ทัพหน้าแห่งธุรกิจพลังงานหมุนเวียนรายใหญ่ของประเทศที่พลิกวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการวิจัยและพัฒนาเปลี่ยนของเสียจากไร่นาเป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าสู่ต้นแบบโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาดระดับโลก พิชิตรายได้หมื่นล้านใน 3 ปี
กองวัสดุเหลือทิ้งข้างโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรที่มีจำนวนมหาศาลเท่าภูเขาจนต้องจ้างแรงงานนำไปทิ้งในแต่ละวัน อาจเป็นวิกฤตสำหรับเจ้าของโรงงานหรือผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรครบวงจร ทั้งเป็นต้นเหตุของหมอกควันและฝุ่นละอองในอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมถึงสุขอนามัยของประชาชน ภายใต้ปรัชญาทางธุรกิจ “จะต้องทำของเสียไม่ให้เสียของ” และความเพียรพยายามพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสของ จิรฐา ทรงเมตตา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแปรเปลี่ยนของเหลือทิ้งให้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า ตอบโจทย์พลังงานทดแทนจากแนวโน้มปัญหาการขาดแคลนก๊าซในอ่าวไทยที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับการผลิตไฟฟ้าในประเทศเริ่มทยอยหมดลงในอนาคต ในจังหวะที่รัฐบาลเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถขายไฟฟ้าพลังงานทดแทนให้กับการไฟฟ้าภูมิภาค จิรฐาจึงตัดสินใจเข้าทำสัญญากับการไฟฟ้าภูมิภาคแห่งประเทศไทยและก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งแรกที่จังหวัดชลบุรี โดยเริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2555 พร้อมทั้งพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด โรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าขยะชุมชนและโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ “เราทำงานด้านเกษตรอุตสาหกรรมมาตลอดตั้งแต่ 40 กว่าปีที่แล้ว โดยร่วมกับครอบครัวทำธุรกิจส่งออกข้าวและมันสำปะหลังเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งเราคลุกคลีทั้งส่วนการผลิต โรงงาน ซัพพลายเชน และเกษตรกร ก่อนจะทำงานกับกลุ่มชัยโย ทริปเปิ้ลเอ ทำให้เราได้ทำงานด้านวิจัยพันธุ์พืชไม้โตเร็ว รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ” จิรฐากล่าวถึงช่วงเวลาที่นั่งเก้าอี้ผู้บริหารในกลุ่มบริษัท ชัยโยทริปเปิ้ลเอ ของกลุ่มทรงเมตตา ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพครบวงจร (Bio-Circular Green Business) (BCG) และผู้นำการผลิตแผ่นไม้อัดแข็งของภูมิภาคอาเซียนที่มีกำลังการผลิตกว่า 13 ล้านแผ่นต่อปี ทั้งยังเป็นผู้ผลิตและส่งออกชิ้นไม้สับคุณภาพสูงเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเยื่อกระดาษคุณภาพสูงอันดับ 1 ของโลกติดต่อกันเกือบ 10 ปี โดยมีตลาดส่งออกใหญ่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นและจีน ในปัจจุบันบริษัทก้าวสู่การเป็นหนึ่งในผู้นำการผลิตไฟฟ้าชีวมวลส่งขายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครายใหญ่ที่สุดของประเทศ ทั้งยังต่อยอดการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ โดยรวมจำนวนโรงไฟฟ้าที่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) แล้ว 13 โครงการ กำลังการผลิต 211.18 เมกะวัตต์ จิรฐาย้ำถึงความมั่นใจในความแข็งแกร่งของธุรกิจ ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลกที่นำระบบ artificial intelligence (AI) และ cyber command center (CCC) รวมถึง ระบบ information technology (IT) และฐานข้อมูล (big data) มาใช้ในการบริหารการจัดการ และการตัดสินใจ โดยบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก เช่น มาตรฐาน ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, TIS 18001 ขณะเดียวกันบริษัทยังคงแสวงหาโอกาสในการลงทุนและศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางพลังงานไฟฟ้าของโลก (world mega trend) และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งนโยบายรัฐบาลที่มุ่งเน้นการใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานหมุนเวียนแทนการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิลเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนและปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งพระเอกในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนสำหรับประเทศไทย ได้แก่ โรงไฟฟ้าชีวมวล (biomass) โรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพ (biogas) และ โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ (MSW) “เราเป็นบริษัทที่ตอบโจทย์ทั้ง world mega trend ความต้องการของโลกที่ต้องการไฟฟ้าและตอบโจทย์ภาครัฐที่กำลังขยายโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน รวมถึงเราส่งเสริมการปลูกไม้ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ซึ่งตอบโจทย์ทุกด้านทั้งสังคม ชุมชน เกษตรกร พร้อมช่วยลดปัญหาโลกร้อนหรือก๊าซเรือนกระจกเราจึงมั่นใจว่าเราจะก้าวสู่ในโลกได้อย่างมั่นคง ยั่งยืน หมายถึงบริษัทชั้นนำของโลกไม่ใช่แค่ในประเทศไทย”ตลาดทุนปั้นฝันเวิลด์คลาส
ภายใต้วิสัยทัศน์การเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานสะอาดต้นแบบของโลกที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และผู้ถือหุ้นบนหลัก Environmental, Social, Governance (ESG) & Total Societal Impact (TSI) จิรฐามั่นใจในพลังของตลาดทุนที่สามารถเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับฐานะการเงินและขีดความสามารถการขยายธุรกิจด้านพลังงานหมุนเวียน โดยมีเป้าหมายขยายการลงทุนไฟฟ้าในไทยและต่างประเทศ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตติดตั้งรวมกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2567 “การขับเคลื่อนธุรกิจให้เป็นบริษัทข้ามชาติหรือบริษัทชั้นนำาของโลก เราต้องสร้างการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนให้กับบริษัท ซึ่งการใช้ศักยภาพทุกอย่างของบริษัทได้ เราต้องนำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่ทำให้ธุรกิจามารถเติบโตอย่างรวดเร็วและมั่นคง รวมถึงสนับสนุนโครงการที่เราจะสร้างอีก 20 โครงการหรือ 210 เมกะวัตต์ ซึ่งเราเตรียมการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว เพราะเราต้องการเป็นบริษัทสากลระดับโลก โดยสิ่งที่ตามมาระหว่างการเตรียมตัว คือ เราได้ระบบที่ดี ระบบมาตรฐานสากลที่สามารถใช้พัฒนาองค์กรต่อ” ดังนั้น ทิศทางการเติบโตของบริษัทจึงมุ่งเน้นที่การเพิ่มจำนวนโครงการและกำาลังการผลิตของโรงไฟฟ้าประเภทดังกล่าว โดยในอีก 3 ปีข้างหน้าบริษัทจะมีจำนวนโรงงนไฟฟ้าที่ COD แล้ว เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 13 โครงการเป็น 33 โครงการ หรือคิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวมไม่น้อยกว่า 421 เมกะวัตต์ ซึ่งเพิ่มจากปัจจุบัน 100% พร้อมทั้งวางเป้าหมายตัวเลขโครงการโรงไฟฟ้าทั้งที่ COD แล้ว และที่อยู่ระหว่างการพัฒนา คิดเป็นกำลังการผลิตติดตั้งรวมไม่น้อยกว่า 1,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2567 “เราต้องการให้บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด เรามีทีมงานที่เข้มแข็ง ซึ่งอีก 3 ปี ข้างหน้าต้องสามารถเติบโตอีก 100% จาก 211 เมกะวัตต์เป็น 421 เมกะวัตต์ และรายได้ 4.8 พันล้านบาทในปี 2561 จะเติบโตอีก 100% เป็นเกือบหมื่นล้านใน 3 ปีข้างหน้า โดยปัจจุบันเราเป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลอันดับ 1 ในประเทศและน่าจะในภูมิภาคด้วย ซึ่งเรามีเป้าหมายในระดับโลกไม่เกินปี 2565 ถ้าได้ถึง 400 เมกะวัตต์ขึ้นไปก็ถือว่าเริ่มก้าวเข้าสู่ระดับโลกแล้ว” จิรฐากล่าวถึงภาพรวมธุรกิจในปัจจุบันที่สร้างรายได้รวม 4.85 พันล้านบาทในปี 2561 และ 2.56 พันล้านบาทช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ พร้อมความมั่นใจในการเติบโตเป็นเท่าตัว ภายใต้ปรัชญาการทำาธุรกิจของจิรฐาที่ยึดมั่นใน “ต้องคิดให้ได้ก่อนที่คนอื่นจะคิดต้องเห็นโอกาสก่อนที่คนอื่นจะมองเห็น และต้องลงมือทำให้สำาเร็จก่อนที่คนอื่นจะทำตาม” ได้กลายเป็นรอยทางสร้างความสำเร็จที่ถ่ายทอดถึงบุคลากรในองค์กรและทายาทที่พร้อมเรียนรู้เพื่อสืบทอดธุรกิจในอนาคตพร้อมปลูกฝังแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำาคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และผู้ถือหุ้น รวมทั้งคำนึงถึง ESG และ TSI ด้วยการบริหารงานและการจัดการที่มีธรรมาภิบาลโปร่งใสตรวจสอบได้ในทุกระดับ “ทายาท 3 คน แบ่งเป็นด้าน operation และนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีของโรงไฟฟ้า ส่วนอีกคนดูนิคมอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เวียดนาม เราเน้นให้เขาลงมือปฏิบัติจริง เช่น ปลูกต้นไม้ให้เหมือนเกษตรกรคนหนึ่งหรือเข้าโรงงานตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง ทำให้ทีมงานเกิดความมั่นใจอยากทำงานด้วยเพราะเป็นคนรุ่นเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่พนักงานของเราเป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อเตรียมตัวสำหรับโรงไฟฟ้าที่จะเพิ่มอีก 20 โครงการใน 3 ปี พอโรงไฟฟ้าเริ่มขึ้น เราต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างคน โดยต้องมีธงชัดเจนให้พนักงานไปตามเป้าหมายและต้องการเติบโตอย่างรวดเร็วไปกับบริษัท” ภาพ: กิตติเดช เจริญพรคลิกอ่านฉบับเต็ม “จิรฐา ทรงเมตตา ACE พิมพ์เขียวโรงไฟฟ้ารักษ์โลก” ได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2562 ได้ในรูปแบบ e-Magazine