โอกาสเกิด equity crowdfunding ในประเทศไทย
หากพิจารณาระบบนิเวศ (eco-system) ของการระดมทุนแบบ crowdfunding ในปัจจุบันเราจะเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ในด้านของรัฐเอง ในด้านของภาคเอกชนเอง ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานี้ ถึงแม้ยังไม่มี equity crowdfunding เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ crowdfunding ในรูปแบบอื่นมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเช่น crowdfunding ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินทุนไปใช้ในการบริจาคหรือเพื่อสาธารณประโยชน์ นอกจากนี้ เรายังสังเกตได้ว่ามี co-working space เกิดขึ้นจำนวนมาก เช่น The Hive, Hubba หรือเชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต ก็มีอย่าง Punspace JUMP Space Hatch สำหรับในต่างประเทศ equity crowdfunding มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ปีละ2-3 เท่า เช่น ในอังกฤษ นิวซีแลนด์ อิสราเอล ซึ่งสำหรับ ก.ล.ต.เอง มีวิสัยทัศน์ว่า equity crowdfunding เป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจที่กำลังเริ่มต้น มีโครงการดีๆ แต่ขาดแคลนเงินทุน จึงได้หาช่องทางนี้เพื่อให้ตลาดทุนสามารถเป็นทางเลือกหนึ่งส่งเสริมในเรื่องนี้ในหลายๆ ด้าน และเชื่อว่าหากคนมีความรู้ความเข้าใจแล้ว equity crowdfunding ก็มีโอกาสจะเกิดและเติบโตได้อย่างรวดเร็วได้ โดยมีปัจจัยที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ อาทิ ปัจจัยแรก funding portal (FP) หรือผู้ให้บริการเว็บไซต์ตัวกลางที่ได้รับความเห็นชอบจาก ก.ล.ต. FP เป็นผู้คัดสรรบริษัทที่ต้องการระดมทุนและดูแลให้บริษัทนำเสนอข้อมูลโครงการของบริษัทเพื่อให้ผู้ลงทุนได้เลือกกันตามอัธยาศัยที่ผ่านมามีผู้ให้ความสนใจอยากเป็น FP ติดต่อมาเกือบ 20 รายแล้ว และหลังจากให้คำปรึกษากันไปแล้ว ในจำนวนนี้มี 5-6 รายที่ให้ความสนใจค่อนข้างมาก FP นั้นมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากหากเทียบเคียงกับระบบ IPO ของ ก.ล.ต. ในปัจจุบัน ปัจจัยที่สอง issuer หรือบริษัทที่ต้องการระดมทุน ไม่ว่าจะเป็น SMEs เป็นสตาร์ทอัพสามารถระดมทุนได้ทั้งนั้น ขอเพียงมีฐานะเป็นบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ยังไม่เข้าตลาดหลักทรัพย์ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีแผนในการดำเนินธุรกิจหรือโครงการสำหรับการระดมทุนชัดเจน โดยให้หุ้นเป็นสิ่งตอบแทนแก่ผู้ลงทุน ซึ่งบริษัทที่จะระดมทุน ปัจจัยที่สาม ผู้ลงทุนที่จะเข้ามาให้การสนับสนุนเงินทุนกับบริษัท แม้ equity crowdfunding จะถือเป็นทางเลือกสำหรับผู้สนใจลงทุนในกิจการที่มีโอกาสเติบโตและผลตอบแทนสูงมาก แต่ก็ต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องใหม่ เป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงซึ่งมีความแตกต่างจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ดังนั้น หากเป็นผู้ลงทุนรายย่อยก็ต้องเข้าใจถึงความเสี่ยงของ equity crowdfunding เป็นอย่างดีก่อนการลงทุน โดยในด้านของ ก.ล.ต.ก็ได้ออกแบบให้ต้องทำแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงในการลงทุนกันก่อน และจำกัดวงเงินลงทุนไว้ด้วย โดยผู้ลงทุนต้องมีความเข้าใจความเสี่ยงอย่างถ่องแท้ เช่น ความเสี่ยงที่โครงการอาจไม่สำเร็จ ข้อมูลที่บริษัทเปิดเผยไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองจาก ก.ล.ต.หุ้นไม่มีสภาพคล่อง เป็นต้น การที่ ก.ล.ต.จำกัดวงเงินในการลงทุนไว้ ก็เพื่อจำกัดผลกระทบที่อาจจะเกิดกับผู้ลงทุนกรณีที่กิจการที่ลงทุนไปนั้นไม่ประสบความสำเร็จ ก.ล.ต.ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ระบบงาน ติวเข้มเจาะลึกสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจ FP โดยติดต่อได้ที่ทีม equity crowdfunding ของ ก.ล.ต. โทร 1207 กด 4 ปะราลี สุคนธมาน ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.ล.ต.คลิกอ่าน "Equity Crowdfunding โอกาสใหม่ในการระดมทุน" ฉบับเต็ม ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ JULY 2016 ในรูปแบบ e-Magazine