เรื่อง: Robb Mandelbaum เรียบเรียง: พิษณุ พรหมจรรยา
พร้อมเปิดแชมเปญเลี้ยงฉลอง
Peter Dering และเหล่าเพื่อนร่วมงานของเขาที่
Peak Design บริษัทขนาดเล็กที่ผลิตอุปกรณ์เสริมสำหรับกล้องถ่ายรูปซึ่งก่อตั้งในปี 2010 ณ San Francisco เพิ่งประสบความสำเร็จอย่างสูงจากการระดมทุนผ่าน
Kickstarter เพื่อใช้ในการผลิตและจำหน่ายกระเป๋ารุ่นใหม่สำหรับกล้องถ่ายรูป/พนักงานรับส่งเอกสาร โดยกระเป๋ารุ่น
Everyday Messenger Bag นี้ทั้งใช้งานได้ดีและดูเก๋ไก๋มีสไตล์ ซึ่งทำให้การระดมทุนครั้งนี้ได้เม็ดเงินสูงเป็นอันดับที่ 12 ในประวัติการระดมทุนของ
Kickstarter
โดยปกติแล้ว บริษัทต่างๆ จะใช้วิธีระดมทุนแบบนี้เฉพาะตอนเริ่มต้นกิจการเท่านั้น แต่
Everyday Messenger เป็นสินค้าตัวที่ 5 แล้วที่
Peak Design ระดมทุนโดยใช้วิธีนี้ โดย
Peak Design ทำการเปิดตัวสินค้าใหม่ทุกตัวผ่าน
Kickstarter ซึ่งนับเป็นกลยุทธ์อันชาญฉลาดที่นอกจากจะทำให้สามารถระดมทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว
บรรดานักลงทุนประเภท
venture capitalist หรือ
VC มักจะมองว่าความสำเร็จของการระดมทุนผ่านช่องทาง
crowdfunding เป็นเหมือนเครื่องหมายยืนยันความสำเร็จของกิจการประเภท startup แต่ในกรณีของ
Peak Design นั้นไม่ได้มีเป้าหมายที่จะดึง
VC ให้เข้ามาลงทุนในบริษัท เพราะคิดว่าการอาศัยเงินทุนจากภายนอกอาจจะมากระทบกับสไตล์หรือวิธีการทำงานของบริษัท

ในปัจจุบัน
Dering บริหารงานบริษัทตามที่เขาเห็นเหมาะ โดยเขาสนับสนุนให้พนักงานเข้ามาทำงานและกลับบ้านได้ตามใจชอบ และให้ใช้ชีวิตแบบแอคทีฟเช่นเดียวกับแบรนด์ของบริษัท ถึงแม้ตัว
Dering เองจะใช้เวลาทำงานครึ่งหนึ่งในการบริหารกิจการจากนอกสถานที่ แต่ยอดขายในปี 2015 ก็คาดว่าจะโตถึง 3 เท่าเป็น 13 ล้านเหรียญ โดยเขาบอกว่า
Peak Design เริ่มทำกำไรมาตั้งแต่ปีแรกที่เปิดดำเนินการ และกำไรก็โตทันกับการเติบโตของยอดขายเรื่อยมาตั้งแต่ปีแรก
ในที่สุด
Peak Design ก็สั่งกระเป๋ามาถึง 45,000 ใบ โดยใช้วงเงินสินเชื่อก้อนดังกล่าวและเงินกู้อายุหนึ่งปีอีก 400,000 เหรียญจาก
Funding Circle ซึ่งเป็นแหล่งเงินกู้ออนไลน์สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งคิดอัตราดอกเบี้ย 5.5% ต่อปี โดยเงินกู้นี้ถูกนำมาชำระค่าสินค้างวดแรกให้กับซัพพลายเออร์ของ
Peak Design และเงินที่ระดมมาได้จาก
Kickstarter จะนำไปชำระค่าสินค้าส่วนที่เหลือเมื่อมีการส่งมอบ
Anhalt บอกว่าถ้าไม่มีเงินก้อนนี้เข้ามา “ก็ไม่มีทางเลยที่บริษัทจะมีเงินมาจ่ายค่าสินค้าได้ นอกจากจะยอมขายหุ้นบางส่วนให้กับ VC สักราย หรือยอมตัดขายหุ้นบางส่วนของบริษัทออกไป”
หลังจากจบปัญหาเรื่องเงินทุนสำหรับผลิตกระเป๋าแล้ว จากนี้ไป
Dering และทีมงานของเขาก็พร้อมที่จะไขว่คว้าโอกาสทางธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม โดยพวกเขาเริ่มคิดกันแล้วว่าอาจจะขยายกิจการกระเป๋า และอุปกรณ์เสริมอื่นๆ ซึ่ง
Dering ยังไม่พร้อมที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชน
คลิ๊กอ่าน "โมเดลใหม่ของการทำธุรกิจ" ฉบับเต็ม Forbes Thailand ฉบับ MARCH 2016 ในรูปแบบ E-Magazine
