จะรักษา "ระบบการเมืองสหรัฐฯ" เอาไว้ได้อย่างไร - Forbes Thailand

จะรักษา "ระบบการเมืองสหรัฐฯ" เอาไว้ได้อย่างไร

ระบบการเมืองสหรัฐฯ มีหนึ่งข้อดีที่มักถูกมองข้ามจากการมีคณะผู้เลือกตั้ง (Electoral College) ก็คือมันช่วยอุดรอยร้าวทางการเมืองไม่ให้แตกแยกจนถึงขั้นเป็นอันตรายกับระบบ

แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่สนับสนุนให้เปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทางอ้อมแบบที่ใช้ กันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 มาเป็นการเลือกตั้งโดยใช้คะแนนเสียงจากประชาชนโดยตรง (popular vote) ภายใต้สมมติฐานว่าการเมืองสหรัฐฯ จะยังคงเป็นระบบการเมืองแบบ 2 พรรค โดยผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงจากประชาชนมากที่สุดจะได้ก้าวขึ้นสู่ทำเนียบประธานาธิบดี แทนที่จะเป็นผู้ที่ได้คะแนนเสียงสูงสุดจากคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งหากจะว่าไปแล้วตำแหน่งสำคัญทางการเมืองอื่นๆ ของสหรัฐฯ ก็เลือกแบบนี้ทั้งนั้น แล้วทำไมตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในประเทศถึงไม่ใช้วิธีการเลือกแบบเดียวกันล่ะ ทั้งนี้ทั้งนั้นเราต้องไม่ลืมว่าการเมืองระบบ 2 พรรคแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้คงอยู่ได้ก็เพราะคณะผู้เลือกตั้ง การที่ใครสักคนจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีได้ ผู้สมัครแข่งขันชิงตำแหน่งจะต้องเอาชนะใจประชาชนทั้งประเทศ การผนึกพันธมิตรให้ได้ทั่วประเทศ มีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะทำให้ได้คะแนนเสียง ข้างมากจากคณะผู้เลือกตั้ง ซึ่งในแง่นี้การตอบสนองฐานเสียงเฉพาะคนกลุ่มเล็กๆ ที่มีผลประโยชน์เฉพาะด้านใดด้านหนึ่งอาจจะไม่พอ นี่คือเหตุผลที่ทำให้พรรคการเมืองของสหรัฐฯ เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มผลประโยชน์ที่แตกต่างกันอย่างมากมาย สะท้อนถึงบุคลิกของชาติ ที่ประชาชนในชาติหลั่งไหลมารวมตัวกันจากทุกมุมโลก ก่อเป็น กระแสธารของวัฒนธรรมและความเชื่อที่หลากหลาย จากสาเหตุนี้เองที่ทำให้ผู้สนับสนุนพรรคเดโมแครตและผู้สนับสนุนพรรครีพับลิกัน มักจะไม่ค่อยลงรอยกัน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ลงคะแนนที่สนับสนุนพรรครีพับลิกันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องเศรษฐกิจ มักจะไม่ชื่นชอบแนวคิดอนุรักษนิยมเพื่อสังคม อย่างไรก็ตาม ระบบนี้จะช่วยถ่วงดุลให้แนวคิดทางการเมือง 2020 ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่ง นั่นก็คือแม้ว่าผู้สมัครชิงตำแหน่งจะหาเสียง โดยใช้แคมเปญเชิงรุกในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ก็ต้องดำเนินการในลักษณะที่ไม่ทำให้สมาชิกคนอื่นๆ ในพรรคแปลกแยกออกไป โดยแนวคิดแบบก้าวหน้ามากๆ มักจะต้องผ่านกระบวนการหมักบ่มเพื่อสร้างความคุ้นเคยให้กับประชาชน และท้ายที่สุดก็จะถูกนำมาใช้ในรูปแบบที่เบาลงกว่านโยบายที่ร่างเอาไว้ตอนแรกอย่างมาก การมีคณะผู้เลือกตั้งนี้มีส่วนช่วยให้ระบบการเมืองของสหรัฐฯ อยู่รอดปลอดภัยมาได้ถึงกว่า 2 ศตวรรษ เพราะสามารถลดแรงปะทะของการเมืองในประเทศ และใช้การอภิปรายแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้โดยไม่ทำให้ประเทศแตกออกเป็นเสี่ยงๆ หรือเกิดบาดแผล ที่ต้องใช้เวลาเยียวยาหลายชั่วอายุคน ยกเว้นเพียงกรณีเดียวคือปัญหาเรื่องทาส ระบบการเมืองสหรัฐฯ ทุกวันนี้พรรคการเมืองเป็นองค์กรที่คอยขับเคลื่อนจากระดับรัฐและระดับท้องถิ่น โดยคณะกรรมการระดับชาติทำหน้าที่ระดมทุนสนับสนุนการเลือกตั้ง ส.ส. ผู้ว่าการรัฐ และตัวแทนพรรคที่ลงชิงชัยในตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งทุกๆ 4 ปี ตัวแทนพรรคระดับท้องถิ่นจะมาประชุมกันเพื่อเสนอชื่อผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการ และจากนั้นก็จะลงมติกันในแต่ละรัฐ (และในเขต Columbia) แต่ในทางกลับกันผู้สมัครอิสระต้องผ่านกระบวนการที่ทั้งเหนื่อยยากและแสนแพงเพื่อให้ได้รับคะแนนเสียง ซึ่งมีคนที่สามารถทำได้เพียงไม่กี่คนเท่านั้น นอกจากนี้แต่ละรัฐ ก็มีกฎเกณฑ์ของตัวเอง ซึ่งบางรัฐ ก็ง่ายๆ แต่บางรัฐก็ยากมากๆ การเปลี่ยนวิธีการเลือกตั้งประธานาธิบดีมาใช้ popular vote จากประชาชนโดยตรงจะทำลายระบบนิเวศทางการเมืองอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้พังทลายไป แต่ลงตัวอย่างดีกับประเทศอย่างอเมริกาบุคคลหรือองค์กรที่มีผลประโยชน์เฉพาะจะพากันตั้งพรรคการเมืองขึ้นมาเอง ยกตัวอย่างเช่น Mike Bloomberg ซึ่งเคยเป็นมาแล้วทั้งเดโมแครต ทั้งรีพับลิกัน และ ผู้สมัครอิสระ คงไม่ดิ้นรนที่จะเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่ด้วยทรัพยากรที่เขามีอยู่ในมือ เขาคงเลือกที่จะลงสมัครด้วยตัวเองมากกว่า และก็จะมีผู้สมัครอีกจำนวนมากที่จะเข้ามาแข่งขันในสนามเลือกตั้ง ระดับชาติ ซึ่งแทนที่นโยบายจะถูกถ่วงดุลโดยคณะผู้เลือกตั้ง บรรพบุรุษของเราเข้าใจอย่างดีตอนที่ออกแบบระบบที่ใช้คณะ ผู้เลือกตั้ง พวกเราต่างหากที่จะมีปัญหาไม่รู้จบถ้าหากว่ามองข้ามภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ  
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนเมษายน 2563