอกในวัยแค่ 23 ปีที่ University of Chicago ในปี 1950 ต่อมาเขาก็ได้รับรางวัล Nobel จากผลงานนี้ในปี 1990 จัดการด้านการเงินทั้งหลายต่างใช้แนวทางตามทฤษฎีดังกล่าวในการค้นหาหุ้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีสุดผ่านการประเมินสมมติฐานด้านความเสี่ยง ปัจจุบันระบบ mean-variance optimization หรือ efficient frontier ของ Markowitz ถูกนำไปใช้ในซอฟต์แวร์ของที่ปรึกษาทางการเงินมากมายในการจัดการพอร์ทการลงทุน ทว่า ทฤษฎีดังกล่าวก็มีช่องโหว่สำคัญเช่นกันเครื่องมือเชิงคณิตศาสตร์ที่ Markowitz ใช้นั้นไม่ค่อยยืดหยุ่นเท่าไร โดยในโลกการซื้อขายหุ้นและตราสารหนี้ของจริงซึ่งห้อมล้อมไปด้วยข่าวสารที่คลุมเครือนั้นผลลัพธ์บางครั้งอาจจะไม่เป็นไปตามที่คาดได้ที่ New Frontier Advisors บริษัทจัดการสินทรัพย์ที่เต็มไปด้วยบุคลากรระดับปริญญาเอกใน Boston องค์กรนี้ใช้กลไกกองทุนรวมซึ่งมีหน่วยซื้อขายในตลาดในราคาไม่สูงนัก ตอบโจทย์การลงทุนได้เหนือกว่า Markowitz ในเวลากว่าทศวรรษที่ผ่านมา ลูกค้าของบริษัทหลายคนเอาชนะตลาดในดัชนีหุ้นและตราสารหนี้ได้ราว 1-2% หลังหักค่าธรรมเนียมแล้ว โดยสินทรัพย์ของบริษัทตอนนี้พุ่งไปเกือบ 3 พันล้านเหรียญแล้ว “ทฤษฎีของ Markowitz มีคำอธิบายอย่างเป็นเหตุผลและสะท้อนพฤติกรรมของนักลงทุนที่มีความรอบรู้” Richard Michaud นักคณิตศาสตร์ที่จบจาก Boston University และเป็นผู้ก่อตั้ง New Frontier วัย 75 ปีกล่าวและว่า “แต่เมื่อคุณลองที่จะใช้มันแล้วคุณจะรู้สึกว่ามันไม่สามารถใช้ได้จริง” Michaud เผยว่าการใช้สมการของ Markowitz เพียงอย่างเดียวบางทีก็ให้ผลการจัดพอร์ทการลงทุนที่แปลกประหลาดออกมา ตัวอย่างเช่น การคำนวณ efficient frontier ของเจ้าของรางวัล Novel คนนี้ อาจแนะนำจัดพอร์ทให้โดยมีหุ้นในประเทศบราซิล 25% ส่วนอีก 30% ไปลงในหุ้นตัวเล็กๆ ในกิจการที่ต่างออกไป แต่ที่ปรึกษาทางการเงินส่วนใหญ่จะมองว่าการจัดสรรพอร์ทแบบนี้มันเป็นการให้น้ำหนักที่มากเกินไปกับสองกลุ่มนี้นักวิเคราะห์แก้ปัญหานี้โดยตั้งเพดานว่าหุ้นกลุ่มเหล่านี้น่ามีจำนวนเปอร์เซ็นต์เท่าไรในพอร์ท ซึ่งการทำลักษณะนี้แปลว่าเขามองข้ามทฤษฎีอันทรงพลังของ Markowitz ไปเรียบร้อยตั้งแต่เริ่มแรก “เกือบทุกๆ ซอฟต์แวร์การจัดการลงทุนมีความลับที่ไม่ดีนักซ่อนอยู่เสมอ มันไม่ได้ปล่อยให้ทฤษฎีเข้าไปช่วยจัดพอร์ทการลงทุนได้อย่างเต็มที่” Robert ลูกชายอายุ 44 ปีของ Richard กล่าว ทั้งนี้ เขาช่วยพ่อเขียนโปรแกรมการลงทุนตั้งแต่อายุ 12 ปี ต่อมาเขาตัดสินใจออกจากการเรียนปริญญาเอกด้านการเงินจาก Anderson School ที่ UCLA และหันมาร่วมงานกับ New Frontier ในปี 2001 “ซอฟต์แวร์จะกำหนดให้ผู้ใช้เป็นคนป้อนข้อมูลลงไปว่าอยากได้พอร์ทแบบไหน” Robert ระบุ ครอบครัว Michaud ไม่ใช้วิธีการป้อนข้อมูลการประเมินที่ยังเชื่อถือได้น้อยสู่ระบบคอมพิวเตอร์พวกเขาสร้างชั้นแบบจำลองนับพันของ Monte Carlo ซึ่งเป็นเทคนิคทางคณิตศาสตร์ผ่านวิธีการสุ่ม โดยสร้างผลลัพธ์ที่เป็นไปได้สำหรับหุ้นแต่ละตัวและกลุ่มหลักทรัพย์ จากนั้นพวกเขาก็ใช้เทคนิคคณิตศาสตร์ขั้นสูงออกแบบพอร์ทที่คิดว่าจะสร้างผลตอบแทนได้ดีสุดจากหลายๆ ทางเลือก วิธีการนี้จะช่วยสร้างพอร์ทที่ปรับค่าความเสี่ยงที่ดีที่สุดออกมาได้ใช่ว่าทุกคนจะเห็นด้วยกับวิธีการของ Michaud “สิ่งที่เขาพวกกำลังทำอยู่ สำหรับในเชิงทฤษฎีแล้วเป็นสิ่งที่ผิด” John Liechty ศาสตราจารย์ที่ Penn State กล่าว แม้กระนั้นก็ตาม Markowitz ยังให้การยอมรับในศักยภาพของ New Frontier “ผมเคยประเมินว่า ผมจะสามารถสร้างกลไกที่จะเอาชนะ Michaud ได้ในการลงทุน แต่ผมต้องยอมรับว่าเขาเป็นผู้ชนะ”Markowitz วัย 89 ปีกล่าว เขามอง
คลิกอ่าน "พ่อลูกกูรูจัดพอร์ทการลงทุน” ฉบับเต็มได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับ กรกฎาคม 2560 ในรูปแบบ e-Magazine
