Forbes Asia จัดลำดับมหาเศรษฐีใจบุญครั้งที่ 14 ประจำปี 2020 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่บริจาคทรัพย์สินส่วนบุคคลมูลค่าสูงที่สุด เพื่อช่วยเหลือในประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภูมิภาค
สำหรับในตอนที่ 2 นี้มีรายชื่อมหาเศรษฐีใจบุญจากหลากหลายอุตสาหกรรม ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีกห้างประเภทสรรพสินค้า ค้าปลีกประเภทแฟชัน ค้าปลีกด้านความงาม ยานยนต์ และพลังงาน ที่ร่วมบริจาคเงินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 การสนับสนุนเงินทุนเพื่อการวิจัยทางการแพทย์ ตลอดจนการสร้างอาคารให้กับโรงพยาบาลและห้องสมุดมหาวิทยาลัย John Gandel และ Pauline Gandelวัย 85 ปี
ประธาน Gandel Group
ออสเตรเลีย
Gandel Philanthrophy ก่อตั้งในปี 1978 และได้รับเงินบริจาคจาก John และ Pauline Gandel มหาเศรษฐีเจ้าของห้างสรรพสินค้าและภรรยา เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 250 ล้านเหรียญออสเตรเลีย (176 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยในช่วงที่ผ่านมา ทางมูลนิธิได้มอบเงินจำนวน 2.3 ดอลลาร์ออสเตรเลีย เพื่อบรรเทาทุกข์ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นถึง 2 ครั้งในออสเตรเลีย อันได้แก่ วิกฤตไฟป่าที่เผาผลาญพื้นที่ 2 รัฐไปกว่า 30 ล้านไร่ และสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19นอกจากนี้ ทางมูลนิธิยังได้มอบเงินทุนให้แก่บุคคลภายในประเทศและต่างประเทศมากกว่า 100 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เพื่อสนับสนุนการศึกษา ศิลปวัฒนธรรม และการวิจัยทางการแพทย์ โดยมูลค่าการบริจาคที่มากที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจุบันอยู่ที่ 10 ล้านเหรียญออสเตรียเลีย ที่ถูกนำไปใช้ในการก่อสร้างอาคารใหม่ในโรงพยาบาล Cabrini Hospital ที่เมลเบิร์น เมื่อปี 2017 ซึ่งประกอบไปด้วยศูนย์รังสีวิทยา ศูนย์หัวใจ และแผนกอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา
วัย 57 ปี
ประธาน Geely Automobile Holdings
จีน
ในเดือนมกราคม Li บริจาค 28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ผ่านทางมูลนิธิ Zhejiang Li Shufu Charity Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิที่เขาก่อตั้งขึ้นในปี 2006 เพื่อสนับสนุนการศึกษา การบรรเทาภัยพิบัติ และการช่วยเหลือทางการแพทย์ และประเด็นสังคมอื่นๆ
โดย Geely รายงานว่า ยอดบริจาค ณ เดือนพฤษภาคม 2020 ที่ผ่านมา มีมูลค่าอยู่ที่ 14 พันล้านเหรียญ โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ การจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้แก่ หน้ากากอนามัยและเครื่องช่วยหายใจ เพื่อมอบให้กับ 14 ประเทศ อาทิเช่น ฟิลิปปินส์ สวีเดน และสหราชอาณาจักร เป็นต้น ขณะที่ในปี 2019 ทางมูลนิธิยังได้บริจาคเงินกว่า 146,600 เหรียญ ให้กับ Zhejiang University เพื่อสนับสนุนงานวิจัยทางการแพทย์ และอีก 730,000 เหรียญให้กับ Yanshan University ในมณฑลหูเป่ย ซึ่งเป็นสถานที่ศึกษาของ Li
Huh Dong-Soo
วัย 77 ปี
ประธานกิตติมศักดิ์ GS Caltex
เกาหลีใต้
ในเดือนสิงหาคม 2020 Huh ก่อตั้ง Huh Ji-Young Scholarship Foundation เพื่อระลึกถึงลูกสาวที่ได้เสียชีวิตไปในปีนี้ ด้วยวัยเพียง 40 ปี อีกทั้งยังบริจาค 60,000 หุ้นของกลุ่มธุรกิจ GS Holdings ที่มีมูลค่าราว 2.15 ล้านวอน หรือ 1.9 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นมรดกส่วนหนึ่งที่ลูกสาวของเขาจะต้องได้รับให้กับทางมูลนิธิ
โดยในช่วงก่อนหน้านี้ Huh ได้บริจาคหุ้นและเงินสด ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 33 พันล้านวอนให้กับ Donghaeng Welfare Foundation ซึ่งเป็นมูลนิธิที่เขาดำรงตำแหน่งประธาน และบริหารร่วมกับสมาชิกคนอื่นๆ ภายในครอบครัว เพื่อสนับสนุนเยาวชนที่มาจากครอบครัวยากจน รวมไปถึงครอบครัวที่มีความจำเป็นในการใช้เงิน
ในขณะเดียวกัน Huh ก็ดำรงตำแหน่งเป็นประธาน Community Chest of Korea ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรไม่แสวงหากำไรที่ใหญ่ที่สุดในเกาหลีใต้
ทั้งนี้ Huh เข้าร่วม GS Caltex ในปี 1973 ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจครอบครัวที่ร่วมก่อตั้งกันขึ้นมา และปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งประธานกิตติมศักดิ์ของ GS Group ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของวงศ์ตระกูล
วัย 71 ปี
ประธาน Fast Retailing
ญี่ปุ่น
ในปีที่ผ่านมา Tadashi Yanai มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งในญี่ปุ่น จากธุรกิจอุตสาหกรรมค้าปลีกแฟชันภายใต้แบรนด์ Uniqlo บริจาคเงินกว่า 11.2 พันล้านเยน (105 ล้านเหรียญ) ให้กับมหาวิทยาลัย 2 แห่งภายในประเทศ และในเดือนมิถุนายน 2020 Yanai บริจาคเงินจำนวน 10 พันล้านเยนให้กับ Kyoto University เพื่อสนับสนุนในงานวิจัยด้านการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด สเต็มเซลล์ และวัคซีนโควิด-19 ของ Tasuku Honjo และ Shinya Yamanaka ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี 2018
“ข้อท้าทายที่ใหญ่ที่สุดทางการแพทย์ คือ มะเร็งและไวรัส ซึ่งการศึกษาวิจัยของศาสตราจารย์ทั้งสองท่านนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งโลก” Yanai กล่าวในงานประชุมมอบทุนศึกษาวิจัย
ล่าสุด ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา Yanai บริจาคเงินจำนวน 1.2 พันล้านเยนให้กับ Waseda University สถานศึกษาเก่าของตน ในการสร้างห้องสมุด Murakami library เพื่อระลึกถึงนักเขียนชาวญี่ปุ่น Haruki Murakami ซึ่งเป็นศิษย์เก่าร่วมรุ่น ที่ได้บริจาคหนังสือและอุปกรณ์ทางการศึกษาให้กับมหาวิทยาลัย
วัย 66 ปี
รองประธาน Sa Sa International
ฮ่องกง
Eleanor Kwok Law Kwai Chun ผู้ร่วมก่อตั้ง Sa Sa ธุรกิจค้าปลีกด้านความงามรายใหญ่ในเอเชีย บริจาคเงินกว่า 70 ดอลลาร์ฮ่องกง (9 พันล้านเหรียญ) เพื่อช่วยเหลือในประเด็นสังคมต่างๆ อาทิเช่น สมาคม Po Leung Kuk ที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กและสตรี ขณะที่ในปัจจุบัน สมาคมดังกล่าวได้ขยายขอบเขตการให้ความช่วยเหลือไปยังด้านวัฒนธรรม การศึกษา สุขภาพ และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ โดย Kwok ได้ดำรงตำแหน่งประธานในปี 2016-2017 และได้บริจาคเงิน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของทางสมาคมไปกว่า 47 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง
นอกจากนี้ ในปี 2019 Kwok ได้ร่วมสมทบทุน 1.5 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงให้กับองค์กรอนุรักษ์ธรรมชาติ ศูนย์จักษุ และสมาคมลูกเสือเนตรนารีแห่งฮ่องกง และนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนถึงปัจจุบัน เธอก็ได้ร่วมบริจาคเงิน เพื่อจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุในฮ่องกง
อีกทั้ง ในปี 2010 Kwok ได้บริจาค 20 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงให้กับ Lingnan University ในฮ่องกง เพื่อสร้างอาคารเรียน ภายใต้ชื่อ Simon and Eleanor Kwok Building ซึ่งมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นสถานศึกษาระดับปริญญาเอกของสามีของเธอ
ขณะที่ในปี 2013-2014 ครอบครัว Kwok ได้มอบเงินจำนวน 5 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง ให้กับ Hong Kong University of Science and Technology เพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือกสมอง
แปลและเรียบเรียงโดย ชญาน์นัทช์ ธนินท์พงศ์ภัค จากบทความ Heroes of Philanthropy เผยแพร่บน forbes.com อ่านเพิ่มเติม: “เศรษฐีใจบุญ” แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประจำปี 2020 ตอนที่ 1