“โดรน” เดือด - Forbes Thailand

“โดรน” เดือด

FORBES THAILAND / ADMIN
22 Sep 2015 | 11:05 AM
READ 12043
Frank Wang วัย 34 ปี จากความฝันที่จะสร้างหุ่นยนต์บินได้สู่การเป็นบริษัทผู้ผลิตโดรนรายใหญ่ที่ สุดของโลก และเมื่อทรัพย์สินของเขากำลังเพิ่มพูนมูลค่าเป็น 4.5 พันล้านเหรียญในเร็ววันนี้ จึงเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจ เมื่ออดีตหุ้นส่วนต้องการโค่นเขาลงจากตำแหน่งในยามที่โดรนกำลังเนื้อหอมสุดๆ ส่งให้ Wang ชายหนุ่มสัญชาติจีนผู้กำลังจะกลายเป็นอภิมหาเศรษฐีที่ร่ำรวยจากการผลิตโดรนรายแรกของโลก เขาเป็นผู้ก่อตั้ง Dajiang Innovation Technology (DJI) ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดสินค้าโดรนประมาณ 70% จากข้อมูลของ Frost & Sullivan บริษัทของเขากำลังพัฒนาซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ล่าสุด เพื่อป้องกันไม่ให้โดรนที่ผลิตโดยบริษัทบินเข้าไปในรัศมี 15.5 ไมล์จากใจกลางกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. บางทีอาจจะเป็นเพราะเขาไม่มีทาง เลือกอื่น ชื่อเสียงความสำเร็จทางธุรกิจที่เขาได้รับนำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่าง หนักในเวลาเดียวกัน ปีที่แล้ว DJI สามารถจำหน่ายโดรนประมาณ 400,000 ลำ ซึ่งรายได้ส่วนใหญ่มาจากโดรนรุ่นฮอตฮิตที่ชื่อ Phantom และในปีนี้คาดว่ายอดขายโดรนจะมีมูลค่ามากกว่าหนึ่งพันล้าน ปัจจุบัน Wang ถือหุ้นอยู่ประมาณ 45% ในบริษัทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 4.5 พันล้านเหรียญ โดยมีการคาดการมูลค่ากิจการของบริษัทไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านเหรียญ ไม่ใช่แค่เขาที่จะมีฐานะร่ำรวยขึ้น แต่คนใกล้ตัวเขาอย่างเช่นประธานกรรมการและลูกจ้างอีก 2 คนซึ่งทำงานกับบริษัทตั้งแต่ยุคบุกเบิกธุรกิจก็จะกลายเป็นมหาเศรษฐีตามไป ด้วย Michael Blades นักวิเคราะห์จาก Frost & Sullivan กล่าวว่า “DJI เป็นผู้บุกเบิกตลาดอากาศยานไร้คนขับ (UAVs) ซึ่งหลายบริษัทพยายามวิ่งไล่ตาม” ในประวัติศาสตร์เทคโนโลยีต้องบอกว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่บริษัทหนึ่งจะสามารถ ครองความเป็นเจ้าตลาดในสินค้ากระแสหลักที่เติบโตขึ้นจากความหลงใหลในงาน อดิเรกของผู้เป็นเจ้าของ ตัวอย่างสินค้าประเภทนี้ ได้แก่ Kodak ที่เติบโตมาจากสินค้ากล้องถ่ายรูป ทุกวันนี้โดรนเดินมาไกลจากจุดนั้นมาก มันถูกนำไปใช้ประโยชน์สารพัดในเชิงพาณิชย์ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายทอดสดงานลูก โลกทองคำในปีนี้ นอกจากนี้ โดรนที่ผลิตโดย DJI ยังถูกนำไปใช้ในซีรีย์ละคร Game of Thrones และภาพยนตร์ Star Wars ภาคล่าสุดอีกด้วย นอกจากนี้ DJI ยังต้องเผชิญหน้ากับคู่แข่งคนสำคัญอย่าง 3D Robotics มี Chris Anderson อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Wired เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง โดยทีมงานของบริษัทประกอบด้วยอดีตพนักงาน DJI ซึ่งในจำนวนนั้นมี Colin Guinn อดีตผู้บริหารของ DJI North America รวมอยู่ด้วย Guinn บอกว่าเขาถูก DJI โกง และเปรียบ 3D Robotics ว่าเป็นเหมือนเดวิดที่จะมาปราบยักษ์ผู้ชั่วร้ายอย่าง DJI Wang โคจรมาพบกับ Colin Guinn หนุ่มรูปงามที่ทำธุรกิจ startup รับถ่ายภาพทางอากาศ Guinnกำลังหาวิธีที่จะนำ UAVs เข้ามาช่วยในการบันทึกภาพวีดีโอทางอากาศโดยไม่ทำให้ภาพสั่นไหว หลังจากได้พบกับผู้บริหารของ DJI ที่เมือง Muncie ในเดือนสิงหาคมปี 2011 Guinn ได้บินไปเจรจาธุรกิจต่อที่เมือง Shenzhen ก่อนจะเดินทางกลับไปก่อตั้งบริษัทย่อยของ DJI ที่มีชื่อว่า DJI North America ที่เมือง Austin ในรัฐ Texas เพื่อดูแลด้านการจัดจำหน่ายโดรน ในตอนนั้นผลงานของเขาเรียกได้ว่าโดดเด่นเข้าตาจน Wang ยอมให้เขาถือหุ้น 48% ในบริษัทย่อย ส่วน DJI ถือหุ้นเพียงแค่ 52% ความกินแหนงแคลงใจระหว่าง Wang กับ Guinn ก็เริ่มก่อตัวขึ้น Wang ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง DJI เริ่มไม่สบอารมณ์ที่ Guinn ได้รับเครดิตในฐานะผู้พัฒนา Phantom และการที่อีกฝ่ายชอบแนะนำตัวว่าเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ DJI Innovations โดยเฉพาะกรณีการทำสัญญาให้ GoPro บริษัทผู้ผลิตกล้องถ่ายภาพเคลื่อนไหวเป็นผู้จัดหากล้องสำหรับโดรนของ DJI แต่เพียงผู้เดียว เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ GoPro โมโหสุดขีดไม่แพ้กันจนตัดสินใจพัฒนาโดรนเอง ต่อมา Guinn ตัดสินใจยื่นฟ้อง DJI ก่อน ที่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลในเดือนสิงหาคม โดยมีข้อตกลงการจ่ายเงินชดเชยจำนวนหนึ่งซึ่งไม่เปิดเผยตัวเลข “การที่บอกว่าผมไม่มีส่วนร่วมในความสำเร็จของ Phantom ฟังแล้วดูน่าขันพอๆ กับการพูดว่า ผมเป็นผู้คิดประดิษฐ์ Phantom” Guinnกล่าว โดย Guinn และอีกหลายๆ คนที่เคยร่วมงานกับ DJI ตัดสินใจเข้าทำงานกับ 3D Robotics เพื่อสั่งสอนนายจ้างเก่า
Colin Guinn อดีตผู้บริหารของ DJI North America ที่ปัจจุบันย้ายค่ายสู่บริษัทคู่แข่ง 3D Robotics
ณ อาคารสำนักงาน 4 ชั้นในเมือง Berkeley รัฐ California บรรดาวิศวกรของ 3D Robotics ต่างขะมักเขม้นกับการทดสอบซอฟต์แวร์ในโดรนรุ่น Solo ที่จะมาปราบโดรนรุ่น Phantom ของ DJI ซึ่งในการเปิดตัวโดรนรุ่นนี้ในเดือน Chris Anderson ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ 3D Robotics บอกว่า 3D Robotics เปรียบเหมือน Android ที่เข้ามาท้าชกกับ Apple ของ DJI ลักษณะเรียบหรูของคอปเตอร์แบบสี่ใบพัดของ 3D Robotics ถอดแบบมาจาก Phantom ก็จริง แต่สิ่งที่ต่างและเป็นหัวใจของโดรนรุ่นนี้อยู่ที่ซอฟต์แวร์ไม่ใช่ฮาร์ดแวร์ 3D Robotics เลือกใช้ระบบปฏิบัติการแบบโอเพ่นซึ่งแตกต่างจากของ DJI เพื่อดึงดูดให้คนนอกเข้ามาร่วมพัฒนาโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นบรรดาโปรแกรมเมอร์และบริษัทต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยนักลอกเลียนแบบชาวจีนที่พร้อมจะส่งสินค้าแบบเดียวกันแต่ ถูกกว่าเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด ถ้าคนพวกนี้ใช้ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผลิตขึ้น DJI ก็ไม่สามารถควบคุมตลาดได้อีกต่อไป Anderson กล่าวต่อว่า “DJI เริ่มทำบริษัทตอนที่โดรนพวกนี้เป็นแค่ของเล่นชิ้นหนึ่งของผม แต่ผมขอชื่นชมจากใจจริงในความเก่งกาจของพวกเขาที่สามารถเติบโตได้อย่างรวด เร็ว ตอนนี้ผมมาท้าแข่งถึงถิ่นพวกเขาแล้วและพร้อมไล่กวดเต็มที่” นอกจากเรื่องราวความรักความแค้นแต่ก่อนเก่าของทั้งสองฝ่ายแล้ว ทั้ง 3D Robotics และ DJI กำลังเผชิญความท้าทายในการสร้างความเข้าใจและการยอมรับจากสังคม รวมถึงความต้องการเห็นท่าทีที่ผ่อนปรนจากหน่วยงานทางการไม่ต่างกัน เพราะในขณะที่ผู้ชมนั่งนิ่งอ้าปากค้าง เมื่อได้ชมภาพการอพยพถิ่นฐานของฝูงปลาวาฬหลังค่อม หรือภาพธารภูเขาน้ำแข็งที่เลื่อนถล่ม ซึ่งเกิดจากการบันทึกภาพของกล้องวีดีโอบนโด DJI เลยจุดสมบูรณ์แบบที่ Wang ยกเปรียบเปรยในเรื่องศิลปะวัตถุมาแล้ว โดย Wang ยอมรับอย่างเปิดอกว่า โดรนรุ่น Phantom ของเขา “ไม่ใช่สินค้าที่สมบูรณ์แบบ” และที่ผ่านมามีสินค้าหลายรุ่นที่ซอฟต์แวร์ทำงานรวน ทำให้เจ้าของบังคับโดรนไม่อยู่ ก่อนที่มันจะบินหายลับไปต่อหน้าต่อตา แต่ถึงอย่างนั้น Wang ยอมรับว่า “เรายังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องพัฒนาเพิ่ม” ด้วยเหตุนี้เขาจึงตัดสินใจรับพนักงานเพิ่มอีก 200 คน บวกด้วยทีมพนักงานดูแลลูกค้า Wang ไม่ต้องการแบ่งปันท้องฟ้าผืนนี้กับใคร เขามุ่งมั่นที่จะรักษาความเป็นผู้นำของ DJI ในยุคที่โดรนถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในเชิงพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม การก่อสร้าง และการทำแผนที่ Wang บอกว่า “สิ่งที่จะเป็นปัญหาคอขวดของบริษัทในเรื่องการเติบโตทางธุรกิจ คือ ความเร็วในการหาคำตอบให้กับปัญหาทางเทคนิคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น” โดยเขาย้ำว่า “คุณต้องไม่หยุดความพอใจเพียงแค่นี้”   เรื่อง: Ryan Mac, Heng Shao และ Frank Bi เรียบเรียง: ชนกานต์ อนันตคุณากร (คลิ๊ก อ่านฉบับเต็ม "โดรน เดือด" ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ AUGUST 2015 E-Magazine)
คลิ๊ก อ่านฉบับเต็ม "โดรน เดือด" ได้ที่ Forbes Thailand ฉบับ AUGUST 2015 E-Magazine