เมธ์วดี ประเสริฐสินธนา นำทัพ “BCAP” บริหารความมั่งคั่ง - Forbes Thailand

เมธ์วดี ประเสริฐสินธนา นำทัพ “BCAP” บริหารความมั่งคั่ง

FORBES THAILAND / ADMIN
08 Mar 2023 | 08:25 AM
READ 5248

เติบโตมาบนเส้นทางธุรกิจการเงินการลงทุนเป็นพื้นฐานสำคัญที่ทำให้แม่ทัพหญิงแห่ง BCAP มีความสามารถที่โดดเด่น สร้างความเชื่อถือให้กับแวดวงการลงทุนเพื่อบริหารความมั่งคั่งได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะความเชี่ยวชาญในการลงทุนต่างประเทศ


    การเงินและการลงทุนเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับนักลงทุนรายย่อยหากเลือกการลงทุนที่ถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้มืออาชีพด้านการลงทุนมาบริหารพอร์ตให้อย่างต่อเนื่อง 

    นี่คือบริการหลักของ เมธ์วดี ประเสริฐสินธนา กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บางกอก-แคปปิตอล หรือ BCAP ผู้บริหารหญิงคนเก่งในแวดวงการลงทุนรายบุคคลที่หลายคนรู้จักและยอมรับ เพราะประสบการณ์ที่มีมายาวนานด้านการเงินและการลงทุน จากแผนกหนึ่งในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สามารถแตกหน่อขยายเป็นบริษัทหลักทรัพย์
จัดการกองทุน BCAP ในปัจจุบัน

    “จบบัญชีที่จุฬาฯ แล้วก็ไปต่อ MBA ได้ปริญญาโท 2 ใบ MBA และไฟแนนซ์ จากนั้นก็ทำางานในธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ 5 ปี” เมธ์วดีเริ่มต้นบอกเล่าที่มาและพื้นฐานการศึกษาที่เตรียมพร้อมสำหรับการทำางานในแวดวงการเงินมาตั้งแต่ต้น

    เธอเล่าว่า ทำบลจ. ภัทรธนกิจ 5 ปีจากนั้นได้ย้ายมาอยู่ เจ.เอฟ. ธนาคม สมัยที่ กรณ์ จาติกวณิชอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั่งเป็นซีอีโอ ตอนหลังเปลี่ยนเป็นเจ.พี. มอร์แกนผู้บริหารอยากจะแยกธุรกิจออกมา เจ.พี.มอร์แกนไม่อยากทำรายย่อยจึงขายธุรกิจรายย่อยออกมาให้กลุ่มใหม่คือ ธนาคารกรุงเทพ 

    “เมธ์ช่วยมาตั้งแต่ก่อนที่จะขายให้ธนาคารกรุงเทพ เป็นพนักงานคนแรกของหลักทรัพย์บัวหลวง เป็นผู้ก่อตั้งในปี 2544” แม่ทัพ BCAP สรุปที่มาสั้นๆ ของเธอและบริษัทหลังจากเธอเริ่มงานอย่างจริงจังในปี 2538 


จากวาณิชธนกิจสู่เวลธ์

    เมธ์วดีนำแผนกหลักทรัพย์บัวหลวงออกมาพร้อมทีมงานมาตั้งบางกอกแคปปิตอล บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน โดยขอไลเซนส์เพิ่มเพื่อดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์จัดการกองทุนที่เปลี่ยนจากฝั่งผู้ขายมาเป็นฝั่งผู้ซื้อแทนโดยการเปลี่ยนโหมดการทำงาน 

    “ย้ายจากวาณิชธนกิจ sales side มาอยู่ buy side คือเป็นผู้ซื้อลงทุนหลักทรัพย์ให้กับลูกค้า” เมธ์วดีเล่าว่า ในช่วงเริ่มแรกที่ก่อตั้งกิจการมีพนักงานจาก บลจ. บัวหลวง ออกมาร่วมงานด้วยราว 10 คน ปัจจุบันขยายงานต่อเนื่องมาเป็น 60 คน ในจำนวนนี้เป็นกูรูที่ดูการลงทุนประมาณ 20% มาร์เก็ตติ้งอีกเล็กน้อย งานระบบวิเคราะห์ข้อมูลเป็นหลัก

    แต่ที่จริงมีการเอาต์ซอรส์งานบางอย่างไปที่ บลจ. บัวหลวงอยู่ เช่น งาน HR ที่ดูแลบุคลากร งานแมเนจเมนต์ อะไรที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับบริษัทก็จัดให้ บลจ. บัวหลวงทำซึ่งประหยัดกว่ามาตั้งหน่วยซ้ำกัน 

    เธอยอมรับว่า 7 ปีแห่งการทำงานบริหารความมั่งคั่งมีรายละเอียดที่เปลี่ยนไปมาก เธอมีสิ่งที่อยากทำคือ การบริหารที่เป็นสากลหรือแอสเซทเมเนจเมนต์มาตรฐานโลกเรื่องการลงทุน เนื่องจากแต่ก่อนคนยังไม่สนใจ

    แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนไปมากการลงทุนในโลกแบบ passive income หรือรายได้จากการถือครองทรัพย์สินโดยไม่ต้องทำงานมีต้นทุนต่ำส่วนใหญ่จะมีแอคทีฟในพอร์ตบ้างถ้าเห็นว่า return สูงคุ้มค่าธรรมเนียมที่จ่าย หรือการลงทุนประเภท passive โดยไม่ต้องเป็นแอคทีฟก็ได้ เพราะบริษัทไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะ passive อย่างเดียว

    อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาลูกค้า passive เพิ่มขึ้นจากช่วงแรกเป็นลูกค้าสถาบัน 90% แต่ล่าสุดเป็นสถาบัน 75% และ 25% เป็นรายย่อย บริษัทมี 3 โปรดักต์คือ กองทุนสำารองเลี้ยงชีพ กองทุนส่วนบุคคล และกองทุนรวม

    เมธ์วดีบอกว่า ความยากของการย้ายจากแผนกมาเป็นบริษัทไม่มีอะไรพิเศษ เพราะเธอยังโอเปอเรตงานเหมือนเป็น BU หนึ่งในหลักทรัพย์บัวหลวง แต่สิ่งที่ยากคือ การเปลี่ยน mindset พนักงานรุ่นเก่า

    เมื่อจะหันมาทำ passive investment จำเป็นต้องตัดโปรดักต์ของทีมงานเดิมที่เป็นเทรดดิชันนัลมีกระบวนการคิดแบบที่ทำมาดั้งเดิม ซึ่งการจะรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องเรียนรู้ใช้เทคโนโลยีซึ่งบางคนไม่สามารถปรับตัวได้เพราะเทคโนโลยีใหม่ต้องเรียนรู้

     ถ้าคนไม่เปิดใจก็จะรู้สึกยาก ทำไม่ได้ ไม่เข้าใจ “พนักงาน 60 คน มีอายุ 30 ประมาณครึ่งหนึ่ง เฉพาะทีม Investment อายุจะไม่เยอะ เด็กที่ย้ายมาทำงานกับเรามีทางเลือก คือ บลจ. ใหญ่กับ บลจ. ระดับเรา คนรุ่นนี้มองเทรนด์การลงทุนเหมือนเรา” 

    เมธ์วดีหมายถึงทีมงานคนรุ่นใหม่ที่มีวิธีคิดเหมือนกัน มองว่าการลงทุนแบบใหม่เวิร์กกว่า หรือคิดว่าเป็นการแข่งขันกับคนที่อยู่ในต่างประเทศ แต่จริงๆ แล้วไม่เหมือนกันจากอดีตคนอายุค่อนข้างเยอะ มีความคอนเซอร์เวทีฟ มาปัจจุบันนี้ด้วยโปรดักต์ที่ออกมาค่อนข้างทันสมัยจึงมีลูกค้ากลุ่มเด็กลง กองทุนพวกเทคโนโลยีอนาคตหรือมิวเอ็กซ์ฟันด์ เช่น คลีนเอนเนอร์ยี หรือดิจิทัลเฮลธ์


ฝ่าวิกฤตหนักทั่วโลก

    ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ต้องมองจีนในการเปลี่ยนนโยบายเรื่องของดอกเบี้ยที่ขึ้นทำให้มีรีเทิร์นค่อนข้างสูง ที่ผ่านมาหุ้นกลุ่มนี้ลงมาค่อนข้างเยอะ เมื่อใดดอกเบี้ยขึ้นบริษัทพวกนี้จะลำบาก 

    ที่ผ่านมาหุ้นเทคโนโลยีเป็นบริษัทที่เติบโตสูง วันนี้เป็นช่วงที่ยากที่สุดของการลงทุนในรอบหลาย 100 ปี ตั้งแต่เกิดโควิดเกิดโรคระบาดมีการล็อกดาวน์ รัฐบาลทุกประเทศต้องทำางานหนัก คนไม่ใช้เงิน รัฐบาลต้องปั๊มแจกเงิน ทำ QE ให้เงินในระบบทุกคนจะได้ใช้จ่าย จนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อดอกเบี้ยยิ่งขึ้นเท่าไรธุรกิจเทคโนโลยีที่ต้องใช้เงินทุนอยู่ในช่วงเติบโตก็ยิ่งลำบากกำไรลด 

    ที่ผ่านมาดอกเบี้ยไม่ขึ้นคนก็ลงทุน ตอนนี้ตลาดทุนก็ไม่ดีราคาหุ้นไม่ดีเพราะดอกเบี้ยขึ้นเยอะ ตลาดหุ้นเริ่มกระทบเริ่มกระทบ เมธ์วดีย้ำว่าการขึ้นดอกเบี้ยเยอะไม่ใช่ว่าจะดี อีกสิ่งที่เกิดขึ้นคือ เมื่อสหรัฐฯ ขึ้นดอกเบี้ยเยอะ เงินก็ไหลไปที่สหรัฐฯ

    “BCAP เราต้องปรับ strategies ต้องประชุมถี่ขึ้นเพราะเหตุการณ์ของโลกมันเปลี่ยนไว” เมธ์วดีอธิบายและว่า แนวทางหนึ่งของการปรับตัวคือ ลดการลงทุนในตราสารทุนลง พยายามเลือกมากขึ้น ลูกค้าลดความเสี่ยงลงสมุดเครดิต 

    จากที่เคยเลือกความเสี่ยงสูงหุ้นเยอะตัดไปอยู่ความเสี่ยงต่ำสุดเมื่อลูกค้าลดความเสี่ยงย่อมส่งผลกระทบถึงรายได้ของบริษัทด้วย สินทรัพย์เสี่ยงสูง ค่าธรรมเนียมสูง เมื่อลดความเสี่ยงค่าธรรมเนียมก็ลดลง รายได้ก็ลด คิดว่าสถานการณ์จะเป็นแบบนี้ต่อเนื่องไปอย่างน้อยกลางปี 2566

    “เราเน้นเป็น best solution พยายามแก้ pain point ของนักลงทุน ปกติเมื่อนักลงทุนเข้าไปในแบงก์ แบงก์ก็จะขายอะไรออกมาใหม่ก็จะขาย ขายแล้วก็ไม่มาดูแลแนะนำเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน” 

    ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาคนมองว่าเมืองไทยเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวกลับมาได้ใกล้เคียงปกติแม่ทัพ BCAP ยังบอกด้วยว่า 2-3 ปีที่ผ่านมาสิ่งที่ต้องปรับเยอะมากก็คือเรื่องต้นทุน การควบคุมต้นทุนต้องทำทุกอย่างจริงจัง ให้ความสำคัญเรื่องการปรับต้นทุนมากที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น รายได้ 2 ปีที่แล้วคือ ปี 2563-2564 การลงทุนยังไม่คล่องตัว 

    สถานการณ์โควิดทำให้ลดลงมาก บริษัทกำไรลดลงมากทำาลายสถิติในปี 2565 เนื่องจากมีปัจจัยลบเยอะการลงทุนก็ไม่ดีสำหรับคนทั่วไปในสถานการณ์เช่นนี้ แม่ทัพ BCAP แนะนำว่าควรลดความเสี่ยงโดยถือเงินสดไว้ให้มากที่สุด


รายย่อยเพิ่มการลงทุน

    อย่างไรก็ตามแม้ตลาดการลงทุนได้รับผลกระทบ แต่เมธว์ดีบอกว่าลูกค้าส่วนใหญ่ที่เป็นรายย่อยยังคงเพิ่มขึ้น ผู้คนหันมาลงทุนผ่าน บลจ. มากขึ้น เพราะการลงทุนยากขึ้น ในอดีตการลงทุนไปตรงไหนก็กำไร 

    ตอนนี้ปัจจัยเยอะและการลงทุนหลากหลายมากขึ้น เป็นความยากที่เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก 10 ปีที่แล้วการลงทุนก็มีเพียงหุ้น ตราสารหนี้ต่างประเทศยังไม่ค่อยมากโครงสร้างต่างๆ ยังไม่ค่อยมีถึงรายย่อย 

    แต่วันนี้ทุกอย่างเข้าถึงได้หมด “ลูกค้าที่อายุเยอะไม่อยากมานั่งดูทุกวัน ไปเที่ยวก็ต้องโทรหาโบรกเกอร์ ไม่อยากเป็นแบบนั้น เอาเงินมาให้เรา manage เลย เขาอยากจะไปเที่ยวไปใช้ชีวิตก็มอบตรงนี้ให้ professional ดูแล” 

    ซึ่งเมธ์วดีบอกว่านี่คือการเปลี่ยนพฤติกรรมการลงทุน เลือกใช้มืออาชีพมากขึ้น โดยในส่วนของ BCAP ให้บริการทุกอย่างทั้งแอสเซทเมนต์เมเนเจอร์ บริหารสินทรัพย์ทั่วโลก เป็นเจ้าเดียวในเมืองไทยที่ทำในระดับ
เทียบเท่าสากล ไม่ใช่แบบไปรับมาแล้วไปจ้างบริหารต่อ จ่ายค่าธรรมเนียมให้เขาอีกที 

    แต่ BCAP ให้บริการด้วยฟันด์แมเนเจอร์จึงมีคำแนะนำในทุกๆ สถานการณ์อย่างเหมาะสม เมธ์วดีบอกว่า ปัจจุบันสินทรัพย์ภายใต้การบรหิารของ BCAP มีอยู่ราว 6.7 หมื่นล้านบาท นักลงทุนมีหลากหลาย ส่วนใหญเป็นรายย่อย 

    โดยปีแรกที่บริษัทแยกตัวออกมาบริหารสินทรัพย์อย่รูาว 1.2 หมื่นล้านบาทเติบโตมาเรื่อยๆ ตัวเลขนี้เป็นข้อมูลที่ผ่านช่วงวิกฤตโควิด-19 มาแล้ว เพราะก่อนหน้านี้มีสินทรัพย์ในการบริหารอยู่ 7 หมื่นล้านบาท หายไปประมาณ 3 พันล้าน เหลือ 6.7หมื่นล้านบาท ทุกอย่างเริ่มไม่ใช่ไม่เหมือนเดิม เสี่ยงก็ไม่เสี่ยงตลอด มีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นเงินเฟ้อที่เกิดในหลายประเทศคงจะค่อยๆ ปรับลดลง

    เมธ์วดีบอกว่า งานค่อนข้างยุ่งแต่ก็ไม่แน่นทุกวัน ทำให้เธอยังมีเวลาให้กับการออกกำาลังกาย เล่นกีฬา “เป็น sport women ทำทุกอย่างไม่รู้เรียกว่าอะไร เป็นคนอยู่เฉยไม่ได้ เล่นกอลฟ์ ปั่นจักรยาน เล่นพิลาทิส ช่วงโควิดต้องเพิ่มห้องออกกำาลังกาย” 

    เมธ์วดีบอกเล่าตัวอย่างงานอดิเรกด้วยรอยยิ้ม อย่างมีความสุขทั้งหมดนี้ก็ตรงกับแนวทางที่เธอเลือกคือ “เป็นคนที่ทำอะไรต้องทำให้เต็มที่ คือตั้งใจแล้วไปให้สุด การทำงานเหมือนกัน มีอุปสรรคเราจะต้องสู้ไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ” นี่คือหลักการใช้ชีวิตและการทำงานของแม่ทัพหญิงแกร่งแห่ง BCAP ผู้มีบุคลิกที่ดูสบายๆ ผ่อนคลายแต่ทว่าจริงจังและตั้งใจเสมอในเรื่องของการทำงาน รวมไปถึงงานอดิเรกที่ก็ทำอย่างจริงจังไม่แพ้กัน

ภาพ: วรัชญ์ แพทยานันท์ และ BCAP

คลิกอ่านเพิ่มเติม: วรยุทธ กิตติอุดม ยุคใหม่อาร์เค “Modern Minimal”


คลิกอ่านฉบับเต็มและบทความทางด้านธุรกิจได้ที่นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ในรูปแบบ e-magazine