10 นักกอล์ฟรายได้สูงสุดของโลก ประจำปี 2022 - Forbes Thailand

10 นักกอล์ฟรายได้สูงสุดของโลก ประจำปี 2022

FORBES THAILAND / ADMIN
12 Jan 2023 | 08:00 PM
READ 12146

ต้องขอบคุณการอัดฉีดค่าจ้างสำหรับนักกีฬากอล์ฟมืออาชีพของซาอุดีอาระเบีย ในรายการทัวร์นาเมนต์การแข่งขัน LIV Golf ที่ทำรายได้ของนักกีฬากอล์ฟ 10 อันดับแรก จากการจัดอันดับนักกอล์ฟรายได้สูงสุดของโลก ประจำปี 2022 พุ่งทะยานเป็นประวัติการณ์ที่ 650 ล้านเหรียญ ภายในระยะเวลาเพียง 12 เดือน จากเดิมที่มูลค่ารายได้รวมของพวกเขาเมื่อเดือนมิถุนายน 2022 อยู่ที่ราว 370 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เท่านั้น


พบกับ 10 อันดับ "นักกอล์ฟรายได้สูงสุดของโลก" ประจำปี 2022 ดังนี้


1. Phil Mickelson

อายุ 52 ปี

รายได้รวม: 138 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายได้ในสนาม: 102 ล้านเหรียญ

รายได้นอกสนาม: 36 ล้านเหรียญ

    นักกอล์ฟมือซ้ายรายนี้ก้าวสู่การมีรายได้ระดับ 1 พันล้านเหรียญด้วยข้อตกลงกับ LIV เขาเป็นหนึ่งในผู้เล่นเพียงไม่กี่คน (รวมถึง Tiger Woods, Dustin Johnson, Vijay Singh และ Tom Watson) ที่ได้เป็นสมาชิก PGA Tour ตลอดชีพ แต่ Mickelson สูญเสียสิทธิพิเศษนี้ไปหลังย้ายไปร่วมการแข่งขัน LIV


2. Dustin Johnson

อายุ 38 ปี

รายได้รวม: 97 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายได้ในสนาม: 68 ล้านเหรียญ

รายได้นอกสนาม: 29 ล้านเหรียญ

    ในฐานะเจ้าของตำแหน่งนักกอล์ฟอันดับ 16 ของโลก Johnson เป็นคนแรกที่กระโดดไปเล่นใน LIV เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาด้วยค่าตัวราว 125 ล้านเหรียญ หลังจากขายหุ้นบริษัท BodyArmor ที่ถือไว้โดยไม่เปิดเผยราคาเมื่อเดือนพฤศจิกายน ส่วนสปอนเซอร์อย่าง Adidas กับ TaylorMade ก็ยังให้การสนับสนุนเขาต่อไปหลังจากออก PGA Tour แล้ว


3. Bryson DeChambeau

อายุ 28 ปี

รายได้รวม: 86 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายได้ในสนาม: 66 ล้านเหรียญ

รายได้นอกสนาม: 20 ล้านเหรียญ

    เขาได้เงิน 560,000 เหรียญจากงานแรกกับ LIV เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เกือบ 3 เท่าจากที่เคยได้ในการลงแข่งถึง 7 รายการในปี 2022


4. Brooks Koepka

อายุ 32 ปี

รายได้รวม: 69 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายได้ในสนาม: 53 ล้านเหรียญ

รายได้นอกสนาม: 16 ล้านเหรียญ

    Koepka ผู้ชนะการแข่งขันเมเจอร์ 4 สนาม และเป็นไม้เบื่อไม้เมากับ DeChambeau รับเงินประกันรายได้ไป 100 ล้านเหรียญจาก LIV


5. Tiger Woods

อายุ 46 ปี

รายได้รวม: 68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายได้ในสนาม: 43,500 เหรียญ

รายได้นอกสนาม: 68 ล้านเหรียญ

    เป็นนักกอล์ฟเศรษฐีพันล้านเพียงหนึ่งเดียวที่เงินจากซาอุฯ คงไม่จำเป็นสำหรับเขา


6. Rory McIlroy

อายุ 33 ปี

รายได้รวม: 43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายได้ในสนาม: 9 ล้านเหรียญ

รายได้นอกสนาม: 34 ล้านเหรียญ

    McIlroy แสดงออกชัดเจนถึงการสนับสนุน PGA Tour โดยเขาให้สัมภาษณ์กับ CBS ไว้ว่า "โลกของกีฬากอล์ฟไม่มีพื้นที่ว่างสำหรับ LIV Golf" ซึ่งการวางตัวแบบนี้อาจจะคุ้มค่าเพราะ Workday ตกลงเป็นสปอนเซอร์ให้กับนักกอล์ฟชาวไอร์แลนด์เหนือคนนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เดือนเดียวกันกับที่บริษัทซอฟต์แวร์แห่งนี้ประกาศไม่ต่อสัญญากับ Mickelson


7. Sergio Garcia

อายุ 42 ปี

รายได้รวม: 42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายได้ในสนาม: 35 ล้านเหรียญ

รายได้นอกสนาม: 7 ล้านเหรียญ

    นักกอล์ฟชาวสเปนและแชมป์การแข่งขัน Masters เมื่อปี 2017 คนนี้เป็นหนึ่งในบรรดานักกอล์ฟกลุ่มแรกที่เข้าร่วมการแข่งขันรายการใหม่ของซาอุดีอาระเบีย


8. Jordan Spieth

อายุ 29 ปี

รายได้รวม: 39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายได้ในสนาม: 8 ล้านเหรียญ

รายได้นอกสนาม: 31 ล้านเหรียญ

    อดีตหมายเลข 1 ของโลกย้ำชัดถึงความภักดีของเขาต่อ PGA Tour เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา "ข่าวหรือรายงานใดก็ตามที่ว่าผมกำลังพิจารณาจะไปร่วมการแข่งขันอื่น นอกเหนือจาก PGA Tour ไม่เป็นความจริง" หลังเซ็นสัญญารอบใหม่ เขาจะเป็นพรีเซนเตอร์ผลิตภัณฑ์กอล์ฟของ Under Armour ไปจนถึงปี 2029


9. Patrick Reed

อายุ 32 ปี

รายได้รวม: 37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายได้ในสนาม: 34 ล้านเหรียญ

รายได้นอกสนาม: 3 ล้านเหรียญ

    Reed ลงเล่นใน Ryder Cup มานานหลายปีจนได้ฉายา “Captain America” และเมื่อไม่สามารถลงแข่งรายการประลองฝีมือระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯ ที่จัดขึ้นทุกๆ 2 ปีนี้ได้ นักกอล์ฟวัย 32 ปีคนนี้จึงสวมหมวกใบใหม่พร้อมสัญลักษณ์ของ LIV Golf เช่นเดียวกับบนปกและแขนเสื้อเพื่อลงแข่งในรายการ British Open


10. Charl Schwartzel

อายุ 37 ปี

รายได้รวม: 34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายได้ในสนาม: 30 ล้านเหรียญ

รายได้นอกสนาม: 4 ล้านเหรียญ

    ในปี 2011 Schwartzel ได้เงินรางวัล 1.4 ล้านเหรียญจากการแข่งขัน Masters ซึ่งครั้งนั้นถือเป็นแชมป์รายการเมเจอร์ครั้งแรกและครั้งเดียวของเขา แต่ชัยชนะของนักกอล์ฟชาวแอฟริกาใต้คนนี้ที่การแข่งขันนัดเปิดตัวของ LIV เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาทำรายได้ให้เขาสูงกว่านั้นเกิน 3 เท่า



วิธีคำนวณรายได้: จำนวนที่แสดงเป็นรายได้ก่อนหักภาษีระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม ปี 2021 ถึง 3 กรกฎาคม ปี 2022 ตัวเลขรายได้ในสนามรวมถึงเงินรางวัลและเงินโบนัส ส่วนรายได้นอกสนามเป็นการประมาณการมูลค่าข้อตกลงกับสปอนเซอร์ค่าตัวในการปรากฏตัวและร่วมงานต่างๆ รายรับจากของที่ระลึก ค่าลิขสิทธิ์ บวกกับเงินสดจากการทำธุรกิจอื่นๆ การประมาณการยึดตามข้อมูลที่ปรากฏเป็นสาธารณะ ประกอบกับการสอบถามผู้อยู่วงการกว่า 10 คน โดยไม่ได้หักค่าธรรมเนียมของผู้จัดการหรือตัวแทนกีฬา


เรื่อง: Justin Birnbaum เรียบเรียง: วินิจฐา จิตร์กร

อ่านเพิ่มเติม:

>> Keiichi Shibahara ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ Amvis ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในญี่ปุ่น

>> THE WORLD’S TOP 5 “LUXURY BRANDED RESIDENCES”


คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนธันวาคม 2565 ในรูปแบบ e-magazine