เช้าวันเสาร์อันแสนอบอ้าว ณ ฮ่องกง ผมมีกำหนดการร่วมเวทีเสวนาที่ Chinese University of Hong Kong ซึ่งจัดโดย Harvard Project for Asian & International Relations (HPAIR) หัวข้อเสวนา คือ Bamboo Ceiling หรือข้อกีดกันในหน้าที่การงานของชาวเอเชียแล้วฝรั่งลูกทุ่งจากแดนลุงแซมที่ย้ายสำมะโนครัวไปอยู่ Silicon Valley ใน California อย่างผมจะไปรู้อะไรเรื่องเพดานไม้ไผ่นี้ ผมตัดสินใจว่าจะพูดเฉพาะข้อเท็จจริง การค้นคว้าทาง Google ช่วยติดอาวุธให้ผมได้มากมายจริงๆ แต่เป็นอาวุธที่ไม่มีประสิทธิภาพเอาเสียเลย เพราะ ณ Silicon Valley นายจ้างรายใหญ่ๆ ทั้งหลายล้วนแต่เป็นบริษัทเทคโนโลยี ไล่ตั้งแต่ Apple, Intel, Google, Facebook ฯลฯ
พนักงานบริษัทเหล่านี้มีถึงร้อยละ 25-30 ที่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชีย โดยมากเป็นประชากรรุ่นที่ 2 แต่มีเพียงร้อยละ 14 ที่อยู่ในกลุ่มชนชั้นนำของบริษัทหรือพวกบอสทั้งหลาย บริษัทที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกอย่าง Apple ไม่มีผู้บริหารที่เป็นชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียเลย ผมมาถึงเวทีเสวนาพร้อมด้วยข้อเท็จจริงที่น่าอับอายเหล่านี้ ความตั้งใจของผมคือผมจะถ่ายทอดข้อมูลที่สืบค้นมาแล้วจะขอหุบปาก ความเห็นของผมคงฟังไม่ขึ้นเท่าไหร่ในสายตาของผู้ดำเนินการเสวนาชาวฮ่องกง บนเวทีที่ประกอบด้วยผู้เสวนาชาวฮ่องกง ชาวอเมริกันเชื้อสายเอเชียที่ทำงานให้บริษัทร่วมลงทุนของเวียดนาม และผู้บริหารจากจอร์แดนซึ่งอาศัยอยู่ในสิงคโปร์ผู้ฟังที่เป็นนักศึกษา 150 คนส่วนใหญ่มาจากฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ อินเดีย ประเทศในเอเชียและตะวันออกกลางอื่นๆ เมื่อผู้ดำเนินการเสวนาถามคำถามที่คาดเดาได้เสร็จสิ้นแล้ว เธอได้เชื้อเชิญให้นักศึกษายกมือเพื่อถามคำถามเช่นกัน เปรี้ยง! คำถามแรกมาจากนักศึกษาชาวจีน “แล้วความเขินอายแบบเอเชียล่ะ ไม่เห็นพูดถึงเลย นั่นมันเพดานไม้ไผ่ชัดๆ” เอาล่ะสิครับ จู่ๆ ก็มีคนจับได้เสียแล้ว ผู้ร่วมอภิปรายทุกคนมีชื่อเสียงในหน้าที่การงานต้องปกป้อง เราจึงไม่คิดจะไปแตะหัวข้อที่มันส่วนตัวมากขนาดนั้น แม้ผมเองก็เคยเป็นคนขี้อายเอามากๆ แต่ของผมนั้นเป็นความขี้อายแบบชาวอเมริกันมิดเวสต์เชื้อสายนอร์เวย์ แม้ผมจะมีเรื่องเล่ามากมายเกี่ยวกับความขี้อาย รากเหง้าของมันและมันเป็นกำแพงปิดกั้นโอกาสอย่างไร แต่จะให้มาพูดในที่นี้ต่อหน้าผู้ร่วมอภิปรายเหล่านี้หรือ? คำถามของแม่สาวน้อยทำเอาเวทีของเราสะเทือนเลยทีเดียวเพราะหลังจากนั้นจนจบการเสวนา ไม่มีใครอยากพูดเรื่องอื่นอีกเลยความเขินอายเป็นปัญหาที่ผู้คนทุกที่ประสบกันแต่รู้สึกได้รุนแรงกว่าในหมู่ชาวเอเชีย มีหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับเรื่องเพดานไม้ไผ่และอิทธิพลของความเขินอายและความเป็นคนเก็บตัว ต้องบอกว่าสองสิ่งนี้ไม่เหมือนกัน คนชอบเก็บตัวอาจไม่ได้ขี้อาย พวกเขาแค่ชอบปลีกวิเวกไปอยู่กับตัวเองและหนังสือดีๆ สักเล่ม คนชอบสังคมจะรู้สึกสดใสเมื่อได้พบเจอผู้คน อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการฝ่ายบุคคลบนเวทีวันนั้นยอมรับว่า สิ่งที่แย่ที่สุดคือการเป็นคนชอบสังคมที่ขี้อาย “ผู้คนทำให้คุณกระปรี้กระเปร่า แต่ความกลัวกลับรั้งคุณเอาไว้” เธอเองเอาชนะความอายด้วยการเข้าชั้นเรียนการกล่าวสุนทรพจน์ที่สถาบัน Toastmasters (สถาบันที่เน้นการสอนเรื่องการสื่อสารการพูดในที่สาธารณะและทักษะความเป็นผู้นำ)วัฒนธรรมของคุณเป็นแบบไหน
ทุกคนมีสมบัติติดตัวมาจากวัฒนธรรมของตัวเองทั้งดีและไม่ดี หนังสือขายดีประจำฤดูร้อนนี้เป็นหนังสือม้ามืดที่ชื่อ Hillbilly Elegy : A Memoir of a Family and Culture in Crisis เขียนโดย J.D.Vanceเนติมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัย Yale เขาเกิดที่เมืองเล็กๆ ในรัฐ Ohio ปัจจุบันเป็นนักธุรกิจร่วมลงทุน อาศัยอยู่ใน San Francisco แม่ของเขาแต่งงานและหย่าหลายต่อหลายครั้ง คนๆ เดียวที่เป็นแบบอย่างในชีวิตของเขาคือยายที่เป็นสิงห์อมควันและปากคอเราะร้ายความทรงจำของ Vance เกี่ยวกับชนชั้นล่างที่เป็นคนขาวในอเมริกา โดยเฉพาะชาวสก็อตจากไอร์แลนด์ที่มาตั้งรกรากใน Appalachia หัวใจของวัฒนธรรมของพวกเขาคือเกียรติยศ แต่ Vance บอกว่าขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจตกต่ำ เกียรติยศได้ถูกยึดถืออย่างผิดๆ กลายไปสู่การตอบสนองของร่างกายในการเลือกที่จะสู้หรือหนี (fight-or-fight response) เมื่อเจอมรสุมในชีวิต การต่อสู้นี้มักเป็นการลงไม้ลงมือและถูกกระตุ้นโดยแอลกอฮอล์ ลงเอยด้วยการที่ผู้คนผละงาน หัวหน้าครอบครัวทิ้งความรับผิดชอบ ในยุคที่การเหยียดหยันผู้ที่แตกต่างเป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ แต่การจะประสบความสำเร็จในเศรษฐกิจที่มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างเข้มข้นนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถของเราในการดึง เอาสิ่งที่ดีที่สุดดุ จากมรดกทางวัฒนธรรมออกมาใช้ มรดกจากวัฒนธรรมของคุณเป็นแบบไหน มันส่งเสริมอาชีพ การงานของคุณอย่างไร ลองเขียนมาเล่าให้ผมฟังบ้างคลิ๊กอ่านบทความทรงคุณค่าทางด้านธุรกิจ ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับเดือนธันวาคม 2559