เทรนด์เทคโนโลยี AI และการปรับตัวของธุรกิจโลจิสติกส์
หลายๆ อุตสาหกรรมประสบความสำเร็จในการปรับใช้เทคโนโลยี AI (artificial intelligence) ให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจในแต่ละวัน เช่น อุตสาหกรรมการผลิตและวิศวกรรม โดย AI ถูกใช้งานในสายการผลิตเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการผลิตและการบำารุงรักษา โดยอาศัยการจดจำเป็นรูปภาพและอินเทอร์เฟซการสนทนา
ส่วนในอุตสาหกรรมยานยนต์ AI ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางเพื่อปรับปรุงความสามารถด้านการเรียนรู้ด้วยตนเองของรถยนต์ไร้คนขับ นอกจากนี้ ยังมีตัวอย่างอีกมากมายที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของ AI ซึ่งสามารถพลิกอุตสาหกรรมต่างๆ หลังจากที่ส่งผลกระทบและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางต่อผู้บริโภค
รายงาน “แนวโน้มการเติบโตของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์” ที่ดีเอชแอลร่วมทำาการศึกษากับไอบีเอ็ม พบว่า AI มีศักยภาพในการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรได้อย่างมาก ปัจจุบัน AI ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายในแวดวงผู้บริโภค ดังจะเห็นได้จากการเติบโตที่รวดเร็วของโปรแกรมผู้ช่วยอัจฉริยะที่สั่งงานด้วยเสียง (voice assistant)
ขณะเดียวกัน ดีเอชแอลและไอบีเอ็มพบว่า เทคโนโลยี AI มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานเพิ่มเติมในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ตัวอย่างเช่นเทคโนโลยี AI ช่วยให้ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ต่อยอดประสบการณ์ของลูกค้า (customer experiences) ผ่านการสนทนา และยังสามารถจัดส่งสินค้าได้ล่วงหน้าก่อนที่ลูกค้าจะทำการสั่งซื้ออีกด้วย
อุตสาหกรรมโลจิสติกส์สามารถนำเทคโนโลยี AI เข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบดำเนินการ “เชิงรับ” ไปสู่การดำเนินการ “เชิงรุก” โดยอาศัยการคาดการณ์ล่วงหน้าซึ่งจะช่วยสร้างข้อมูลเชิงลึกที่ดีกว่า โดยเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ทั้งในส่วนของระบบหลังบ้าน การปฏิบัติงาน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการแก่ลูกค้าตัวอย่างเช่น เทคโนโลยี AI สามารถใช้การจดจำรูปภาพเพื่อตรวจสอบสถานะสินค้าต่างๆ ที่มีการจัดส่ง ทั้งยังรองรับการขนส่งอัตโนมัติแบบครบวงจร หรือคาดการณ์ความผันผวนของปริมาณการจัดส่งสินค้า
ทั่วโลกล่วงหน้าก่อนที่จะเกิดขึ้นจริงได้แน่นอนว่า AI ช่วยยกระดับขีดความสามารถของบุคลากร โดยแบ่งเบาภาระในส่วนของงานประจำและช่วยให้บุคลากรด้านโลจิสติกส์สามารถทุ่มเทเวลาอย่างเต็มที่ให้กับงานที่สำาคัญกว่าและเพิ่มมูลค่ามากกว่าได้
รายงานการศึกษาแนวโน้มโลจิสติกส์ ประจำปี 2561/2562 ยังแสดงให้เห็นว่าการสร้างสรรค์นวัตกรรมมีความสำคัญมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ขณะที่เทคโนโลยีดิจิทัลจะขับเคลื่อนกาเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์อีกหลายปีข้างหน้า เพื่อปรับปรุงอัตราส่วนต้นทุนต่ประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีที่เป็นเทรนด์สำคัญๆ เช่น internet of things และ AI
อีกเทรนด์หนึ่งที่จะเร่งการพัฒนาในส่วนนี้ก็คือ เครือข่ายไร้สายรุ่นอนาคต (next-gen wireless network) ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าและประหยัดค่าใช้จ่ายโดยอาศัยการเชื่อมต่อในระบบซัพพลายเชน รวมถึงเทคโนโลยีบล็อกเชน (blockchain) ที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง แต่ถ้าหากยังไม่ได้รับการอนุมัติจากภาคอุตสาหกรรม ก็อาจเป็นอุปสรรคต่อการปรับใช้เทคโนโลยีนี้
ดิจิทัลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงานของอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการปรับตัวของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว และองค์กรต่างๆ กำลังถูกกดดันในการต้องปรับตัวให้ทันเทคโนโลยี ขณะที่การใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงเป็นรากฐานของ AI และ machine learning ธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับวิธีการเชื่อมต่อหรือเชื่อมความสัมพันธ์กับลูกค้าที่กำลังจะเปลี่ยนไป รวมถึงความได้เปรียบในการแข่งขันที่องค์กรสามารถทำธุรกิจให้ยั่งยืน
อย่างไรในระบบเศรษฐกิจแบบดิจิทัลการมาถึงของ AI ทำให้เกิดคำาถามกับองค์กรธุรกิจว่าองค์กรจะต้องปรับตัวอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีมากที่สุด องค์กรจะใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ขั้นสูงกับธุรกิจอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าและเพิ่มประสบการณ์ที่ดีของลูกค้า (customer experience) และองค์กรจะสร้างผลิตภัณฑ์และการให้บริการใหม่ๆ ที่สามารถช่วยในการเติบโตของธุรกิจได้อย่างไร
เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่มูลค่า (value chains) ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ รวมถึงอีโคซิสเต็ม อันส่งผลให้องค์กร อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง ด้วยการผสานรวม AI เข้าไว้ในกระบวนการหลัก บริษัทต่างๆ จะสามารถลงทุนเพิ่มในส่วนที่จำเป็นให้ทันสมัย หรือยกเลิกระบบแอพพลิเคชั่นรุ่นเก่า ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่ และช่วยให้บุคลากรมีเวลามากขึ้นในการพัฒนาทักษะและขีดความสามารถของตน
นอกจากเทคโนโลยีต่างๆ ที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญแล้ว “Customer Centricity" ยังคงเป็นกุญแจสำาคัญในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าสำหรับบริการโลจิสติกส์ ขณะที่สินค้าที่สามารถสั่งซื้อทางออนไลน์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาด B2B ส่งผลให้เกิดความต้องการมากขึ้นสำาหรับโซลูชั่นโลจิสติกส์ B2B
นอกจากนี้ ความต้องการของลูกค้ายังขับเคลื่อนการเติบโตในด้านการจัดส่งสินค้าที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเวลาและอุณหภูมิให้แก่ผู้บริโภค รวมถึงบริการโลจิสติกส์สำหรับสินค้าสดใหม่จำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมใหม่ๆ ในด้านบรรจุภัณฑ์ การจัดเก็บ และการจัดส่ง
สินค้า เช่น สินค้าประเภทอาหารและยา หนึ่งในนวัตกรรมที่สำคัญสำหรับบริการจัดส่งถึงมือผู้รับปลายทางก็คือ การผนวกรวมบริการโลจิสติกส์เข้ากับระบบสมาร์ทโฮม ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่สำหรับไลฟ์สไตล์แบบ connected life
อย่างไรก็ตาม “บุคลากร” ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจโลจิสติกส์ แม้ว่ากระแสของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ระบบงานอัตโนมัติ รวมถึงระบบซอฟต์แวร์อัตโนมัติจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อโครงสร้างของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในอนาคต เทคโนโลยีจะถูกนำมาใช้เพื่อช่วยในงานที่ถูกทำซ้ำๆ (highly repetitive tasks) และงานที่ต้องใช้แรง เพื่อให้บุคลากรสามารถทุ่มเทให้กับงานที่สำคัญกว่า ซึ่งต้องอาศัยความสามารถในการจัดการ การวิเคราะห์ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม ธุรกิจโลจิสติกส์จึงต้องปรับแนวคิดการทำงานแบบดิจิทัล เพื่อดึงดูดและรักษาบุคลากรที่เป็นคนรุ่นมิลเลนเนียล(millennial) รวมทั้งสนับสนุนบุคลากรคนรุ่นเก่าที่ยังคงมีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
ชนัญญารักษ์ เพ็ชร์รัตน์
กรรมการผู้จัดการดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย
คลิกอ่านฉบับเต็ม “เทรนด์เทคโนโลยี AI และการปรับตัวของธุรกิจโลจิสติกส์” และบทความจากนักเขียนชั้นนำเพิ่มเติมได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับ มกราคา 2562 ในรูปแบบ e-Magazine