‘การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน’ เป็นประโยคที่คุณต้องพบเจออยู่เสมอ คุณจะรู้ดีว่า สินทรัพย์ที่มี ‘ความเสี่ยงสูง’ ย่อมมีโอกาสที่จะได้ ‘ผลตอบแทนสูง’ เช่นเดียวกัน ตามวลีที่บอกว่า High Risk High Return แต่เราจะขอเพิ่มอีก 1 คำ เป็น High Risk High Expected Return เพราะสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งท่ามกลางความผันผวน "การลงทุน แบบ Thematic" จึงมีส่วนสำคัญ
แน่นอนว่า เมื่อตั้งใจลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงแล้ว คุณคาดหวังผลตอบแทนที่สูง แต่ปัจจัยเสริมที่จะช่วยให้คุณได้ผลตอบแทนสูงตามที่คาดหวังไว้ คือ ความเข้าใจในโลกการลงทุนและสินทรัพย์ต่างๆ และสำคัญที่สุด คือ การกระจายความเสี่ยง ดังนั้นก่อนจะเริ่มต้นจัดพอร์ตลงทุน คุณควรรู้จักสินทรัพย์ที่คุณสนใจ ทำความเข้าใจความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพราะถ้าคุณไม่รู้จักสินทรัพย์ที่อยู่ในพอร์ตเลย เมื่อเผชิญความผันผวน คุณอาจจะไม่เข้าใจที่มาที่ไปและรับมือไม่ถูก เมื่อมูลค่าพอร์ตลดลง ขอเพียงแค่คุณรู้จักสินทรัพย์ เข้าใจโลกการลงทุน และมองเป้าหมายระยะยาว ความผันผวนต่างๆ ที่เกิดขึ้น คือ ลมฝน พายุ หรือมรสุมที่พัดผ่านมาและผ่านไป บทความนี้ ผมได้รวบรวมผลตอบแทนย้อนหลังสินทรัพย์ประเภทต่างๆ และไฮไลต์ความผันผวน จุดขาดทุนสูงสุด และจุดผลตอบแทนสูงสุดของการลงทุนในธีม หรือ Thematic จากทั้งหมด 16 ธีม ซึ่งประกอบไปด้วย ธีมกัญชา ธีมตลาดหุ้นอินเดีย ธีมตลาดหุ้นเวียดนาม ธีมเทคโนโลยีท่องเที่ยว ธีมเทคโนโลยีจีน ธีมอีคอมเมิร์ซ ธีมตลาดหุ้นจีน ธีมพลังงานสะอาดจีน ธีมเทคโนโลยีการเงิน ธีมบริการสุขภาพ ธีมจีโนมิกส์ ธีมตลาดหุ้นสหรัฐฯ ธีมคลาวด์ ธีมหุ่นยนต์และ AI ธีมเทคโนโลยี ธีมเกมและอีสปอร์ตผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆ ในรอบ 32 ปี
วัดจากสถิติผลตอบแทนของสินทรัพย์ต่างๆ ทั่วโลกที่ NYU Stern School of Business เก็บข้อมูลในช่วงปี 2533-2564 หุ้นเป็นสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีสูงที่สุดในระยะยาว แต่ก็มาพร้อมกับความผันผวนที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน ข้อมูลที่เอามาเปรียบเทียบ คือ ดัชนี S&P500 (รวมเงินปันผล) ตั๋วเงินคลัง (3 เดือน) พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ หุ้นกู้เอกชนชั้นดี (Investment Grade) และอสังหาริมทรัพย์ โดยใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 100 เหรียญสหรัฐฯ จากภาพผลตอบแทนของสินทรัพย์การเงินประเภทต่างๆ ในรอบ 32 ปี จะเห็นได้ว่า- ดัชนี S&P500 จะทำให้เงินลงทุนของคุณงอกเงยได้มากที่สุด หากเริ่มลงทุนด้วยเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐ ใน S&P500 ในปี 2533 จะกลายมาเป็น 2,555.33 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 โดยมีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ +10.66%
- กราฟดัชนี S&P500 แสดงให้เห็นว่า ช่วงก่อนปี 2553 กราฟหักลง เนื่องจากเกิดวิกฤต Subprime ทำให้ดัชนี S&P500 ปี 2551 ลดลง -36.55% แต่นั่นก็ยังไม่ใช่จุดต่ำสุด จากการคำนวณจุดขาดทุนสูงสุด (Maximum Drawdown) ของดัชนี S&P500 ในช่วงปี 2533-2564 ติดลบได้ถึง -56.78%
- ผลตอบแทนของดัชนี S&P500 ที่สูง ความผันผวนยิ่งสูงไปด้วย ทิศทางเดียวกันกับความเสี่ยงที่สูง แต่ดัชนี S&P500 หุ้นระดับบิ๊กแคปและเมกะแคปของตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่มีความแข็งแกร่งของกิจการ รายได้และกำไรเติบโต ดังนั้นดัชนี S&P500 สินทรัพย์ที่มีคุณภาพดี
- สำหรับสินทรัพย์ความเสี่ยงต่ำ เช่น ตั๋วเงินคลัง (3 เดือน) และพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ มีความผันผวนต่ำและผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีไม่สูงมาก +2.50% และ +5.74% ตามลำดับ
- ส่วนหุ้นกู้เอกชนชั้นดี ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยในรอบ 32 ปี อยู่ที่ +8.13% ส่วนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย +4.06%
ความผันผวนเมื่อ ‘ลงทุน Thematic’
คุณอาจจะมีคำถามต่อว่า ลงทุน Thematic มีความผันผวนและความเสี่ยงสูงอย่างไร และการลงทุนในธีมแบบไหนเหมาะสมกับความเสี่ยงที่คุณรับได้ ความผันผวนในที่นี้ คือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SD เป็นตัวเลขที่นักลงทุนทั่วโลกนิยมใช้วัดระดับความผันผวนของสินทรัพย์- ค่า SD สูง หมายถึง สินทรัพย์มีความผันผวนสูง ราคาสินทรัพย์ปรับตัวขึ้นลงได้มาก
- ค่า SD ต่ำ หมายถึง สินทรัพย์มีความผันผวนต่ำ ราคาสินทรัพย์จะไม่เหวี่ยงมากนัก
- ดัชนี S&P500 (รวมเงินปันผล) ค่า SD 17.04%
- ตั๋วเงินคลัง (3 เดือน) ค่า SD 2.25%
- พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ค่า SD 8.73%
- หุ้นกู้เอกชนชั้นดี ค่า SD 6.75%
- อสังหาริมทรัพย์ ค่า SD 6.14%
- ค่า SD ของดัชนี S&P500 ที่นำมาเปรียบเทียบในแต่ละ ETF ไม่เท่ากัน เนื่องจากระยะเวลาของ ETF ที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นช่วงเวลาการวัดค่า SD ของ S&P500 จึงแตกต่างไปตาม ETF นั้นๆ
- การเปรียบเทียบค่า SD ของ 16 ธีมกับดัชนี S&P500 ธีมมีค่า SD สูงกว่า สะท้อนว่า ราคา ETF มีความผันผวนสูงกว่าตลาดหุ้น ที่เห็นได้ชัด คือ ธีมกัญชา (41.47%) ธีมเทคโนโลยีท่องเที่ยว (41.15%) และธีมคลาวด์ (35.90%)
- หากคุณต้องการลงทุนในธีมที่มีค่า SD สูงกว่าดัชนีตลาดหุ้นมากๆ ความเสี่ยงที่คุณต้องเผชิญ คือ ราคา ETF ที่ผันผวนสูงกว่าตลาดหุ้น ส่งผลให้มูลค่าพอร์ตลดลงในบางช่วงเวลา
- ธีมที่มีค่า SD ต่ำกว่าหรือเท่ากับดัชนีตลาดหุ้น ความเสี่ยงด้านราคาย่อมน้อยกว่า คาดการณ์ได้ว่า ความผันผวนจะไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้น เช่น ธีมตลาดหุ้นสหรัฐฯ และธีมเทคโนโลยี
- แต่การลงทุนใน ETF รายอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น Thematic ETF และ Sector ETF ย่อมมีความผันผวนด้านราคาสูงกว่า เพราะเป็น ETF ที่กระจายการลงทุนแคบกว่า Stock Market ETF
ลงทุน Thematic อย่างไร ท่ามกลางความผันผวน
จากค่า SD และ Maximum Drawdown ที่เป็นตัวเลขสะท้อนความเสี่ยงของราคา ETF ในกองทุนส่วนบุคคล Thematic สะท้อนโอกาสที่มูลค่าพอร์ตลงทุนของคุณจะผันผวนได้ตลอดเวลา แต่ตัวเลขเหล่านี้ ไม่ได้บอกว่า ทั้ง 16 ธีมเป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีโอกาสเติบโต เพราะการสร้างความมั่งคั่งในโลกการลงทุน สินทรัพย์ที่คุณเลือกจัดพอร์ต ควรสร้างผลตอบแทนทบต้นได้ในระยะยาว ตัวเลขที่จะบอกโอกาสการเติบโตได้ คือ จุดกำไรสูงสุด (Maximum Return) ผมยังได้รวบรวมข้อมูลสถิติย้อนหลังจุดทำกำไรสูงสุด ทั้ง 16 ธีม เพื่อให้คุณเห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น ถึงโอกาสเติบโตของแต่ละ ETF ในช่วงที่ผ่านมา คุณจะเห็นได้ว่า ค่า Maximum Return ของแต่ละธีมในอดีต มีการเติบโตสูงมาก เมื่อเทียบกับค่า Maximum Drawdown แล้ว จุดกำไรสูงสุดสามารถชดเชยจุดขาดทุนสูงสุดได้เลย หากคุณลงทุนในธีมนั้นๆ นานพอที่จะเผชิญแรงกดดันในโลกการลงทุนหลายๆ วัฏจักร นี่คือหลักการลงทุนระยะยาว ในช่วงที่ผ่านมา ธีมตลาดหุ้นเวียดนามมีจุดทำกำไรน้อยที่สุด +123.99% ส่วนธีมบริการสุขภาพมีจุดทำกำไรมากที่สุด +620.32% สะท้อนว่า Passive ETF ทั้ง 16 ธีมที่ผมคัดสรรมาให้เลือกลงทุนนั้น เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ มีโอกาสเติบโตในระยะยาว ตอบโจทย์ High Risk High Expected Return Risk ทำความเข้าใจจากค่า SD และ Maximum Drawdown ส่วน Expected Return ดูจากตัวเลข Maximum Profit ในช่วงเวลาเดียวกัน ที่สามารถชดเชยจุดขาดทุนสูงสุด สร้างผลตอบแทนทบต้นในระยะยาว ลงทุน Thematic เป็นการสร้างความมั่งคั่งตามเมกะเทรนด์ของโลก ธีมที่คัดสรรมาทั้งหมด 16 ธีม มีศักยภาพการเติบโตในอนาคต มีโอกาสสร้างกำไรให้คุณได้ในระยะยาว แต่สิ่งที่คุณต้องเผชิญ คือ ความผันผวนของตลาดหุ้น และความเสี่ยงรายธีมอุตสาหกรรมหรือธุรกิจค่า Correrelation ทางเลือกจัดพอร์ตผันผวนต่ำ
หากคุณมีเป้าหมายลงทุนระยะยาว พอร์ตลงทุนในธีมเมกะเทรนด์ต่างๆ จะเป็นกุญแจสำคัญในการดึงศักยภาพการเติบโตของธีมและสร้างผลตอบแทนที่ดีให้คุณ นอกจากการทำความเข้าใจ ค่า SD จุดขาดทุนสูงสุด และจุดกำไรสูงสุดแล้ว จัดพอร์ตลงทุนตามธีมที่คุณชื่นชอบ ยังมีอีกวิธี คือ การจัดพอร์ตลงทุนตามค่าสหสัมพันธ์ (Correlation) จะช่วยลดความผันผวนในพอร์ตให้น้อยลงกว่าเดิม และทำให้พอร์ตของคุณได้กระจายความเสี่ยงได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย- หากค่า Correlation ใกล้ -1 คือ ธีมทั้ง 2 มีความสัมพันธ์ตรงข้ามกัน
- หากค่า Correlation ใกล้ +1 คือ ธีมทั้ง 2 มีความสัมพันธ์อย่างใกล้เคียง
- หากค่า Correlation เป็น 0 คือ ธีมทั้ง 2 ไม่มีความสัมพันธ์กันเลย
การจัดพอร์ตด้วยค่า Correlation ที่เราคำนวณมาให้สามารถทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
- เลือกธีมที่คุณชื่นชอบและสนใจจะลงทุนที่สุด 1 ธีม
- เปรียบเทียบค่า Correlation กับธีมอื่นในตาราง
- เลือกธีมที่ค่า Correlation ห่างกันมาก เพิ่มในพอร์ตอีก 1 ธีม
- เลือกเพิ่มอีก 2 ธีม โดยมีค่า Correlation ใกล้เคียงหรือต่างกันก็ได้
ไม่พลาดบทความและเรื่องราวน่าสนใจอื่นๆ ติดตามเราได้ที่เฟซบุ๊ก Forbes Thailand Magazine