คีรีเป็นลูกชายคนที่สามของ มงคล กาญจนพาสน์ ซึ่งพ่อของมงคลอพยพจากจีนตอนใต้เข้าสู่เมืองไทยและเริ่มสร้างตัวขึ้นมา จากการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ในย่านเยาวราช ต่อมามงคลได้ย้ายไปอยู่ที่เกาะฮ่องกงและสร้างความร่ำรวยได้สำเร็จ โดยเขาเป็นผู้ก่อตั้ง Stelux Holdings
ซึ่งเริ่มจากการเป็นร้านจำหน่ายนาฬิกา Seiko และต่อมาก็ผันไปเป็น City Chain ซึ่งเป็นร้านขายนาฬิกาที่มีสาขาถึงกว่า 400 แห่งกระจายอยู่ทั่วฮ่องกง จีน มาเก๊า และประเทศไทย จากจุดเริ่มต้นที่การขายนาฬิกา มงคลขยายธุรกิจออกไปยังตลาดแว่นตาและก็ประสบความสำาเร็จอย่าง งดงามอีกครั้งกับร้านแว่น Optical 88 ที่มีสาขาทั่วไปในฮ่องกงและทั่วเอเชีย
คีรีย้ายรากฐานมาที่เกาะฮ่องกงในวัย 13 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นนานถึง 30 ปี เขาสร้างชื่อด้วยการก่อตั้ง Seiko Sports Association ซึ่งเป็นสปอนเซอร์ให้กับทีมฟุตบอลในตำนานที่ชนะการแข่งขันของลีกฟุตบอลที่นั่นถึง 7 ครั้งซ้อน บรรดาคนใกล้ชิดที่ทำางานกับคีรี มานานพูดถึงเขาว่าเป็นคนประเภท workaholic โดยคีรีอาศัยสายสัมพันธ์กับคนในวงการกีฬาเพื่อสร้างธุรกิจชุดกีฬาผ่านบริษัท Hwa Kay Thai Holdings ของเขาซึ่งได้สิทธิ์ในการเป็นผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวของผลิตภัณฑ์ชุดกีฬา Puma ในฮ่องกง จีน และต่อมาก็ทั่วทั้งทวีปเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น ขณะที่คนในตระกูล “กาญจนพาสน์” ส่วนใหญ่อยู่ในฮ่องกง แต่ คีรีกับอนันต์ พี่ชายของเขา เลือกที่จะมาทำธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งที่ดินมีราคาถูกกว่าฮ่องกงอย่างมหาศาล สองพี่น้องเดินหน้าสะสมที่ดินผืนใหญ่ในกรุงเทพฯ เอาไว้ โดยคีรี ได้ก่อตั้ง บมจ. ธนายง ส่วนอนันต์ ก็บุกเบิก บมจ.บางกอกแลนด์ ซึ่งทั้งสองบริษัทได้กลายมาเป็นคู่แข่งกันเองในฐานะที่เป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของประเทศไทย บางกอกแลนด์ของอนันต์จะเน้นไปที่ที่ดินผืนใหญ่ย่านชานเมืองโดยเฉพาะเมืองทองธานี ซึ่งเริ่มโครงการในปี 2532 โดยได้รับการออกแบบให้เป็นเมืองที่มีทุกอย่างครบถ้วนอยู่ภายในเพื่อรองรับผู้อยู่อาศัยถึง 150,000 คน นับเป็นหนึ่งในโครงการที่อยู่อาศัยที่ใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับยุคนั้นขนาดที่มีบางคนเปรียบเทียบโครงการเมืองทองธานีว่าเหมือนกับโครงการที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ของฮ่องกงซึ่งมีอาคารสูงผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดในย่าน New Territories ช่วงตลาดที่อยู่อาศัยของ ฮ่องกงกำลังบูมเต็มที่ สมัยอยู่ฮ่องกง คีรีทำธุรกิจหลายอย่าง แม้แต่ร้านอาหารและโรงแรมแต่ที่ประเทศไทย เขาสร้างกิจการสนามกอล์ฟ และสปอร์ตคลับ ธนาซิตี้ “ครอบครัวของผมทำอะไรต่อมิอะไร หลายอย่างมาก ทั้งนาฬิกา แว่นตา เอาบริษัท เข้าตลาดหุ้นที่นี่ เอาบริษัทเข้าตลาดที่ฮ่องกง” กวินบอกและเสริมว่า “เราไม่ค่อยโฟกัส สักเท่าไหร่” ทว่า คีรีก็ค้นพบโฟกัสของตัวเองที่เมืองไทย นั่นก็คือโครงการรถไฟฟ้าในยามที่รถในกรุงเทพฯ ติดนิ่งสนิทเป็นแพบนถนน ราวกับโชว์รูมรถขนาดใหญ่ ในปี 2533 กรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดประมูลโครงการทางด่วน และระบบรถไฟฟ้าเหมือนกับ MTR (Mass Transit Railway) ในฮ่องกง โดย กทม. แบ่งโครงการที่เปิดประมูลออกเป็นสามระบบและธนายงก็ชนะประมูลสัมปทานหนึ่งในสามระบบนั้น บางกอกแลนด์ชนะประมูลได้สัมปทานไประบบหนึ่ง และ Hopewell Holdings ของมหาเศรษฐีของฮ่องกง Gordon Wu ก็ประมูล ชนะอีกระบบหนึ่ง แต่ทั้งโครงการ Hopewell และของบางกอกแลนด์ก็ต้องพับไปนานก่อนที่รถไฟฟ้าของคีรีจะเริ่มเปิดดำเนินการ วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 บทเรียนแห่งความเจ็บปวด จากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 สิ่งแรกที่คีรี เลือกทำคือ การประคองธุรกิจให้รอดก่อน แต่ปัญหาสำาคัญอยู่ที่หนี้สินจำนวนมาก เขาจึงตัดสินใจทุ่มเดิมพันหมดหน้าตักเพื่อรักษาโครงการรถไฟฟ้าไว้ แม้ยังมีความเสี่ยงอีกมาก คีรีบอกว่า “ตอนนั้นมาไกลมากแล้ว ผมรู้ว่าเมื่อเราสร้างเสร็จจะมีรายได้เข้ามา... แต่ถ้าสร้างไม่เสร็จก็จะไม่มีอะไรเลย” สถานการณ์บังคับให้เขาต้องรับมือกับบรรดาธนาคารและเหล่าเจ้าหนี้ พร้อมกับที่ต้องตัดขายทรัพย์สินที่มีอยู่ออกไป ในจังหวะนั้นเองที่กวิน ลูกชายวัย 23 ปีเพิ่งจบการศึกษามาจากอังกฤษกลับมาช่วยงานเขาการที่ต้องเร่งขายทรัพย์สินออกไป ทำให้กวินได้เรียนรู้และทำความเข้าใจกับโลกธุรกิจเร็วเป็นพิเศษ ในช่วงนั้นเขาอยู่ที่ฮ่องกงคอยช่วยดูแลเรื่องการขายทรัพย์สินของครอบครัว ซึ่งรวมถึงแฟรนไชส์ของ Puma ด้วย “เรารู้ว่าต้องทุ่มทุกอย่างในมือด้วยเรี่ยวแรงทั้งหมดเพื่อทำโครงการ BTS ให้เสร็จ” เขาย้อนนึกถึงตอนที่ธุรกิจหวุดหวิดล้มละลายแล้ว บอกว่า แต่พ่อผมเป็นนักสู้ ไม่เคยยอมแพ้ เขาลุยไปข้างหน้าอย่างเดียว” ในที่สุดรถไฟฟ้า BTS ก็สร้างเสร็จและเปิดให้บริการได้ในเดือนธันวาคม ปี 2542 ขณะที่รัฐบาลเข้ามาดำเนินการสร้างรถไฟฟ้า MRT สายแรกต่อจนเสร็จและเปิดให้บริการปี 2547 แม้ว่าโครงการรถไฟฟ้าของคีรีจะสร้างจนเสร็จและเปิดให้บริการได้แต่อาณาจักรธุรกิจของเขาก็ง่อนแง่นเต็มที และก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะพลิกฟื้นได้เร็ว เนื่องจากเส้นทางที่เปิดให้บริการในช่วงแรกค่อนข้างสั้นและยังไม่มีเส้นทางรถไฟฟ้าสายอื่นให้เชื่อมต่อได้ ดังนั้นผู้ใช้บริการจึงมีแค่ประมาณวันละ 200,000 คนอยู่หลายปี ซึ่งเป็นระดับที่พอจะมีรายได้เพียงพอสำหรับจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ไม่ทำให้บริษัทมีเงินเหลือเพื่อขยายธุรกิจแต่ต่อมาจำนวนผู้โดยสารก็เพิ่มขึ้นถึงเกือบสี่เท่าตัว เมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัว BTS Group จึงตั้ง กองทุน BTS Growth Infrastructure Fund ขึ้น โดยใช้กระแสรายได้จากการขายตั๋วโดยสารในอนาคตเป็นหลักทรัพย์อ้างอิงซึ่งกองทุนดังกล่าวเป็นดีล IPO ที่มีมูลค่าสูงสุดในเอเชีย ในปี 2556 และสูงที่สุดในประวัติการขายหลักทรัพย์ผ่าน IPO ของตลาดหุ้นไทยโดยระดมทุนไปได้ถึงกว่า 2 พันล้านเหรียญ (ราว 6.25 หมื่นล้านบาท) หากย้อนหลังไปกว่า 20 ปีก่อน การสร้างรถไฟฟ้าย่อมเป็นโครงการที่เกิดได้ยากและบางบริษัทได้มีการลงมือสร้างไปแล้วแต่ไม่สำเร็จลุล่วง แม้แต่ตัวคีรีเองในตอนนั้นก็แทบจะล้มละลายเลยทีเดียว แต่หลังจากเวลาผ่านไป Forbes Asia ประเมินว่าสินทรัพย์ สุทธิของคีรีมีมูลค่ารวมถึง 5.08 หมื่นล้านบาท (1.45 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และเป็นที่คาดกันว่ากำไรของ BTS น่าจะเติบโตยิ่งขึ้น เมื่อคว้าโครงการใหม่มาอยู่ในมือ โดยนักวิเคราะห์จาก บล. เคจีไอ (ประเทศไทย) คาดว่ากำไรสุทธิของ BTS ในปี 2560-2561 น่าจะอยู่ที่ 2.1 พันล้านบาท และ 2.3 พันล้าน บาท ตามลำดับ แต่ที่เหนือความคาดหมายคือ ผลประโยชน์ ก้อนใหญ่ที่มาจากธุรกิจโฆษณา และการขายของออนไลน์ที่เชื่อมอยู่กับรถไฟฟ้าของบริษัท ซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ ครั้งล่าสุดของครอบครัวที่เริ่มตั้งตัวขึ้นมาจากการขายนาฬิกา แว่นตา และเครื่องกีฬา เมื่อหลายสิบปีก่อน แม้เวลาจะผ่านมานับสิบปีแต่ร่องรอยแห่งความเจ็บปวดสะท้อนเมื่อคีรีต้องอธิบายถึงขนาดของความสูญเสียของเขา ในช่วงนั้น การลอยตัวค่าเงินบาทภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ที่มีการประเมินกันว่าความเสียหายของเขาน่าจะเกินกว่า 1 พันล้านเหรียญ (ราว 5 หมื่นล้านบาท) เนื่องจากภาระหนี้ที่พุ่งสูงขึ้นสวนทางกับค่าเงินบาทที่ดิ่งเหว แต่คีรีบอกว่า “มันเยอะกว่านั้นมากๆ เลย ครับ ผมจำตัวเลขเป๊ะๆ ไม่ได้แต่น่าจะซักประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญได้ (ราว 7.5 หมื่นล้านบาท)” A True Philanthropist นอกจากบทบาทนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงแล้ว คีรี กาญจนพาสน์ ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการ บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) ยังมีอีกหนึ่งบทบาทที่อาจไม่เป็นที่รู้จักนักในหมู่ผู้คนทั่วไป จากประสบการณ์โดยตรงในฐานะผู้ป่วยโรคไตและได้รับโอกาสผ่าตัดเปลี่ยนไตใหม่ เมื่อปลายปี 2557 จนสุขภาพร่างกายฟื้นตัวกลับมาและปลอดจากโรคภัยต่างๆ ประหนึ่ง ฟ้าสั่งให้ได้เรียนรู้ประสบการณ์ของผู้ป่วยโรคไตทำให้คีรีตัดสินใจใช้เงินทุนส่วนตัวจำนวน 100 ล้านบาทจัดตั้ง “ศูนย์ไตเทียม ฟ้าสั่ง” (FAH SUNG HEMODIALY-SIS CENTER) ขึ้นที่โรงพยาบาลปากน้ำโพ 2 จ.นครสวรรค์ ในวันที่ 10 สิงหาคม 2558 ด้วยวัตถุประสงค์เปิดให้บริการฟอกไตโดย ไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ กับผู้ป่วยโรคไตที่มีรายได้น้อยเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการ ทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา จากประสบการณ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นโรคไต ทำให้คีรีเห็นใจผู้ป่วยที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคนี้ซึ่งหลายรายที่จำเป็นต้องเปลี่ยนไตนั้น ต้องเฝ้ารอคอยไตจากผู้บริจาคให้เข้ากับร่างกาย ขณะที่การรักษาก็ต้องดำเนินอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยมักต้องฟอกไต 2 ครั้งในหนึ่งสัปดาห์ซึ่งในแต่ละครั้งต้องใช้เวลาเฉลี่ยถึง 4 ชั่วโมงต่อวัน ปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยไตระยะสุดท้ายอยู่ราว 200,000 คน และมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 10,000 คน โดยผู้ป่วยไต 1 คนจำเป็นต้องทำาการฟอกไตเฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือ 8-12 ครั้งต่อเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 30,000 บาทต่อคน ต่อเดือน โดยในปัจจุบันมีศูนย์ไตเทียมให้บริการฟอกไตในจำานวนที่จำากัดและมีเครื่องฟอกไตเพียง 2,000 เครื่องทั่วประเทศ ซึ่งไม่เพียงพอกับจำานวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี “ศูนย์ไตเทียมฟ้าสั่ง” ถูกจัดตั้งขึ้นภายใต้ ชื่อ บริษัท ศูนย์ไตเทียมฟ้าสั่ง จำกัด ซึ่งคีรี ได้ใช้เงินทุนส่วนตัวในการจัดการศูนย์ หมายความรวมถึงค่าจ้างแพทย์ พยาบาล ค่ายาที่เกินจากบัญชีที่เบิกได้ของผู้ป่วย โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก นพ.พงษ์ศักดิ์ วิทยากร ประธานคณะกรรมการ บริษัท พริ้นซิเพิล แคปิตอล จำากัด (มหาชน) ให้ใช้พื้นที่โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายซึ่งคนไข้ที่จะได้รับสิทธิฟอกไตกับศูนย์ไตเทียมฟ้าสั่งนั้นจะต้องเป็นผู้ป่วยที่อยู่ในความดูแลของแพทย์อายุรกรรมโรคไตและจะต้องมีใบส่งตัวจากแพทย์ประจำตัวของผู้ป่วย ทั้งนี้ ศูนย์ไตเทียมฟ้าสั่งใช้เงินลงทุนในการปรับสถานที่ซื้ออุปกรณ์ตลอดจนวางระบบกรองน้ำทั้งสิ้นจำานวน 17.5 ล้านบาท ภายใต้พื้นที่ใช้สอย 275 ตารางเมตร มีเครื่องฟอกไต ให้บริการ 12 เครื่อง และสามารถรองรับผู้ป่วยได้สูงสุด 72 ราย หลังจากเปิดศูนย์ฟอกไตแห่งแรกแล้ว ด้วยใจที่มุ่งมั่นในการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคไต คีรียังเปิดศูนย์ฟอกไตแห่งที่ 2 เมื่อเดือน กันยายน 2559 ที่ผ่านมา ณ โรงพยาบาล มัญจาคีรี จ. ขอนแก่น พร้อมทั้งแผนเปิดศูนย์ ไตเทียมอีก 2 แห่งในอนาคตที่ จ. อ่างทอง และเขาใหญ่ จ. นครราชสีมา เรื่อง: ชญานิจฉ์ ดาศรี และ Ron Gluckman เรียบเรียง: พิษณุ พรหมจรรยา ภาพ: กิตติเดช เจริญพร และ Luke Duggleby/Redux Pictures for Forbes อ่านเพิ่มเติม:คีรี - กวิน กาญจนพาสน์ คู่พ่อลูกต่อยอดขับเคลื่อนธุรกิจคลิกอ่านฉบับเต็ม "คีรี กาญจนพาสน์ ขับเคลื่อนมังกรสยามเชื่อมมหานคร" ได้ที่ Forbes Thailand Magazine ฉบับ มีนาคม 2560