Google ขายซอฟต์แวร์คลาวด์และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ให้กับกระทรวงกลาโหม เพื่อช่วยในการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ข้อตกลงมูลค่า 2.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งได้รับการเปิดเผยรายละเอียดตาม
กฎหมายเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร (FOIA) แสดงให้เห็นว่า Google ร่วมกับ Carahsoft ส่งมอบเครื่องมือระบบคลาวด์และ AI ของยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีให้กับ United States Northern Command (USNORTHCOM) ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานบัญชาการและควบคุมส่วนกลาง ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับความมั่นคงของชาติและการทหารของกระทรวงกลาโหม (DOD)
ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวมีกำหนดการเริ่มงานในเดือนพฤษภาคม 2020 และคงอยู่เป็นระยะเวลา 1 ปี และขณะนี้เสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นอกจากนี้ สัญญายังระบุถึงวิธีใช้ซอฟต์แวร์ของ Google ในการรวบรวมข้อมูลของกระทรวงกลาโหม “เพื่อบรรเทาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินอื่นๆ” ด้วยการ "บูรณาการ รวบรวม วิเคราะห์ และเผยแพร่ข้อมูลที่สำคัญ”
ทั้งนี้ ภายใต้ความร่วมมือกับ MIT Lincoln Laboratory ในการใช้ AI เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรทางทหารที่มีทักษะที่เกี่ยวข้อง หรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ประเภทต่างๆ
“เพื่อเข้าถึงชุดข้อมูลและอัลกอริทึมที่มีอยู่ และคาดการณ์การขาดแคลนห่วงโซ่อุปทานในอนาคต"
ก่อนหน้านี้
Forbes เปิดเผยว่าบริษัทสตาร์ทอัพที่ได้รับทุนจาก GV (เดิมคือ Google Ventures ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนภายใต้กลุ่ม Alphabet ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Google) กำลังทำงานตรวจสอบข้อมูลภูมิสารสนเทศทุกรูปแบบสำหรับกระทรวงกลาโหม โดยการนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ภาพถ่ายทางดาวเทียม วิดีโอจากโดรน และข้อมูลตำแหน่งที่ตั้งจากสมาร์ทโฟน
มากกว่า สัญญาฉบับนี้ยังอนุญาตให้ใช้เครื่องมือของ Google ได้อย่างกว้างขวาง โดยผสานรวม
"กับหน่วยงานและองค์กรภายใต้กระทรวงกลาโหม ของรัฐบาลกลาง รัฐ ท้องถิ่น เอกชน และระหว่างประเทศ" (Google ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะงานเนื่องจากไม่ได้รับอนุญาตให้หารือเกี่ยวกับสัญญาโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากลูกค้า)
อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีข้อบ่งชี้ว่าเทคโนโลยีของ Google จะถูกใช้เพื่อประเด็นอื่นๆ นอกจากวิกฤตโควิด-19 ซึ่งในที่นี้
Jack Poulson อดีตนักวิทยาศาสตร์ด้านข้อมูลของ Google ที่ลาออกเพราะข้อกังวลด้านจริยธรรม ยังคงมีความกังวลว่าสัญญานี้หากไม่มีข้อกำหนดเพิ่มเติม อาจนำไปใช้ด้วยวิธีอื่นได้ โดยเขาชี้ไปที่กรณีการใช้งานที่เป็นไปได้สำหรับ
Joint Task Force North (JTF-North) ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้ USNORTHCOM ซึ่งก่อนหน้านี้เคยช่วยสนับสนุนการป้องกันชายแดนของอเมริกา สงครามกับยาเสพติด และการต่อต้านการก่อการร้าย
ในที่นี้ เป็นที่ทราบโดยทั่วกันว่า ในเดือนมิถุนายน 2018 Sundar Pichai ซีอีโอ Google ได้ให้คำมั่นสัญญาบนบล็อก
‘AI at Google: our principles’ ว่า Google จะหลีกเลี่ยงการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อสร้าง “อาวุธหรือเทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความเสียหายโดยตรงแก่ประชาชน”
แต่ในช่วงต้นปี 2020 ที่ผ่านมา บริษัทกลับต้องเผชิญหน้ากับข้อเรียกร้องจากพนักงานกว่า 3 พันคน ที่คัดค้านความร่วมมือของบริษัทกับกระทรวงกลาโหมใน
โครงการ Maven ซึ่งเป็นการนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์รูปถ่ายจากโดรน เพื่อระบุตัวตนของคนและวัตถุได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยโครงการนี้มีมูลค่าราว 250 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี ซึ่งคาดว่าจะสร้างรายได้ให้กับ Google ที่ 15 ล้านเหรียญ เป็นระยะเวลา 18 เดือนด้วยกัน
โดยในจดหมายเปิดผนึกของพนักงาน Google มีข้อเรียกร้องหลักๆ อยู่ 3 ข้อ คือ หนึ่ง ยกเลิกสัญญากับกระทรวงกลาโหมในโครงการ Mavn สอง ให้คำมั่นว่าจะไม่พัฒนาเทคโนโลยีทางทหาร และจะไม่อนุญาตให้รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อใช้ในการปฏิบัติการทางทหาร และสามสัญญาว่าจะไม่เข้าร่วมพัฒนาหรือสนับสนุน ค้า หรือ ผลิต อาวุธอัตโนมัติและสนับสนุนการคว่ำบาตรอาวุธอัตโนมัติ
“พวกเราเชื่อว่า Google ไม่ควรจะกลายเป็นธุรกิจแห่งสงคราม”
หลังจากที่มีการเรียกร้องและลาออกของพนักงาน Google ทางผู้บริหารได้ตอบสนองต่อเรื่องดังกล่าวโดยการ ไม่ต่อสัญญากับโครงการ Maven เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงในปี 2019
แปลและเรียบเรียงจากบทความ Google Sold $2.5 Million In AI To The Pentagon For Its Covid-19 Recovery เผยแพร่บน Forbes.com
อ่านเพิ่มเติม:
Google ไม่ใช้ AI สร้างอาวุธ แต่กลับเลือกลงทุนในสตาร์ทอัพด้านสงคราม