อุษณา มหากิจศิริ สืบทอดสไตล์บริหารแนวอนุรักษ์นิยม - Forbes Thailand

อุษณา มหากิจศิริ สืบทอดสไตล์บริหารแนวอนุรักษ์นิยม

FORBES THAILAND / ADMIN
25 Dec 2019 | 08:11 AM
READ 8374

ความสำเร็จของเจ้าพ่อเนสกาแฟ ที่วันนี้ถ่ายโอนธุรกิจในมือทายาททั้งสามโดยบุตรสาวคนเล็ก “อุษณา มหากิจศิริ” ได้รับมอบหมายให้ดูแลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์กับแลนด์แบงก์กว่า 2 พันไร่ แม้จะเป็นคนรุ่นใหม่ เธอก็มีสไตล์บริหารแทบไม่ต่างจากรุ่นบุกเบิก เพราะได้ซึมซับแนวคิดและมุมมองมาตั้งแต่เริ่มต้น

กว่า 10 ปีที่ลูกสาวคนสุดท้องของเจ้าพ่อเนสกาแฟ อุษณา มหากิจศิริ ทัพพะรังสี ได้พิสูจน์ความเป็นสายเลือดลูกเจ้าสัว ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทัพความสำเร็จในการบริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของตระกูลในนามบริษัท เดอะ เนสท์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด รวมถึงบริหารธุรกิจร้านพิซซ่าฮัทให้เติบโตยิ่งขึ้น อุษณาเริ่มต้นทำงานด้วยการออกไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ตามที่บิดาแนะนำ เป็นนักวิเคราะห์การเงินในสถาบันมอร์แกน สแตนลีย์ ที่ฮ่องกง และยังเคยเป็นโบรกเกอร์ผู้บริหารพอร์ตหุ้นให้กับลูกค้า ที่บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) รวมถึงการเป็นข้าราชการประจำกระทรวงพาณิชย์ เส้นทางการทำงานที่สั่งสมประสบการณ์ผสมวิธีคิดแบบเจ้าสัวแสนล้านของบิดา โดยการซึมซับจากความใกล้ชิดนำมาต่อยอดธุรกิจของพ่อให้เติบโตอย่างมั่นคง วิธีสอนลูกสไตล์เจ้าสัวประยุทธเน้นการสร้างประสบการณ์ ดังนั้น สิ่งที่ผู้เป็นพ่อได้หล่อหลอมความเป็นผู้นำาให้กับลูกสาวคนสุดท้อง คือการพาไปทำงานด้วยตั้งแต่ยังเด็กเพื่อให้เกิดการซึมซับวิธีคิดและสไตล์การทำางาน วิธีการวางตัวในการดีลกับผู้คนในทุกระดับทั้งนักธุรกิจ ข้าราชการ พันธมิตร ลูกค้า และพนักงาน จนกระทั่งเมื่อเข้ามาทำงานอย่างเต็มตัว เจ้าสัวก็ยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของลูกสาว ในฐานะที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิดกันเพราะอยู่ภายใต้บ้านหลังเดียวกัน การได้สนทนาบนโต๊ะอาหาร ทำให้ได้แลกเปลี่ยนมุมมองของ 2 เจเนอเรชั่น

บริหารอสังหาฯ จากประสบการณ์ตรง

“พ่อเป็นคนสอนลูกจากประสบการณ์ตรง เพราะคนพูดไม่เท่ากับประสบการณ์ตรง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ได้จัดการปัญหาจากหน้างานจริง ได้เรียนรู้จริง มีความรู้สึกไปกับมันเจ็บจริงไปกับมัน การได้ติดตามพ่อไปถึงห้องประชุมให้เห็นวิธีการทำงานตัดสินใจ และการประสานงานตั้งแต่ยังเด็ก การที่พ่อและแม่ให้ความใกล้ชิดตั้งแต่ยังเด็ก ค่อยๆ ปลูกฝังการทำงาน เป็นการสอนโดยไม่รู้ตัว” วิธีคิดเช่นนี้ทำให้อุษณากลายเป็นนักบริหารร่วมสมัย ที่มีหลักยึดทั้งจากประสบการณ์ตรงของการเป็นโบรกเกอร์และข้าราชการ รวมถึงการผ่านวิกฤตซับไพร์ม เกิดการปล่อยสินเชื่อภาคอสังหาริมทรัพย์จนเกิดวิกฤตสถาบันการเงินหลายแห่งในปี 2552 เป็นบทเรียนสำคัญจากการเป็นโบรกเกอร์ในยุควิกฤตมีอิทธิพลทำให้ลูกสาวเจ้าสัวค้นพบตัวเอง เดินบนสังเวียนธุรกิจโดยมีการวางแผนและตัดสินใจธุรกิจ ด้วยความรอบคอบสไตล์อนุรักษ์นิยม คิดอย่างมีหลักการ อยู่บนพื้นฐานยึดวิธีการบริหารความเสี่ยง “เคยเป็นนักลงทุนที่ลองสไตล์หวือหวาทำให้เราตื่นมาแล้วเครียดมาก จนทำให้รู้ตัวเองว่าไม่ชอบการลงทุนเสี่ยงแบบนี้ เน้นผลกำไรน้อยแต่มั่นคงเป็นหลัก เลือกแบบที่ทำให้สบายใจ ประสบการณ์ที่ผ่านมาและคำสอน วิธีคิดการบริหารจากพ่อมาปรับใช้เยอะมาก จากการพูดคุยกันทุกวันบวกกับประสบการณ์ที่บางสิ่งไม่สามารถถ่ายทอดได้ ต้องเรียนรู้จากการทำางานโดยตรง พ่อปล่อยให้เรียนรู้ ลองผิดลองถูกเอง ทำให้เป็นเราในวันนี้” เจ้าสัวประยุทธเลือกให้ลูกทั้ง 3 คนแบ่งงานแยกกันดูแลกิจการในเครือจากควมสนใจความรักและความพอใจส่วนตัว เป็นแรงขับเคลื่อนทำให้ผลงานออกมาน่าพึงพอใจมีควมสุขและสนุกเมื่อได้ทำในสิ่งที่รักด้วยเป้าหมายทำให้อาณาจักรธุรกิจที่พ่อสร้างมาเติบโตยั่งยืนอย่างแข็งแกร่ง เพื่อส่งต่อให้กับทายาทรุ่นต่อไป เพระการเริ่มต้นทำงานด้วยใจรัก จะทำให้มีความมุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจให้ดีในระยะยาวมีการเติบโตอย่งยั่งยืน “เป้าหมายในใจ (passion) สำหรับณาคือทำธุรกิจด้วยควมรัก จะทำให้ผลออกมาดี ทุกคนเมื่อบริหารไปแล้วอยากให้ธุรกิจเติบโตได้ในระยะยาวอย่งยั่งยืน ซึ่งนี่เป็นวิธีคิดที่ได้รับมาจากพ่อ ที่พิสูจน์มาแล้วว่า ต้องการเห็นธุรกิจเติบโตในระยะยวพ่อไม่ใช่คนฉาบฉวย ไม่ใช่นักธุรกิจเน้นทำกำไรอย่างเดียว โดยการลงทุนเก็บเกี่ยวกำไรระยะสั้นแล้วออกอย่งรวดเร็ว แต่มุ่งหวังทำธุรกิจระยะยาว นี่คือควมภาคภูมิใจที่ได้ซึมซับมาจากพ่อที่มีความอดทน ผ่านความคิดครบถ้วนทุกโครงการที่ดูแล” เช่นเดียวกันกับการเริ่มต้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เจ้าสัวแสนล้านไม่ให้ลูกสาวเริ่มต้นพัฒนาจากที่ดินแลนด์แบงก์ที่มี แต่ให้เริ่มจากการเป็นนักพัฒนาอสังหริมทรัพย์แบบมืออาชีพ ให้ฝึกปรือฝีมือการบริหรจากการทดลองซื้อที่ดินย่านเพลินจิตในปี 2556 มาพัฒนโครงการแรกก่อนลงสนามจริง “อสังหาฯ โครงการแรก พ่อสนับสนุนให้ฝึกพัฒนาที่ดิน แม่เป็นคนซื้อที่ดินแปลงแรกให้เพราะเห็นเป็นคนชอบออกแบบตกแต่ง และพัฒนา จากโครงการแรก 700 ล้านบาทขายหมดเกลี้ยง จนโครงการพัฒนาใหญ่ขึ้นทุกปี โครงการล่าสุดที่สถานีรถไฟฟ้าพระโขนง มูลค่า 2 พันล้นบท”

ขยาย “พิซซ่าฮัท” เสริมพอร์ตอาหาร

น้องเล็กของบ้านมหากิจศิริยังมีบทบาทที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จการบริหารแบรนด์ร้านอาหาร โดยธุรกิจล่าสุด อุษณาเข้าไปช่วยพี่ชาย-เฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA ซึ่งเป็นหัวเรือใหญ่นำทัพดูแลธุรกิจที่เป็นโอกาสใหม่ๆ ผ่านบริษัทในเครือ พี เอช แคปปิตอล ซึ่งเข้าไปเป็นพันธมิตรบริหารแฟรนไชส์ “พิซซ่าฮัท” ต่อจาก ยัม เรสเทอรองตส์ ในปี 2559 ด้วยควมเป็นผู้หญิงที่รักการรับประทานพิซซ่าเป็นชีวิตจิตใจ การได้เข้ามาบริหารจึงตอบโจทย์ความเข้าใจในมุมผู้บริหารไปพร้อมกันกับมุมผู้บริโภค ในกลุ่มคนรักพิซซ่า พิซซ่าฮัทจึงเป็นธุรกิจที่เข้ามาอยู่ในอ้อมอกการบริหารของอุษณา ตั้งแต่ปี 2561 มีการเติบโต รุกขยายสาขาอย่างรวดเร็ว จาก 90 สาขาในช่วงเริ่มต้นของการซื้อแบรนด์ ปัจจุบันเพิ่มเป็น 140 สาขาในปัจจุบัน ตั้งเป้าหมายจะขยายเป็น 200 สาขาภายใน 3 ปี เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าทุกกลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มเป็นสิ่งที่เธอคิดเสมอว่า เป็น 1 ในปัจจัย 4 ที่จำเป็นแม้ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ คนก็ยังต้องกิน  แม้กระทั่งในยุคดิจิทัลที่หลายธุรกิจถูกแทนที่บนโลกออนไลน์ ทำให้ธุรกิจต้องย้ายไปอยู่ในโลกเสมือนจริงแต่อาหารยังเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่หนีไปไหน แต่ต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการทำให้สินค้าและบริการ เข้าถึงลูกค้าได้กว้างขวางและรวดเร็วยิ่งขึ้น ภาพ: กิตติเดช เจริญพร
คลิกอ่านฉบับเต็ม "ประยุทธ มหากิจศิริ วางธุรกิจแสนล้านในมือรุ่นที่ 2" ได้ที่ นิตยสาร Forbes Thailand ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2562 ได้ในรูปแบบ e-Magazine